กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 16 ม.ค. 2562 11 ธ.ค. 2562

 

  1. จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง
  2. จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

 

มีรูปเล่มรายงานผลโครงการฉบับสมบูรณ์

 

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษให้แก่ นักเรียน ผู้ปกครอง ครูและผู้สนใจ หลักสูตร 1 วัน 1 ก.พ. 2562 13 ก.ค. 2562

 

  1. บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ
  2. สอน/สาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพ
  3. สอน/สาธิต ลงมือปฏิบัติจริงการสร้างแปลงผัก ย้ายต้นกลา การปลูก การดูแลรักษา
  4. นำผักที่ได้จากการปลูกไปใช้เป็นอาหารกลางวันของโรงเรียน
  5. ขยายผลกการปลูกผักไปยังครัวเรือนของนักเรียน คณะครูผู้รับผิดชอบลงเยี่ยม ติดตามผล

 

  1. นักเรียน ผู้ปกครอง ครู-นักการ และผู้ที่สนใจ ร้อยละ 80 ให้ความร่วมมือและสนใจในเรื่องที่วิทยากรบรรยายให้ความรู้
  2. นักเรียน ผู้ปกครอง ครู-นักการ และผู้ที่สนใจ ร้อยละ 90 สามารถทำน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้เองได้
  3. นักเรียนร้อยละ 90 สามารถสร้างแปรงผัก ย้ายต้นกล้า ปลูกและบำรุงรักษา
  4. นักเรียนนำผลิตภัณฑ์ที่ได้มารับประทานและจำหน่าย เป็นรายได้เสริมและต่อยอดไปยังครัวเรือน

 

กิจกรรมที่ 2 เสริมประสบการณ์ การประกอบอาหาร แก่นักเรียนและผู้ปกครอง (สำหรับกลุ่มเด็กที่มีปัญหาทางด้านทุพโภชนาการ จำนวน 37 คน) หลักสูตร 1 วัน 1 มี.ค. 2562 14 ก.ค. 2562

 

1.ให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับเด็ก

2.สอน/สาธิต ลงมือปฏิบัติการประกอบเมนูอาหารผัก โดยแบ่งผู้เข้ารับอบรมออกเป็นกลุ่ม โดยให้ผู้ปกครอง คละกับนักเรียน ครู ผู้สนใจ ดังนี้

กลุ่มที่ 1 ขนมจวักผัก

กลุ่มที่ 2 ผักชุบแป้งทอด น้ำจิ้ม

กลุ่มที่ 3 ยำแซบผัก

กลุ่มที่ 4 ข้าวผัดผักรวมมิตรห่อไข่

3.ติดตามผลการบริโภคผักไปยังผู้ปกครอง

4.ติดตามภาวะโภชนาการเด็กอย่างต่อเนื่อง

 

  1. นักเรียน ผู้ปกครอง ครูและผู้ที่สนใจ ร้อยละ 80 มีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับเด็กเพิ่มขึ้น
  2. นักเรียน ผู้ปกครอง ครูและผู้ที่สนใจ ร้อยละ 90 สามารถประกอบอาหารประเภทผักได้
  3. หลังจากผ่านการอบรม นักเรียนที่มีปัญหาทางด้านทุพโภชนาการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างน้อยร้อยละ 50
  4. นักเรียนลดพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ขนมขบเคี้ยวและน้ำอัดลม

 

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมพัฒนาการ สนับสนุนการออกกำลังกาย และส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้แก่นักเรียน 1 มี.ค. 2562 13 ก.ค. 2562

 

  1. ส่งเสริมพัฒนาการโดยใช้ตารางเก้าช่อง
  2. ออกกำลังกาย โดย ฮูลาฮุป ฟุตบอล วอลเล่ย์บอล เป็นต้น
  3. ส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้แก่นักเรียน ได้แก่ ปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรียน เก็บขยะ กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน เป็นต้น อย่างน้อย 2-3 ครั้ง/สัปดาห์

 

  1. นักเรียนร้อยละ 80 ได้ออกกำลังกายด้วยตารางเก้าช่อง ฮูลาฮุป หลังทำกิจกรรมยุวฑูตความดีในตอนเช้า
  2. นักเรียนร้อยละ 80 มีทักษะในการเล่นกีฬาฟุตบอล วอลเล่ย์บอล ตะกร้อ มากยิ่งขึ้น
  3. นักเรียน ผู้ปกครอง ครู นักการและผู้สนใจ มีความสุขและสนุกสนานในการเล่นกีฬาพื้นบ้าน
  4. นักเรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และมีร่างกายที่สมวัยและแข็งแรง