กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร เทศบาลนครสงขลา ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ”
อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา



หัวหน้าโครงการ
นางสาวอุดมลักษณ์บุญนวลเจ้าพนักงานสุขาภิบาลชำนาญงาน




ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร เทศบาลนครสงขลา ปีงบประมาณ ๒๕๖๐

ที่อยู่ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 60-L7250-1-15 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2560 ถึง 31 สิงหาคม 2560

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร เทศบาลนครสงขลา ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร เทศบาลนครสงขลา ปีงบประมาณ ๒๕๖๐



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร เทศบาลนครสงขลา ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ " ดำเนินการในพื้นที่ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 60-L7250-1-15 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มกราคม 2560 - 31 สิงหาคม 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 92,400.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

อาหารเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ หลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหาร นอกเหนือจากรสชาติของอาหารแล้วสิ่งสำคัญ ที่ต้องคำนึงถึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือคุณค่าตามหลักโภชนาการและความสะอาดปลอดภัยของอาหาร ปัจจุบันการบริโภคอาหารของประชาชนส่วนใหญ่ จะพึ่งอาหารนอกบ้านซึ่งมีความเสี่ยงต่อการได้รับสารอาหารไม่ครบตามความต้องการของร่างกายหรือได้รับสารอาหารอย่างหนึ่งมากเกินไป รวมทั้งได้รับอาหารที่มีเชื้อโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและสารพิษอันตรายปนเปื้อนอีกด้วย
การบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารปนเปื้อน ซึ่งมีการปนเปื้อนจากภาชนะบรรจุอาหารเอง อันตรายที่เกิดจากสารเคมีของภาชนะบรรจุอาหารมักไม่ได้รับความสนใจ เนื่องจากไม่ได้เกิดผลกระทบในทันทีทันใด แต่จะค่อยๆ สะสมในร่างกายจนเกิดอันตราย ภาชนะบรรจุอาหาร หมายถึง วัตถุที่ใช้บรรจุอาหารไม่ว่าจะด้วยการใส่ห่อ หรือวิธีใดๆ โดยอาหารแต่ละชนิดมีความต้องการภาชนะที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ภาชนะบรรจุต้องมีคุณสมบัติ คือ ต้องเป็นภาชนะมีคุณภาพ สะอาดไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ไม่มีสี หรือโลหะหนัก ออกมาปนเปื้อนกับอาหารในปริมาณที่เป็นอันตรายที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เป็นเวลานานแล้วที่พลาสติกและโฟมถูกใช้แทนใบตอง กระดาษ โลหะหรือแก้ว ในการบรรจุอาหารอาจเนื่องมาจากพลาสติกและโฟม สามารถทำให้เกิดรูปทรงตามที่ต้องการได้ง่าย มีน้ำหนักเบา ราคาถูก และหาซื้อง่าย จึงเป็นที่นิยมเรื่อยมา แต่จะมีผู้บริโภคสักกี่คนที่ตระหนักถึงอันตรายที่แฝงอยู่ในภาชนะบรรจุที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะกล่องโฟมที่มักถูกนำมาบรรจุอาหารที่ร้อน และมีน้ำมันขึ้นจากเตาใหม่ๆ เช่น ข้าวผัด ผัดไทย หอยทอด เป็นต้น ซึ่งมีคุณสมบัติที่สามารถละลายสารบางชนิดออกมาจากกล่องโฟม และปนเปื้อนสู่อาหารได้ นอกจากนี้อาจมีสารพิษอีกหลายชนิด โดยเฉพาะ สารโพลีสไตลีน (Polystyrene) เมื่อได้รับความร้อนสูงจะให้สาร ๒ ชนิด คือ สไตรีน (Styrene) และเบนซีน (Benzene) ซึ่งเบนซีนเป็นสารที่ทราบกันอยู่แล้วว่ามีความเป็นพิษสูงและเป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งอาการของผู้ที่ได้รับเบนซีนเข้าไป คือ ระยะแรกจะเกิดอาการ วิงเวียน คลื่นไส้ ถ้าดื่มน้ำหรือกินอาหารที่มีสารเบนซีนปนเปื้อนอยู่สูง จะทำให้มีอาการปวดท้องเนื่องจากกระเพาะถูกกัดกร่อน เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ง่วงนอน ชัก หัวใจเต้นแรง และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ สำหรับสไตรีน (Styrene) ผลต่อร่างกายเมื่อถูกผิวหนังหรือเข้าตาจะทำให้ระคายเคือง การสูดเข้าไปจะมีอาการไอ และหายใจลำบาก เพราะไปทำให้เยื่อเมือกเกิดความระคายเคือง ปวดศีรษะ ง่วงซึม ปัจจุบันผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร นิยมใช้กล่องโฟมบรรจุอาหารกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีความสะดวก รวดเร็ว โดยในพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลนครสงขลาเอง ก็มีผู้ประกอบการจำนวนมากที่ยังนิยมใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร โดยขาดความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับอันตรายที่จะส่งผลต่อผู้บริโภค เนื่องจากกล่องโฟมเมื่อสัมผัสกับอาหารเป็นระยะเวลานานอาจทำให้สไตรีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งออกมาปนเปื้อนกับอาหารที่บรรจุได้ โดยปริมาณการละลายสารเคมีออกมา จะมากน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัย ๓ อย่าง คือ ไขมันในอาหาร ระยะเวลา และอุณหภูมิระหว่างการสัมผัสของอาหารกับภาชนะ
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครสงขลา จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการดำเนินงาน อาหารปลอดภัย ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารมีความรู้ ตระหนักถึงความปลอดภัยของการบริโภคอาหารจากร้านจำหน่ายอาหารต่างๆ และเพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรค ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดีปราศจากโรคที่มีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหาร

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. ๒.๑. เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร เขตเทศบาลนครสงขลา ลด ละ เลิก การใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร
  2. ๒.๒. เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารและผู้บริโภคได้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร
  3. ๒.๓. เพื่อให้ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนโฟม
  4. ๒.๔. เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 430
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

          ๓. สรุปกิจกรรม  ที่ได้ดำเนินการ  มีดังนี้   ๓.๑ จัดอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร  โครงการสงขลาแต่แรก “ถนนคนเดิน  เพลินกินของหรอย  ย้อนรอยบ่อยาง”  จำนวน  ๑๓๐  คน ๓.๒  จัดอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารตลาดนัดชุมชนบ่อยาง  จำนวน  ๕๐  คน ๓.๓  จัดอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหารในที่หรือทางสาธารณะรอบโรงเรียน  จำนวน  ๑๐๐  คน ๓.๔  จัดอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในเทศกาลอาหาร  ๒  ทะเล  จำนวน  ๑๕๐  คน


      ๕.  สรุปการใช้งบประมาณ ๕.๑  งบประมาณ  ที่ได้จัดสรร  จำนวน ๙๒,๔๐๐ บาท  (เก้าหมื่นสองพันสี่ร้อยบาทถ้วน) ๕.๒  งบประมาณ  ที่ใช้จริง  จำนวน  ๘๑,๖๐๐  บาท  (แปดหมื่นหนึ่งพันหกร้อยบาทถ้วน) ๕.๒.๑  ค่าอาหารกลางวัน  จำนวน  ๒๑,๕๐๐  บาท (สองหมื่นหนึ่งพันห้าร้อยบาทถ้วน) ๕.๒.๒  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน  ๒๑,๕๐๐  บาท  (สองหมื่นหนึ่งพันห้าร้อยบาทถ้วน) ๕.๒.๓  ค่าตอบแทนวิทยากร  จำนวน  ๓,๖๐๐  บาท (สามพันหกร้อยบาทถ้วน) ๕.๒.๔  ค่าวัสดุ  อุปกรณ์ในการอบรม  จำนวน  ๑๐,๐๐๐  บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ๕.๒.๕  ค่าสื่อประชาสัมพันธ์(ไวนิล) โครงการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร
              จำนวน  ๒๕,๐๐๐ บาท (สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

    รวมทั้งสิ้น  จำนวน  ๘๑,๖๐๐  บาท (แปดหมื่นหนึ่งพันหกร้อยบาทถ้วน) เงินคงเหลือ  จำนวน  ๑๐,๘๐๐  บาท (หนึ่งหมื่นแปดร้อยบาทถ้วน)

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 ๒.๑. เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร เขตเทศบาลนครสงขลา ลด ละ เลิก การใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 80 ของผู้ประกอบการที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ระดับ ดี ถึง ดีมาก หลังเข้ารับการอบรม

     

    2 ๒.๒. เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารและผู้บริโภคได้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร
    ตัวชี้วัด : 2. ร้อยละ ๙0 ของสถานประกอบการที่เข้ารับการอบรม จำนวน ๔๓๐ ร้าน ในพื้นที่เทศบาลนครสงขลา ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหารและหันมาใช้วัสดุทดแทนโฟมในการบรรจุอาหาร

     

    3 ๒.๓. เพื่อให้ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนโฟม
    ตัวชี้วัด :

     

    4 ๒.๔. เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย
    ตัวชี้วัด :

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 430
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 430
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ๒.๑. เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร เขตเทศบาลนครสงขลา ลด ละ เลิก การใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร (2) ๒.๒. เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารและผู้บริโภคได้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร (3) ๒.๓. เพื่อให้ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนโฟม (4) ๒.๔. เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร เทศบาลนครสงขลา ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 60-L7250-1-15

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางสาวอุดมลักษณ์บุญนวลเจ้าพนักงานสุขาภิบาลชำนาญงาน )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด