กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านไสใหญ่
รหัสโครงการ 2562-L8010-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านไสใหญ่
วันที่อนุมัติ 14 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 58,380.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนบ้านไสใหญ่
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.933,99.777place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 139 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทุกคนอยากมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ซึ่งการกินอาหารถูกต้องเหมาะสมและพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดี และนำไป สู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน “โภชนาการ” จึงเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร” ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร” จากอาหารไปใช้ประโยชน์และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่างๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศทุกวัยทั้ง เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในเด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกายจิตใจอารมณ์สังคมและสติปัญญาจึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต

    จากการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ในปี 2561 เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านไสใหญ่จำนวน 138 คน พบเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการจำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 7.9 เด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ (ท้วม เริ่มอ้วน และอ้วน) จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 19.42นอกจากนี้ยังมีเด็กที่ไม่กินผัก จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 14.38 และเด็กที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปาก จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 14.38 ซึ่งจากปัญหาเหล่านี้จะส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกาย พัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต การแก้ไขปัญหาโดยการส่งเสริมโภชนากการและพัฒนาการเด็กในสถานศึกษา และการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กด้วย

    จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงเรียนบ้านไสใหญ่ จึงได้จัดทำโครงการ “โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านไสใหญ่” เพื่อเฝ้าระวังและติดตามภาวะทุพโภชนาการเด็กและติดตามเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์, เกินเกณฑ์และกลุ่มเสี่ยง ส่งเสริมเมนูเพื่อสุขภาพสำหรับหนูน้อย เป็นการเพิ่มทักษะให้เด็กในการประกอบอาหาร ส่งเสริมการออกกำลังกายและพัฒนาการ ทางด้านสติปัญญาด้วย สนาม BBL โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามโภชนาการเด็กที่เสี่ยงต่อการมีปัญหาภาวะโภชนาการ
  1. ร้อยละ 100 มีการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการเด็ก
100.00
2 เพื่อให้ครู ผู้ปกครองเด็ก และแม่ครัว มีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก และส่งเสริมให้เด็กรับประทานผักและผลไม้
  1. ร้อยละ 80 ของครู ผู้ปกครองเด็ก และแม่ครัว มีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก
  2. เด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ และไม่กินผัก มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างน้อยร้อยละ 80
80.00
3 เพื่อให้เด็กที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์เกินเกณฑ์และกลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิด
  1. ร้อยละ 100 เด็กที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์,เกินเกณฑ์และกลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิด
  2. เด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอยู่ในภาวะปกติ
  3. เด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ร้อยละ 80 มีน้ำหนักลดลงอยู่ในภาวะปกติ
  4. เด็กที่มีความสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์ได้รับการแก้ไขร้อยละ 100
80.00
4 เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาของเด็กและส่งเสริมกิจกรรมการเรียนการสอนในลักษณะ Active Learning และ Active play
  1. เด็กร้อยละ 80 มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาและรักการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น
  2. โรงเรียนสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมแผนการเรียนการสอนในลักษณะ Active Learning และ Active play
80.00
5 เพื่อป้องกันและลดอัตราปัญหาสุขภาพอนามัย และสุขภาพช่องปากของนักเรียน
  1. เด็กนักเรียนร้อยละ 80 รู้จักวิธีการแปรงฟันที่ถูกวิธีและโรคฟันผุลดลง
  2. เด็กที่มีปัญหาสุขภาพและสุขภาพในช่องปากได้รับการแก้ไข โดยทันตแพทย์หรือทันตสาธารณสุข ร้อยละ 100
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 52,255.00 6 57,380.00
1 พ.ย. 61 - 17 ก.ย. 62 กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการเด็ก 0 3,475.00 3,475.00
16 ม.ค. 62 กิจกรรมที่ 6 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 2,400.00 1,400.00
1 - 28 ก.พ. 62 กิจกรรมที่ 2 เสริมประสบการณ์ การประกอบอาหาร 0 25,365.00 31,490.00
1 ก.พ. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมพัฒนาการ/การออกกำลังกาย และเพิ่มกิจกรรมทางกายให้แก่นักเรียน 0 6,580.00 6,580.00
1 เม.ย. 62 - 30 ส.ค. 62 กิจกรรมที่ 3 ติดตามเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์, เกินเกณฑ์และกลุ่มเสี่ยง 0 0.00 0.00
1 - 31 พ.ค. 62 กิจกรรมที่ 5 ส่งเสริมสุขภาพและอนามัยนักเรียน 0 14,435.00 14,435.00

วิธีดำเนินการ

ขั้นเตรียมการ

  1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจาก กองทุนฯ อบต.กำแพง

  2. ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้อง

ขั้นดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการเด็ก

  1.1 ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็ก

  1.2 บันทึกผลในสมุดทะเบียนเด็กและสมุดบันทึกสุขภาพเด็ก พร้อมแจ้งผู้ปกครองให้ทราบ

  1.3 จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม แยกเป็นรายเฉพาะ

  1.4 จัดทำคู่มือเมนูอาหารแต่ละชนิด คุณประโยชน์ของอาหารแต่ละชนิดและโภชนาการสำหรับเด็ก

กิจกรรมที่ 2 เสริมประสบการณ์ การประกอบอาหาร

  2.1 ให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก แก่ ครู ผู้ปกครอง แม่ครัว

  2.2 สอน/สาธิต การทำอาหารเมนูเพื่อสุขภาพสำหรับหนูน้อย เป็นการเพิ่มทักษะให้เด็กในการประกอบอาหาร ได้แก่

  • ผักกร๊อบกรอบ
  • สมู๊ทตี้ผัก-ผลไม้
  • สลัดผัก
  • แซนวิส

    โดยการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้ปกครอง เด็ก สำหรับกลุ่มเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ

  2.3 ติดตามผลการบริโภคผักของเด็กไปยังผู้ปกครอง

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์, เกินเกณฑ์และกลุ่มเสี่ยง

  3.1 เยี่ยมบ้านและชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง จำนวน 2-3 ครั้ง

  3.2 ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยนักโภชนาการและครู

กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมพัฒนาการ/การออกกำลังกาย และเพิ่มกิจกรรมทางกายให้แก่นักเรียน

  4.1 สร้างลานตัวหนอนเพื่อการเรียนรู้ ได้แก่ หนอนน้อยนับเลข, หนอนน้อยเรียนรู้เลข และตารางกระโดด 9 ช่อง

  4.2 ส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้แก่นักเรียน ได้แก่ ปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรียน เก็บขยะ กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน เป็นต้น อย่างน้อย 2-3 ครั้ง/สัปดาห์

กิจกรรมที่ 5 ส่งเสริมสุขภาพและอนามัยนักเรียน

  5.1 คัดเลือกแกนนำนักเรียน เพื่อทำหน้าที่ตรวจสุขภาพของนักเรียนเบื้องต้น รายงานครูผู้รับผิดชอบ

  5.2 อบรมให้ความรู้เรื่องสุขภาพ และทันตสุขภาพ สำหรับเด็กวัยเรียน

  5.3 รณรงค์ให้นักเรียนทุกคนรักษาสุขภาพร่างกาย และอนามัยในช่องปาก

  5.4 บันทึกการตรวจสุขภาพอนามัย และตรวจสอบโดยแกนนำนักเรียน

  5.5 กรณีเจอนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพอนามัย ครูผู้ดูแลเชิญผู้ปกครอง เพื่อส่งต่อไปรับการรักษา

กิจกรรมที่ 6 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

  6.1 จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง

  6.2 จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กนักเรียนได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการอย่างครอบคลุม
  2. ครู ผู้ปกครอง และแม่ครัวมีความรู้และเข้าใจเรื่องภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน
  3. เด็กที่มีปัญหาโภชนาการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามวัย
  4. เด็กที่มีปัญหาสุขภาพอนามัยมีจำนวนลดลงและได้รับการรักษาที่ถูกวิธี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2562 10:54 น.