กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบการให้บริการทันตกรรมเคลื่อนที่สู่ชุมชน
รหัสโครงการ 2562-L8010-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลละงู
วันที่อนุมัติ 14 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 224,390.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลละงู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.933,99.777place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 490 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพช่องปากของประชาชนไทยยังคงเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะโรคฟันผุและปริทันต์อักเสบ เป็นปัญหาที่เด่นชัดซึ่งเมื่อไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โรคจะลุกลามและสูญเสียฟันในที่สุด ส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย การสบฟัน ตลอดการใช้ชีวิตประจำวัน ข้อมูลจากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560 ในกลุ่มวัยทำงานอายุ 35-44 ปี ปัญหาที่พบเกิดจากรอยโรคสะสม ทั้งปัญหาสภาวะปริทันต์ ที่พบการอักเสบของเหงือก มีเลือดออกง่าย ร้อยละ 62.4 ปัญหาปริทันต์อักเสบที่มีการทำลายของกระดูกรองรับรากฟันร่วมด้วย  ซึ่งพบร้อยละ 25.9 และปัญหาโรคฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษา ร้อยละ 43.3 โดยปัญหาดังกล่าว จะแสดงอาการที่รุนแรงจนเกิดความเจ็บปวดและการสูญเสียฟันในช่วงอายุต่อไป ถ้าไม่ได้รับการดูแล ป้องกัน รักษาที่เหมาะสมทันเวลา นอกจากนี้ในวัยนี้ยังมีพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่องปาก โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ ที่พบร้อยละ 17.9 เฉลี่ย 10.4 มวนต่อวัน รวมทั้งพฤติกรรมการไปใช้บริการในรอบปีร้อยละ 42.3 ซึ่งในจำนวนนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 44.3 ไปรับบริการเมื่อมีหินน้ำลายและร้อยละ 27.8 ไปรับบริการเมื่อมีอาการปวดและเสียวฟันแล้ว มีเพียงร้อยละ 15.8 เท่านั้น ที่ไปรับบริการเพื่อต้องการตรวจเช็คโดยไม่มีอาการ กลุ่มวัยทำงานส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.5 ที่ไม่ไปใช้บริการในรอบปีที่ผ่านมา เนื่องจากร้อยละ 68.6 ยังไม่รู้สึกว่าสุขภาพช่องปากมีปัญหา เพราะยังไม่รู้สึกว่ามีอาการผิดปกติใดๆ และร้อยละ 25.7 เนื่องจากไม่มีเวลา ดังนั้น สำหรับกลุ่มวัยทำงานนอกจากการทำให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และความรู้เพื่อการดูแลอนามัยช่องปากตนเองแล้ว ยังจำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมป้องกันโรค โดยเฉพาะสนับสนุนให้ใช้อุปกรณ์เสริมทำความสะอาดซอกฟันเพื่อป้องกันโรคปริทันต์และฟันผุบริเวณด้านประชิด

จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากในวัยทำงานอำเภอละงู  โดยอ้างอิงข้อมูลจากโครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาโมเดลประเมินความเสี่ยงการสูญเสียฟันในผู้ใหญ่ ของทพญ.สุภาวดี เนาว์รุ่งโรจน์ ซึ่งได้มาศึกษาและสำรวจสภาวะทันตสุขภาพในกลุ่มวัยทำงาน อายุ 35-65 ปี จำนวน 250 คน ในพื้นที่ตำบลกำแพงและตำบลปากน้ำ อำเภอละงู  พบว่าแม้ส่วนใหญ่จะมีการแปรงฟันอย่างน้อย 2 ครั้ง ขึ้นไป แต่กลุ่มตัวอย่างมากกว่าร้อยละ 70 ก็ยังมีหินปูนและมีปัญหาโรคเหงือกอักเสบและปริทันต์ รวมถึงมีปัญหาฟันผุมากกว่าร้อยละ 50 แสดงว่ากลุ่มตัวอย่างดังกล่าว ยังมีปัญหาด้านคุณภาพการแปรงฟัน และจากผลสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากในโครงการพัฒนาระบบการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากวัยทำงาน สำหรับ อสม. ในเขตตำบลกำแพง จำนวน 7 หมู่บ้าน โดยฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลละงู ปีงบปรมาณ 2560 พบว่ากลุ่มตัวอย่างอายุเฉลี่ย 46.74 ปี พบมีปัญหาเหงือกอักเสบ ร้อยละ 100 มีฟันผุเฉลี่ย 3.57 ซี่ต่อคน มีฟันแท้ที่สามารถใช้งานได้เพียง 18.87 ซี่ต่อคน และมีคู่สบฟันแท้ที่สามารถใช้งานได้ ๓.๒๒ คู่ต่อคนเท่านั้น ประกอบกับอัตราการเข้าถึงบริการทันตกรรมในกลุ่มวัยทำงานอายุ 15-59 ปีในปีงบประมาณ 2560 ในเขตอำเภอละงูยังมีจำนวนน้อย เพียงร้อยละ 10.34

      ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาโรคฟันผุและโรคปริทันต์อักเสบในเขตตำบลกำแพง ฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลละงู จึงได้จัดทำโครงการออกหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ในหมู่บ้าน โดยเริ่มทำในหมู่บ้านนำร่องต่อเนื่องจากโครงการพัฒนาระบบการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากวัยทำงาน สำหรับ อสม. ในเขตตำบลกำแพง ปีงบประมาณ 2560 ผ่านทาง อสม.แกนนำในหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านดังกล่าวเข้าถึงบริการได้สะดวกขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านสามารถเข้าถึงบริการทันตกรรมได้สะดวกขึ้น
  1. จำนวนผู้เข้ารับบริการทันตกรรมทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมาย
90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 224,390.00 3 215,430.00
1 - 28 ก.พ. 62 กิจกรรมที่ 1 ออกหน่วยให้บริการทันตกรรมภายในหมู่บ้าน ทั้งหมด 7 หมู่ (1,2,5,7,8,9 และ 10) หมู่ละ 2 วัน 0 221,990.00 215,430.00
3 - 28 มิ.ย. 62 กิจกรรมที่ 2 ติดตามผลกลุ่มเป้าหมายที่มารับบริการทันตกรรม 0 0.00 0.00
1 ส.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมที่ 3 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 2,400.00 0.00

วิธีดำเนินการ

1.ขั้นเตรียมการ

  • ประชุม ประสานงาน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนดำเนินงาน

  • ประชาสัมพันธ์โครงการ

  • เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ และวัสดุการสอนต่างๆ


    2.ขั้นดำเนินการ ดำเนินการดังนี้

        กิจกรรมที่ 1 ออกหน่วยให้บริการทันตกรรมภายในหมู่บ้าน ทั้งหมด 7 หมู่ (1,2,5,7,8,9 และ 10) หมู่ละ 2 วัน

        1.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับทันตสุขศึกษา การแปรงฟันที่ถูกวิธี แก่กลุ่มเป้าหมาย

        1.2 ฝึกทักษะการแปรงฟันและย้อมสีฟันให้แก่ผู้มารับบริการและผู้ที่สนใจ โดบแบ่งเป็น 5 กลุ่มๆละ 7 คน มีวิทยากรประจำกลุ่ม 1 คน (วิทยากร คือ อาสาสมัครแกนนำที่ผ่านการอบรมจากโครงการพัฒนาระบบการสร้าง
        เสริมสุขภาพช่องปากวัยทำงาน สำหรับ อสม.) โดยเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข เป็นพี่เลี้ยง

        1.3 ตรวจสุขภาพช่องปากแก่ประชาชนในหมู่บ้านที่มารับบริการทันตกรรม โดยบริการถอนฟันวันละ 20 ราย และขูดหินน้ำลายวันละ 15 ราย


        กิจกรรมที่ 2 ติดตามผลกลุ่มเป้าหมายที่มารับบริการทันตกรรม

        2.1 ตรวจ/ติดตามสุขภาพช่องปากกลุ่มเป้าหมายหลังมารับบริการ โดย อาสาสมัครแกนนำและเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข

        2.2 กรณีพบปัญาหาสุขภาพช่องปาก ส่งต่อเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง


3.ขั้นสรุปผลการดำเนินโครงการ

      กิจกรรมที่ 3 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

      3.1 จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง

      3.2 จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในหมู่บ้าน เขตตำบลกำแพงสามารถเข้าถึงบริการทันตกรรมได้สะดวกขึ้น และได้รับการรักษาและติดตามอย่างต่อเนื่อง
  2. ประชาชนที่มารับบริการทันตกรรมมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น และสามารถลดอัตราการเกิดโรคในช่องปากและลดการสูญเสียฟันแท้ได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2562 15:36 น.