กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโกตาสดใส ใส่ใจสุขภาพ
รหัสโครงการ 2562-L8010-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านโกตา
วันที่อนุมัติ 14 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 56,815.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนบ้านโกตา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.933,99.777place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานขยะ , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัยเด็กเป็นวัยกำลังเจริญเติบโต การดูแลให้เด็กได้รับอาหารที่มีคุณค่าและเหมาะสมกับวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้ดียิ่งขึ้น แต่การที่จะให้เด็กพัฒนาได้เต็มศักยภาพจริงเด็กต้องบริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอด้วย ซึ่งโดยธรรมชาติเด็กมีนิสัยชอบเล่นอยู่แล้วและยิ่งเป็นระยะที่เด็กมีพัฒนาการในอัตราสูงเด็กจะชอบเล่นในสิ่งที่ต้องใช้กำลังด้วย เช่น กระโดดโลดเต้น เล่นชกต่อย เล่นวิ่งไล่จับกัน เป็นต้น จนบางครั้งผู้ใหญ่เป็นห่วงเกรงว่าเด็กจะเจ็บป่วย เนื่องจากการเล่นที่เหนื่อยมาก แต่แท้ที่จริงการเล่นออกกำลังกายเป็นประโยชน์และเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เด็กพัฒนาการสมส่วนตามวัยได้เต็มศักยภาพ ดังนั้นควรส่งเสริมให้เด็กได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน

โภชนาการเป็นปัจจัยส่งเสริมที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต และพัฒนาการตามวัยของเด็ก การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง แม้เด็กวัยเรียนจะมีอัตราการเจริญเติบโตที่ช้าลงกว่าวัยก่อนเรียนและวัยทารก แต่ร่างกายยังมีการเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ เด็กวัยนี้มีพัฒนาการของร่างกายที่โตพอที่จะช่วยเหลือตนเองได้ ในเรื่องการรับประทานอาหารอยู่แล้ว แต่ยังมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องและส่งผลภาวะโภชนาการของเด็กวัยนี้ เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของครอบครัว การควบคุมและการจัดการบริการอาหารในโรงเรียน อาจส่งผลต่อภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียนได้ ซึ่งในปี 2561 พบ นักเรียนที่มีปัญหาทางด้านทุพโภชนาการ จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 30.8 สาเหตุเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียน เช่น ชอบกินขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม และไม่ชอบกินผัก การกินอาหารที่ไม่มีคุณค่าทางสารอาหาร เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พัฒนาการล่าช้าและไม่สมวัย อาหารนับว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อระบบสุขภาพ และอาหารที่บริโภคนั้นต้องสะอาดปราศจากเชื้อโรค ปัจจุบันกระแสของผู้บริโภคผักและผลไม้ที่ปลอดภัยจากสารพิษมีการตอบรับมากขึ้น แต่ก็ยังมีเกษตรกรบางส่วนที่ใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งหากผู้ใช้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามคำแนะนำในฉลากอย่างเคร่งครัด ก็คงจะไม่เกิดปัญหาสารพิษตกค้าง และในชุมชนหมู่ที่ 7 บ้านโกตา การบริโภคผักส่วนใหญ่ร้อยละ 80 จะซื้อจากร้านค้าในชุมชน ซึ่งร้านค้าในชุมชนก็ซื้อผักมาจากตลาด การเลือกบริโภคผักถือว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ต้องให้ความสำคัญ และโรงเรียนบ้านโกตาเองส่วนหนึ่งก็ซื้อผักมาจากตลาดเพื่อที่จะประกอบอาหารกลางวันให้นักเรียนบริโภค ฉะนั้นการส่งเสริมการปลูกผักให้ปลอดจากสารเคมีทั้งในโรงเรียนและชุมชนเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยลดการบริโภคสารพิษเข้าสู่ร่างกาย

ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนและลดปริมาณการบริโภคสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย โรงเรียนบ้านโกตาจึงได้จัดทำโครงการ “โกตาสดใส ใส่ใจสุขภาพ” เพื่อให้ความรู้การปลูกผัก การบริโภคผักอย่างปลอดภัย และสามารถคิดค้นเมนูอาหารจากผักได้อย่างหลากหลายซึ่งสามารถแก้ปัญหานักเรียนที่ไม่ชอบทานผัก พร้อมทั้งส่งเสริมการปลูกผักในโรงเรียนเพื่อนำไปประกอบอาหารกลางวันและขยายผลการปลูกผักไปสู่ครัวเรือนในชุมชนบ้านโกตาได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครอง ครู และผู้สนใจ มีความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดภัยจากสารเคมีและสามารถขยายผลไปยังครัวเรือนได้
  1. นักเรียน ผู้ปกครอง ครู ผู้สนใจ ร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดภัยจากสารเคมี
  2. ร้อยละ 80 ของโรงเรียนนำผักที่ปลูกไปใช้เป็นอาหารกลางวันในโรงเรียน
  3. นักเรียนร้อยละ 80 ขยายผลการปลูกผักไปยังครัวเรือน
80.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียน มีความรู้เกี่ยวกับภาวะ โภชนาการ และนักเรียนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผักได้เพิ่มขึ้น
  1. นักเรียน ผู้ปกครอง ครู ผู้สนใจ ร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับเด็ก
  2. นักเรียนร้อยละ 80 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผักได้เพิ่มขึ้น
80.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย และสนับสนุนเพิ่มกิจกรรมทางกายให้แก่นักเรียน
  1. นักเรียนร้อยละ 80 ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้านการออกกำลังกายและสุขภาพร่างกายแข็งแรง
  2. โรงเรียนสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมแผนการเรียนการสอนในลักษณะ Active Learning และ Active play
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 41,074.00 4 55,815.00
16 ม.ค. 62 กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 2,400.00 1,400.00
1 - 28 ก.พ. 62 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษให้แก่ นักเรียน ผู้ปกครอง ครูและผู้สนใจ หลักสูตร 1 วัน 0 25,199.00 25,199.00
1 - 29 มี.ค. 62 กิจกรรมที่ 2 เสริมประสบการณ์ การประกอบอาหาร แก่นักเรียนและผู้ปกครอง (สำหรับกลุ่มเด็กที่มีปัญหาทางด้านทุพโภชนาการ จำนวน 37 คน) หลักสูตร 1 วัน 0 13,460.00 13,460.00
1 มี.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมพัฒนาการ สนับสนุนการออกกำลังกาย และส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้แก่นักเรียน 0 15.00 15,756.00

วิธีดำเนินการ

ดำเนินการตามกิจกรรม ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษให้แก่ นักเรียน ผู้ปกครอง ครูและผู้สนใจ หลักสูตร 1 วัน

1.1. บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ

1.2 สอน/สาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพ

1.3 สอน/สาธิต ลงมือปฏิบัติจริงการสร้างแปลงผัก ย้ายต้นกลา การปลูก การดูแลรักษา

1.4 นำผักที่ได้จากการปลูกไปใช้เป็นอาหารกลางวันของโรงเรียน

1.5 ขยายผลกการปลูกผักไปยังครัวเรือนของนักเรียน คณะครูผู้รับผิดชอบลงเยี่ยม ติดตามผล


กิจกรรมที่ 2 เสริมประสบการณ์ การประกอบอาหาร แก่นักเรียนและผู้ปกครอง (สำหรับกลุ่มเด็กที่มีปัญหาทางด้านทุพโภชนาการ จำนวน 37 คน) หลักสูตร 1 วัน

2.1. ให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับเด็ก

2.2 สอน/สาธิต ลงมือปฏิบัติการประกอบเมนูอาหารผัก โดยแบ่งผู้เข้ารับอบรมออกเป็นกลุ่ม โดยให้ผู้ปกครอง คละกับนักเรียน ครู ผู้สนใจ ดังนี้

  กลุ่มที่ 1 ขนมจวักผัก

  กลุ่มที่ 2 ผักชุบแป้งทอด น้ำจิ้ม

  กลุ่มที่ 3 ยำแซบผัก

  กลุ่มที่ 4 ข้าวผัดผักรวมมิตรห่อไข่

2.3 ติดตามผลการบริโภคผักไปยังผู้ปกครอง

2.4 ติดตามภาวะโภชนาการเด็กอย่างต่อเนื่อง


กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมพัฒนาการ สนับสนุนการออกกำลังกาย และส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้แก่นักเรียน

3.1 ส่งเสริมพัฒนาการโดยใช้ตารางเก้าช่อง

3.2 ออกกำลังกาย โดย ฮูลาฮุป ฟุตบอล วอลเล่ย์บอล เป็นต้น

3.3 ส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้แก่นักเรียน ได้แก่ ปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรียน เก็บขยะ กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน เป็นต้น อย่างน้อย 2-3 ครั้ง/สัปดาห์


กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

4.1 จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง

4.2 จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ และสามารถขยายผลการปลูกผักไปยังครัวเรือนได้
  2. นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการ และนักเรียนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผักได้เพิ่มขึ้น
  3. นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมตามวัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2562 14:39 น.