กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนารูปแบบการบริการวิชาการด้านภูมิปัญญาสมุนไพรเพื่อสุขภาพและการพึ่งตนเอง
รหัสโครงการ 60-L2516-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสาวอ
วันที่อนุมัติ 16 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2560
งบประมาณ 18,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนูรีดาเจ๊ะย๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสาวอ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.434,101.507place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันด้วยภาวะที่เร่งรีบ ทาให้วิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนไป ประกอบกับสื่อโฆษณาในยุคปัจจุบัน ที่คนทุกวัยเข้าถึงได้ง่ายผ่านสื่อต่าง ๆ ก่อให้เกิดการบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม การดำรงชีวิตที่ส่งผลต่อสุขภาพ ทาให้เกิดภาวะอ้วน หรือโรคหลาย ๆ โรคที่เป็นปัญหาของคนในชุมชนเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ทำให้คนกลุ่มหนึ่งหันมาสนใจในเรื่องของภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องคุณภาพ ความปลอดภัย การใช้อย่างเหมาะสม มักใช้จากคำบอกเล่าที่ฟังต่อกันมา ประกอบกับการเข้าถึงข้อมูลนั้นข้อมูลส่วนใหญ่เป็นข้อมูลวิชาการ ซึ่งยากต่อการเข้าใจของประชาชนทั่วไปดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสาวอ จึงเห็นว่าหากมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับชุมชน กลุ่มผู้มีความรู้ด้านภูมิปัญญาพื้นบ้าน ถึงปัญหาด้านสุขภาพที่พบ ความต้องการในเรื่องความรู้ด้านสมุนไพร จากนั้นนำมาจัดเป็นหลักสูตรอบรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน กับชุมชน น่าจะก่อประโยชน์ในการเรียนรู้ สร้างเสริมประสบการณ์ด้านสมุนไพรอย่างค่อยเป็น ค่อยไป ในชุมชน เพื่อเป็นข้อมูลในการนำมาต่อยอดสำหรับการพัฒนารูปแบบการบริการวิชาการด้านภูมิปัญญาสมุนไพรเพื่อสุขภาพและการพึ่งตนเอง ในปี ๒๕๖๑ ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเผยแพร่ข้อมูลและสร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องด้านการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพแก่ภาคีเครือข่ายสุขภาพและตัวแทนชุมชน

 

2 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการบริการวิชาการและอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีอยู่ในท้องถิ่น

 

3 3. เพื่อสนับสนุนการใช้ยาสมุนไพรและส่งเสริมให้มีการปลูกพืชสมุนไพรในหน่วยบริการและชุมชน

 

4 4. ชุมชนและภาคีเครือข่ายสามารถพึ่งตนเองได้เมื่อมีการเจ็บป่วย สามารถใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นดูแลสุขภาพเบื้องต้นได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
10 - 13 มิ.ย. 60 ค่าจัดประชุมให้ความรู้กับ อสม. , หมอพื้นบ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้รู้/ผู้มีประสบการณ์การใช้สมุนไพรในชุมชน 87 18,900.00 18,900.00
รวม 87 18,900.00 1 18,900.00

ขั้นเตรียมการ ๑. ประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสาวอ หมอพื้นบ้านปราชญ์ชาวบ้าน ผู้รู้/ผู้มีประสบการณ์การใช้สมุนไพรในชุมชน ๒. สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุข ๓. จัดทำแผนการปฏิบัติการสำรวจการใช้สมุนไพรโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข หมอพื้นบ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้รู้/ผู้มีประสบการณ์การใช้สมุนไพรในชุมชน


ขั้นดำเนินการ ๑. วางแผนการจัดทำโครงการ ๒. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อวางแผนในการดำเนินงาน/กิจกรรม ๓. สำรวจกลุ่มเป้าหมาย(กลุ่มเป้าหมาย คือ หมอพื้นบ้านปราชญ์ชาวบ้าน ผู้รู้/ผู้มีประสบการณ์การใช้สมุนไพรในชุมชน) ๔. สำรวจรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาด้านสมุนไพรในชุมชนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับหมอพื้นบ้านปราชญ์ชาวบ้าน ผู้รู้/ผู้มีประสบการณ์การใช้สมุนไพรในชุมชน ๕. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติจัดทำโครงการ ๖. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สมุนไพรที่ถูกต้อง ๗. ประเมินผลโครงการ รวบรวม สรุปผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ภาคีเครือข่ายสุขภาพและตัวแทนชุมชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องด้านการใช้สมุนไพร ร้อยละ ๘๐ ๒. หมอพื้นบ้านปราชญ์ชาวบ้าน ผู้รู้/ผู้มีประสบการณ์การใช้สมุนไพรในชุมชน มีการประชุม พัฒนารูปแบบงานบริการวิชาการและอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีอยู่ในท้องถิ่นอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ๓. ประชาชนมีการใช้ยาสมุนไพรได้ถูกต้องอย่างน้อย ร้อยละ ๗๐ ๔. สถานบริการสาธารณสุขและชุมชนมีการปลูกและใช้สมุนไพร อย่างน้อย ร้อยละ ๓๐ ๕. ชุมชนและภาคีเครือข่ายสามารถพึ่งตนเองได้เมื่อมีการเจ็บป่วยสามารถดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยสมุนไพรในท้องถิ่นได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ ๘๐
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2560 17:04 น.