กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
กิจกรรมที่ 6 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้16 กันยายน 2562
16
กันยายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดกิจกรรม

  1. จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง

  2. จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์, เกินเกณฑ์และกลุ่มเสี่ยง1 สิงหาคม 2562
1
สิงหาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดกิจกรรม

  1. เยี่ยมบ้านและชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง จำนวน 2-3 ครั้ง

  2. ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยนักโภชนาการและครู

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตัวชี้วัดกิจกรรม

1) ร้อยละ 100 ของเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ , เกินเกณฑ์ และกลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด จากการดำเนินโครงการ โดยการติดตามชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และการเยี่ยมบ้านเด็ก พบว่า ได้มีการเยี่ยมบ้านเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ , เกินเกณฑ์ และกลุ่มเสี่ยง คิดเป็นร้อยละ 100

2) เด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 80 มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอยู่ในภาวะปกติ หลังการดำเนินโครงการ โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง พบว่าเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอยู่ในภาวะปกติ คิดเป็นร้อยละ 50

3) เด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ ร้อยละ 80 มีน้ำหนักลดลงอยู่ในภาวะปกติ หลังการดำเนินโครงการ โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง พบว่าเด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ มีน้ำหนักลดลงอยู่ในภาวะปกติ คิดเป็นร้อยละ 35.71

4) เด็กที่มีความสูงน้อยกว่าเกณฑ์ ได้รับการแก้ไขปัญหาร้อยละ 100 หลังการดำเนินโครงการ โดยการวัดส่วนสูง พบว่าเด็กที่มีความสูงน้อยกว่าเกณฑ์ ได้รับการแก้ไขปัญหา คิดเป็นร้อยละ 50

กิจกรรมที่ 5 ส่งเสริมสุขภาพและอนามัยนักเรียน26 มิถุนายน 2562
26
มิถุนายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียด

  1. อบรมให้ความรู้เรื่องสุขภาพโดยจัดเป็นฐานการเรียนรู้ 3 ฐานและคัดเลือกแกนนำนักเรียนหรือสารวัตรนักเรียน เพื่อทำหน้าที่ตรวจสุขภาพของนักเรียนเบื้องต้น รายงานครูผู้รับผิดชอบ

  2. อบรมให้ความรู้เรื่องทันตสุขภาพ สำหรับเด็กวัยเรียน หลักสูตร 1 วัน พร้อมทั้งสาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธีแก่นักเรียน

  3. รณรงค์ให้นักเรียนทุกคน แปรงฟันหลังอาหารทุกวัน โดยแกนนำนักเรียนสอน/สาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธีแก่นักเรียนในโรงเรียน

  4. บันทึกการแปรงฟันและตรวจสอบโดยแกนนำนักเรียน

  5. กรณีเจอนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพ ครูผู้ดูแลเชิญผู้ปกครองมาให้คำปรึกษา แนะนำ

  6. กรณีเจอนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปากรุนแรง ครูผู้ดูแลเชิญผู้ปกครอง เพื่อส่งต่อไปรับการรักษา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตัวชี้วัดกิจกรรม

1) เด็กร้อยละ 80 รู้จักวิธีการแปรงฟันที่ถูกวิธีและโรคฟันผุลดลง จากการดำเนินโครงการ โดยการใช้แบบสำรวจภาวะฟันผุและเหงือกอักเสบของนักเรียนก่อนดำเนินโครงการ มีเด็กฟันผุคิดเป็นร้อยละ 23.41 หลังดำเนินโครงการ พบว่า มีเด็กที่มีภาวะฟันผุและเหงือกอักเสบ ลดลงคิดเป็นร้อยละ 10.12 เด็กรู้จักวิธีแปรงฟันที่ถูกวิธีและโรคฟันผุลดลง คิดเป็นร้อยละ 89.87

2) เด็กที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปากได้รับการแก้ไขโดยทันตแพทย์หรือทันตสาธารณสุข คิดเป็นร้อยละ 100

กิจกรรมที่ 2 เสริมประสบการณ์ การประกอบอาหาร26 มิถุนายน 2562
26
มิถุนายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดกิจกรรม

1.อบรมให้ความรู้ เรื่อง

  • การดูแลสุขภาพอนามัยของเด็กวัยเรียน

  • ความสำคัญของอาหาร

  • วิธีการปรับพฤติกรรมและนิสัยการกินของเด็ก

  • โรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ


2.สอน/สาธิต การทำอาหารเมนูเพื่อสุขภาพสำหรับเด็ก เป็นการเพิ่มทักษะให้เด็กในการประกอบอาหาร ได้แก่

  • ผักกร๊อบกรอบ

  • สมู๊ทตี้ผัก-ผลไม้

  • สลัดผัก

  • แซนวิส

โดยการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้ปกครอง เด็ก สำหรับกลุ่มเด็กที่มีปัญหาโภชนาการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตัวชี้วัดกิจกรรม

1) ร้อยละ 80 ของครู ผู้ปกครองนักเรียน และแม่ครัว มีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียน จากการตอบแบบทดสอบความรู้ก่อนดำเนินโครงการ พบว่า ครู ผู้ปกครองนักเรียน และแม่ครัว มีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียนคิดเป็นร้อยละ 70 และหลังการดำเนินโครงการ ครู ผู้ปกครองนักเรียน และแม่ครัว มีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียนคิดเป็นร้อยละ 90

2) เด็กที่มีภาวะโภชนาการ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างน้อยร้อยละ 80 จากการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง หลังการดำเนินโครงการ พบว่าเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคไปในทางที่ดี คิดเป็นร้อยละ 39.47

กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมพัฒนาการ/การออกกำลังกาย และเพิ่มกิจกรรมทางกายให้แก่นักเรียน1 พฤศจิกายน 2561
1
พฤศจิกายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดกิจกรรม

  1. สร้างลานตัวหนอนเพื่อการเรียนรู้ ได้แก่ หนอนน้อยนับเลข, หนอนน้อยเรียนรู้เลข และตารางกระโดด 9 ช่อง

  2. ส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้แก่นักเรียน ได้แก่ ปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรียน เก็บขยะ กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน เป็นต้น อย่างน้อย 2-3 ครั้ง/สัปดาห์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตัวชี้วัดกิจกรรม

1) เด็กร้อยละ 80 มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา และรักการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น จากการดำเนินโครงการ โดยใช้แบบบันทึกการออกกำลังกายและทำกิจกรรมทางกายของนักเรียน พบว่า เด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา และรักการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 88.60

2) โรงเรียนสนุบสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการเรียนการสอนในลักษณะ Active Learning และ Active play เพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 3 ครั้ง

กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการเด็ก1 พฤศจิกายน 2561
1
พฤศจิกายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดกิจกรรม

  1. ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กอายุ 5-13 ปี

  2. บันทึกผลในสมุดทะเบียนเด็กและสมุดบันทึกสุขภาพเด็ก พร้อมแจ้งผู้ปกครองให้ทราบ

  3. จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม แยกเป็นรายเฉพาะ

  4. จัดทำคู่มือเมนูอาหารแต่ละชนิด คุณประโยชน์ของแต่ละเมนูและโภชนาการสำหรับเด็ก

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตัวชี้วัดกิจกรรม นักเรียนโรงเรียนบ้านไสใหญ่ร้อยละ 100 มีการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการโดยใช้แบบบันทึกสุขภาพนักเรียนรายบุคคล พบว่า ก่อนดำเนินการ นักเรียนมีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 75.79 และหลังการดำเนินการตามโครงก่าร นักเรียนมีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ติดเป็นร้อยละ 82.16