กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนต่อต้านยาเสพติด สถานีตำรวจภูธรเมืองสตูล
รหัสโครงการ 62-L5300-2-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สถานีตำรวจภูธรเมืองสตูล
วันที่อนุมัติ 15 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 มกราคม 2562 - 31 มกราคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กุมภาพันธ์ 2562
งบประมาณ 18,060.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ พันตำรวจโทภุชงค์ สงวนจิตร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.625,100.12place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 72 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 มาตรการทางสังคม หรือแนวทางปฏิบัติในเชิงนโยบายของชุมชน หรือการสร้างข้อตกลงร่วมในการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน(มาตราการ)
0.00
2 กำลังคนและเครือข่ายเพื่อการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน(คน)
6.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ปัญหายาเสพติดเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมไทยที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นประกอบกับปัจจัยที่เอื้อต่อการเกิดและแพร่หลายของยาเสพติดยังคงดำรงอยู่และขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การแพร่ระบาดของยาเสพติดที่ลุกลามอย่างรวดเร็วเข้าสู่ชุมชนจำนวนมาก เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ความสงบเรียบร้อยของสังคมตลอดจนเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ แม้ว่ารัฐบาลได้มีมาตรการในการปราบปรามโดยประกาศสงครามกับยาเสพติด ซึ่งการปราบปรามก็ได้ผลในระดับหนึ่ง แต่ยาเสพติดก็ยังได้แพร่ระบาดต่อไปอีกอย่างรวดเร็ว ตามสถานศึกษา สถานประกอบการ หน่วยงาน และชุมชนต่างๆ จึงจำเป็นต้องแสวงหาความร่วมมือกับประชาชน ทุกรูปแบบ เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด พื้นที่ตำบลคลองขุดเป็นพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรเมืองสตูล ซึ่งเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีแนวโน้มสถานการณ์ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด สถานีตำรวจภูธรเมืองสตูลเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีหน้าที่โดยตรงในการป้องกัน ปราบปรามและแก้ไขปัญหาเสพติดในพื้นที่รับผิดชอบ จึงได้ดำเนินการจัดทำ “โครงการชุมชนหมู่บ้าน(ต่อต้านยาเสพติด) สถานีตำรวจภูธรเมืองสตูล ปีงบประมาณ ๒๕๖๒” ตามนโยบายของรัฐบาลและแผนปฏิบัติการป้องกันปราบปราบและแก้ไขปัญหายาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๖๒ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติการป้องกัน ปราบปรามและหยุดยั้งการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชนในเขตตำบลคลองขุดขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มมาตรการทางสังคม หรือแนวทางปฏิบัติในเชิงนโยบายของชุมชน หรือการสร้างข้อตกลงร่วมในการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

มาตรการทางสังคม หรือแนวทางปฏิบัติในเชิงนโยบายของชุมชน หรือการสร้างข้อตกลงร่วมในการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชนเพิ่มขึ้นเป็น (มาตราการ)

0.00 6.00
2 เพื่อเพิ่มกำลังคนและเครือข่ายเพื่อการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

กำลังคนและเครือข่ายเพื่อการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน เพิ่มขึ้นเป็น(คน)

6.00 18.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 18,060.00 1 18,060.00
19 ม.ค. 62 จัดทำประชาคม นำเสนอประเด็นเกี่ยวกับยาเสพติด 0 18,060.00 18,060.00

กิจกรรม ระบุวัน/ช่วงเวลา 1.สำรวจข้อมูล กำหนดชุมชนเป้าหมายในการดำเนินการ จำนวน 6 ชุมชน ธันวาคม 2561 2.เชิญภาคีเครือข่าย หน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและประชนในพื้นที่ ร่วมดำเนินการประชาคมชุมชนหมู่บ้านเป้าหมาย มกราคม 2562 3. จัดวิทยากรกระบวนการ ทำหน้าที่หลักในการดำเนินการตามแนวทางการจัดทำประชาคม นำเสนอประเด็นเกี่ยวกับยาเสพติด ความจำเป็นและผลที่ได้รับ โดยจัดผู้สร้างบรรยากาศ ทำหน้าที่ช่วยเหลือวิทยากรกระบวนการ เพื่อสนับสนุนข้อมูลสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดทำประชาคมชุมชนหมู่บ้าน กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกันเพื่อ 3.๑ ค้นหาความคาดหวังของชุมชนต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 3.2 ค้นหาปัญหาของจุดเสี่ยง จุดอันตรายของชุมชนเป้าหมายและแนวโน้มปัญหาในอนาคตและแนวทางในการป้องกันและแก้ไข 3.3 ค้นหาพฤติกรรมเสี่ยงของสมาชิกในชุมชน 3.4 กำหนดแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงของสมาชิกชุมชน
3.5 กำหนดเป้าหมายสำหรับการดำเนินการ 3.6 แนวทางการบูรณาการเพื่อเชื่อมโยงการดำเนินการกับชุมชนหมู่บ้านข้างเคียง รวมถึงการร่วมกันแก้ไขปัญหายาเสพติด กรณีต้องดำเนินการร่วมกัน การควบคุมพฤติกรรมเสี่ยงของสมาชิกของแต่ละชุมชน มกราคม-กุมภาพันธ์ 2562

กิจกรรม ระบุวัน/ช่วงเวลา 3.7 กำหนดอัตราโทษ กรณีมีการฝ่าฝืนสัญญาประชาคม 3.8 จัดทำสัญลักษณ์ชุมชนที่ผ่านการประชาคมต่อต้านยาเสพติดแล้ว ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ มกราคม-กุมภาพันธ์ 2562 4. สรุปและรายงานผล ภายใน 30 วันหลังเสร็จสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต 1. ทราบสภาพปัญหายาเสพติดและการดำเนินการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน
2. ภาคีเครือข่าย หน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชนในพื้นที่ สามารถกำหนดกติกาหรือธรรมนูญชุมชนด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ ผลลัพธ์ 1.สร้างองค์ความรู้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน หมู่บ้านและสร้างความร่วมมือของชุมชน

  1. สร้างคณะกรรมการชุมชน หมู่บ้าน ให้เข้มแข็งสามารถรับภารกิจการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน หมู่บ้าน เพื่อดำเนินการต่อ โดยมีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการปฏิบัติ รักษาสภาพพื้นที่ ติดตามควบคุมพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย ที่ผ่านกระบวนการเฝ้าระวัง สร้างเครือข่ายและดำรงความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและเจ้าหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2562 15:54 น.