กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

โครงการพัฒนารูปแบบการบริการวิชาการด้านภูมิปัญญาสมุนไพรเพื่อสุขภาพและการพึ่งพาตนเอง         โครงการพัฒนารูปแบบการบริการวิชาการด้านภูมิปัญญาสมุนไพรเพื่อสุขภาพและการพึ่งพาตนเองดำเนินโครงการ/กิจกรรม โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสาวอ มีการจัดกิจกรรมร่วมกันในวันที่ ๑๐-๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๐ ณ.ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสาวอ เพื่อเผยแพร่ข้อมูล สร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจ  ที่ถูกต้องด้านการใช้สมุนไพรแก่ภาคีเครือข่ายสุขภาพและตัวแทนคนในชุมชน พัฒนารูปแบบการบริการวิชาการ อนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีอยู่ในท้องถิ่น สนับสนุนการใช้ยาสมุนไพรและส่งเสริมให้มีการปลูกพืชสมุนไพรในหน่วยบริการและชุมชน  ชุมชนและภาคีเครือข่ายสามารถพึ่งตนเองได้เมื่อมีปัญหาด้านสุขภาพหรือมีอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น สามารถใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นดูแลสุขภาพได้ถูกต้อง/ปลอดภัย ภายใต้คำแนะนำของเจ้าหน้าที่และประสบการณ์จากปราชญ์ชาวบ้าน ผู้รู้/ผู้มีประสบการณ์ด้านสมุนไพรในชุมชน สรุปผลการดำเนินโครงการพัฒนารูปแบบการบริการวิชาการด้านภูมิปัญญาสมุนไพรเพื่อสุขภาพและการพึ่งพาตนเอง ก่อนดำเนินโครงการพบว่า ประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สมุนไพร โดยส่วนใหญ่ร้อยละ ๘๐ ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องคุณภาพ ความปลอดภัย การใช้สมุนไพรอย่างเหมาะสม ส่วนใหญ่จะใช้จากคำบอกเล่าที่ฟังต่อๆกันมา โดยฟังจากสื่อโฆษณาและคำแนะนำจากเพื่อนบ้าน ก่อให้เกิดการบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม การดำรงชีวิตที่ส่งผลต่อสุขภาพ ทำให้เกิดภาวะอ้วนหรือโรคแทรกซ้อนอื่นๆที่เป็นปัญหาของคนในชุมชน  เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ประชาชนยังไม่ทราบถึงประโยชน์ของสมุนไพรในครัวเรือน ไม่สมมารถนำสมุนไพรใกล้ตัวมาบำบัดและบรรเทาโรคและรักษาสุขภาพเบื้องต้นได้ หลังดำเนินโครงการภาคีเครือข่ายสุขภาพและตัวแทนคนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องด้านการใช้สมุนไพรใกล้ตัว รู้ถึงสรรพคุณและประโยชน์ในการนำมารักษาโรคได้อย่างถูกต้อง เช่น กระเจี๊ยบ ตะไคร้ ขิง ขมิ้นชัน กระเทียม หอมแดง ตำลึง ขี้เหล็ก มะระขี้นก ว่านหางจระเข้ ฯลฯ ควรใช้ส่วนใดในการมาปรุงเป็นยาเป็นต้น ผู้รับการอบรมมีองค์ความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ ๘๐  หมอพื้นบ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้รู้/ผู้มีประสบการณ์การใช้สมุนไพรในชุมชน มีการประชุมพัฒนารูปแบบงานบริการวิชาการและอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีอยู่ในท้องถิ่นร่วมกับชุมชนมีการใช้ยาสมุนไพรได้ถูกต้อง ร้อยล๗๕ ชุมชนและภาคีเครือข่ายสามารถพึ่งตนเองได้ เมื่อมีการเจ็บป่วยสามารถดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรในท้องถิ่นได้ถูกต้อง ร้อยละ ๘๐  สถานบริการสาธารณสุขและชุมชนมีการปลูกและใช้สมุนไพรที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่นของตนเอง สามารถนำสมุนไพรปรุงเป็นยารักษาโรคเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการต่างๆให้กับตนเองได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย เช่น ผู้เข้ารับการอบรม สามารถทำลูกประคบเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยและลดการอักเสบกล้ามเนื้อได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ ๙๐ ทำให้ประชาชนมีความกระตือรือร้น สนใจปลูกพืชสมุนไพรมากขึ้น ส่งผลให้ประชาชนรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง สามารถดูแลรักษาเบื้องต้นโดยสมุนไพรได้อย่างถูกต้องและนำเผยแพร่แก่เพื่อนบ้านใกล้เคียงต่อไป ข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการเพื่อการพัฒนางานในชุมชนและสถานบริการให้ดียิ่งขึ้น ทางหน่วยงานสาธารณสุขควรจัดให้มีการบริการแพทย์แผนไทยอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เพื่อเปิดบริการรักษาโดยใช้องค์ความรู้ด้านแพทย์แผนไทยและเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนในชุมชน เพื่อการพัฒนาและต่อยอดการแพทย์แผนไทยให้แพร่หลายในชุมชน และสถานบริการสาธารณสุขต่อไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสาวอ                                                                                                       ผู้รับผิดชอบโครงการ

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อเผยแพร่ข้อมูลและสร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องด้านการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพแก่ภาคีเครือข่ายสุขภาพและตัวแทนชุมชน
ตัวชี้วัด :

 

2 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการบริการวิชาการและอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีอยู่ในท้องถิ่น
ตัวชี้วัด :

 

3 3. เพื่อสนับสนุนการใช้ยาสมุนไพรและส่งเสริมให้มีการปลูกพืชสมุนไพรในหน่วยบริการและชุมชน
ตัวชี้วัด :

 

4 4. ชุมชนและภาคีเครือข่ายสามารถพึ่งตนเองได้เมื่อมีการเจ็บป่วย สามารถใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นดูแลสุขภาพเบื้องต้นได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
ตัวชี้วัด :

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อเผยแพร่ข้อมูลและสร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องด้านการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพแก่ภาคีเครือข่ายสุขภาพและตัวแทนชุมชน (2)  2. เพื่อพัฒนารูปแบบการบริการวิชาการและอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีอยู่ในท้องถิ่น (3) 3. เพื่อสนับสนุนการใช้ยาสมุนไพรและส่งเสริมให้มีการปลูกพืชสมุนไพรในหน่วยบริการและชุมชน (4) 4. ชุมชนและภาคีเครือข่ายสามารถพึ่งตนเองได้เมื่อมีการเจ็บป่วย สามารถใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นดูแลสุขภาพเบื้องต้นได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh