กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้30 กันยายน 2562
30
กันยายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดกิจกรรม

  1. จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง

  2. จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์

กิจกรรมที่ 2 ติดตามผลกลุ่มเป้าหมายที่มารับบริการทันตกรรม3 มิถุนายน 2562
3
มิถุนายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียด

  1. ตรวจ/ติดตามสุขภาพช่องปากกลุ่มเป้าหมายหลังมารับบริการ โดย อาสาสมัครแกนนำและเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข

  2. กรณีพบปัญาหาสุขภาพช่องปาก ส่งต่อเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมาย

  • กลุ่มเป้าหมายที่พบปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ตรวจ/ติดตามสุขภาพช่องปากกลุ่มเป้าหมายหลังมารับบริการ โดย อาสาสมัครแกนนำและเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข ซึ่งไม่พบปัญาหาสุขภาพช่องปากหลังการเข้ารับบริการ

กิจกรรมที่ 1 ออกหน่วยให้บริการทันตกรรมภายในหมู่บ้าน ทั้งหมด 7 หมู่ (1,2,5,7,8,9 และ 10) หมู่ละ 2 วัน6 กุมภาพันธ์ 2562
6
กุมภาพันธ์ 2562รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดกิจกรรม

  1. ให้ทันตสุขศึกษา ฝึกทักษะการแปรงฟันและย้อมสีฟันให้แก่ผู้มารับบริการและผู้ที่สนใจ โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่มๆละ 7 คน มีวิทยากรประจำกลุ่ม 1 คน (วิทยากร คือ อาสาสมัครแกนนำที่ผ่านการอบรมจากโครงการพัฒนาระบบการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากวัยทำงาน สำหรับ อสม.) โดยเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข เป็นพี่เลี้ยง

  2. ตรวจสุขภาพช่องปากแก่ประชาชนในหมู่บ้านที่มารับบริการทันตกรรม โดยบริการถอนฟันวันละ 20 ราย และขูดหินน้ำลายวันละ 15 ราย

เป้าหมาย

  • ประชาชนในหมู่บ้านที่มารับบริการทันตกรรม จำนวน 490 ราย
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการจัดโครงการพบว่า มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 461 คน เป็นเพศหญิง 329 คน คิดเป็นร้อยละ 71.37 และเพศชาย 132 คิดเป็นร้อยละ 28.63 แบ่งเป็นอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 57 คน และ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 404 คน (อายุเฉลี่ย 42.9 ปี) จาก 7 หมู่บ้าน ดังนี้

  • หมู่ที่ 1 บ้านควนไสน จำนวน 50 คน
  • หมู่ที่ 2 บ้านท่าแลหลา จำนวน 65 คน
  • หมู่ที่ 5 บ้านปิใหญ่ จำนวน 66 คน
  • หมู่ที่ 7 บ้านโกตา จำนวน 72 คน
  • หมู่ที่ 8 บ้านอุไร จำนวน 48 คน
  • หมู่ที่ 9 บ้านป่าฝ่าง จำนวน 83 คน
  • หมู่ที่ 10 บ้านปากปิงจำนวน 77 คน

การตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน พบผู้เข้าร่วมโครงการมีสภาวะทันตสุขภาพ ดังนี้

  • จำนวนฟันแท้ที่สามารถใช้งานได้ 23.65 ซี่ต่อคน
  • จำนวนคู้สบฟันแท้ที่สามารถใช้งานได้ 4.03 คู่ต่อคน
  • จำนวนฟันผุ 3.22 ซี่ต่อคน
  • มีเหงือกอักเสบและหินปูน ร้อยละ 83.95

เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับบริการทันตกรรม ดังนี้

  • ได้รับบริการตรวจฟัน 461 คน คิดเป็นร้อยละ 100
  • ได้รับการขูดหินน้ำลาย 249 คน คิดเป็นร้อยละ 54.01
  • ได้รับบริการถอนฟัน 200 คน (274 ซี่) คิดเป็นร้อยละ 43.38

ผลการประเมินหลังการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด จำนวน 461 คน ได้ส่งแบบทดสอบความรู้หลังการอบรมกลับมา 344 คน โดยแบ่งเป็นแบบทดสอบความรู้เรื่องโรคฟันผุ เหงือกอักเสบ และปริทันต์อักเสบ พบว่า ผู้เข้าร่วมอบรมได้คะแนนจากแบบทดสอบความรู้หลังการอบรมส่วนใหญ่อยู่ในระดับเกณฑ์ดีมาก และพบผู้ที่ตอบได้คะแนนเต็ม 5 คะแนน จำนวน 248 คน คิดเป็นร้อยละ 72.09 และพบว่า ผู้เข้าร่วมอบรมได้คะแนนจากแบบทดสอบความรู้เรื่องโรคฟันสึก หลังการอบรมส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดีมาก และพบผู้ที่ตอบได้คะแนนเต็ม 5 คะแนน จำนวน 209 คน คิดเป็นร้อยละ 60.76 และตอบได้ 4 คะแนน จำนวน 109 คน คิดเป็นร้อยละ 31.69

การประเมินผลประสิทธิภาพการแปรงฟันหลังได้รับความรู้ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีค่าประสิทธิภาพการแปรงฟันหลังได้รับความรู้และฝึกทักษะการแปรงฟัน ดังนี้ (สามารถประเมินได้ 459 คน)

  • PI = A (Good) จำนวน 221 คน คิดเป็นร้อยละ 48.15
  • PI = B (Fair) จำนวน 204 คน คิดเป็นร้อยละ 44.44
  • PI = C (Poor) จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 7.41

จำนวนผู้เข้ารับบริการทันตกรรมทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมาย มีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดีขึ้น โดยหลังเสร็จสิ้นโครงการ มีผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เรื่องโรคในช่องปากและฟัน การป้องกันโรคและฝึกทักษะการแปรงฟัน รวมถึงได้รับบริการทางทันตกรรม ตรวจฟัน ขูดหินน้ำลายและถอนฟัน ทั้งหมดจำนวน 461 คน คิดเป็นร้อยละ 94.08 ของกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้ 490 คน และพบผู้ป่วยมีประสิทธิภาพการแปรงฟันอยู่ในเกณฑ์ดีมาก 221 คิดเป็นร้อยละ 48.15 และอยู่ในเกณฑ์พอใช้ 204 คน คิดเป็นร้อยละ 44.44