กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง


“ โครงการตลาดดีมีมาตรฐาน ปีงบประมาณ 2562 ”

ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นางวรนุช ศรีสุวรรณ

ชื่อโครงการ โครงการตลาดดีมีมาตรฐาน ปีงบประมาณ 2562

ที่อยู่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 62-L6895-01-02 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2562


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการตลาดดีมีมาตรฐาน ปีงบประมาณ 2562 จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการตลาดดีมีมาตรฐาน ปีงบประมาณ 2562



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการตลาดดีมีมาตรฐาน ปีงบประมาณ 2562 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 62-L6895-01-02 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 40,000.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

มนุษย์เราจำเป็นที่จะต้องมีการบริโภคอาหารเพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโต สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติสุขได้ อาหารที่บริโภคจึงต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภค เนื่องจากมีสิ่งที่ทำให้เกิดโรคหลายชนิด เข้าสู่ร่างกายได้ทางปากพร้อมน้ำและอาหาร โดยเฉพาะเชื้อโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรีย ไวรัส พยาธิ ตลอดจนพิษของเชื้อโรค และสารเคมี ซึ่งพบมากในอาหารสด อาหารที่มีการปนเปื้อนจะทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากการปนเปื้อนของอาหาร และส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ การค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งชื่อเสียงของประเทศในฐานะของผู้ผลิต
จากการสำรวจสถานการณ์การปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในอาหาร ปี 2554 – 2558 พบว่าเชื้อ E.coli มีแนวโน้มลดลง ยกเว้นในปี 2557 พบร้อยละ 5.29 ซึ่งเพิ่มสูงจากปี 2556 ที่พบเพียงร้อยละ 4.06
คิดเป็นร้อยละ 1.23 และสถานการณ์การปนเปื้อนของสารเคมีในอาหาร 5 ชนิด ประกอบด้วย สารบอแรกซ์ สารกันรา สารฟอกขาว สารฟอร์มาลิน และยาฆ่าแมลง พบว่า มีแนวโน้มลดลงยกเว้นสารฟอร์มาลินที่พบเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 1.03 ในปี 2558 จากร้อยละ 0.09 ในปี 2557 คิดเป็นร้อยละ 0.94 จากสถานการณ์ข้างต้นแหล่งสะสมอาหารสดที่มีมากคือตลาดสดทำให้กระทรวงสาธารณสุขกำหนดยุทธศาสตร์ด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเลิศ มีตัวชี้วัดร้อยละของผลิตภัณฑ์อาหารสดต้องมีความปลอดภัย โดยพิจารณาจากจำนวนของผักและผลไม้สดที่มีผลการตรวจวิเคราะห์ผ่านมาตรฐานร้อยละ 70 ในการนี้เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองและได้บริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยปราศจากการปนเปื้อน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองกันตัง จึงได้จัดทำโครงการตลาดดีมีมาตรฐานปี 2562 ขึ้นเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองและได้บริโภคอาหารที่มีความปลอดภัย และสามารถดำรงชีวิตได้โดยมีคุณภาพชีวิตที่ดี

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารให้แก่ผู้ประกอบการในตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง และตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง
  2. เพื่อคุ้มครองประชาชนที่ไปซื้อสินค้าในตลาดให้ได้รับสินค้าและอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการค้า
  2. กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  3. กิจกรรมป้องกันและควบคุมสัตว์พาหะนำโรค
  4. กิจกรรมคุ้มครองผู้บริโภค

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 158
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้ประกอบการค้ามีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขาภิบาลตลาดและสุขาภิบาลอาหาร
  2. ตลาดสดปลอดการใช้สารปนเปื้อนในอาหาร ได้แก่ สารบอแรกซ์ สารกันรา สารฟอกขาว สารฟอร์มาลิน สารเร่งเนื้อแดง และยาฆ่าแมลง ตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
  3. ตลาดสดเทศบาลเมืองกันตังและตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตังเป็นตลาดปลอดโฟม 100 เปอร์เซ็นต์
  4. ตลาดเทศบาลผ่านเกณฑ์ตลาดดีมีมาตรฐาน

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการค้า

วันที่ 28 มกราคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  • ลงทะเบียน
  • ชี้แจงนโยบายการจัดระเบียบตลาดถนนคนเดิน/การจัดระเบียบแผงลอย
  • หลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติในการจำหน่ายสินค้า
  • การดำเนินงานตามมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารและสุขาภิบาลตลาด
  • พักรับประทานอาหารว่าง
  • การเลือกตั้งประธานและคณะกรรมการชมรมผู้ประกอบการตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง
  • ชี้แจงการดำเนินการต่อใบอนุญาติการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลตลาดและสุขาภิบาลอาหารอาหารแก่ผู้ประกอบการ โดยจัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2562 ณ อาคารคอซิมบี๊เทศบาลเมืองกันตัง โดยมีผู้ประกอบการตลาดสดเทศบาลเมืองกันตังเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 80 คน ผู้ประกอบการจากตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตังเข้าร่วมโครงการฯ 295 คน

 

238 0

2. กิจกรรมป้องกันและควบคุมสัตว์พาหะนำโรค

วันที่ 28 มีนาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  • จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันและควบคุมโรค
  • จัดการควบคุมป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรคไม่ให้รบกวนแต่ก่อความรำคาญภายในตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมป้องกันและควบคุมสัตว์พาหะนำโรค ภายในตลาดสดเทศบาลเมืองกันตังมีหนูและนกพิราบเป็นจำนวนมากก่อความเดือดร้อนรำคาญให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนผู้มารับบริการอีกทั้งยังเป็นสัตว์พาหะนำโรค โดยมีการดำเนินการดังนี้ 1) การควบคุมประชากรหนูมีการดำเนินการโดยใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดหนูเป็นประจำทุกเดือนเดือนละ 2 ครั้งคือวันศุกร์ที่ 2 และ 4 ของเดือน ร่วมกับการทำความสะอาดตลาดสดเทศบาลเมืองกันตังตามหลักสุขาภิบาลทุกวันที่ 5 และ 20 ของเดือน ให้ความรู้เรื่องวิธีการกำจัดหนูรวมทั้งขอความร่วมมือผู้ประกอบการให้เก็บบริเวณแผงจำหน่ายอาหารของตนเองให้เรียบร้อยไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์พาหะนำโรคและไม่ทิ้งเศษอาหารไว้บริเวณแผงจำหน่ายอาหารให้เป็นแหล่งอาหารของสัตว์พาหะนำโรค 2) การควบคุมประชากรนกพิราบมีการดำเนินการโดยการใช้ตาข่ายดักนกพิราบร่วมกับการขอความร่วมมือผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงห้ามให้อาหารนกพิราบ

 

0 0

3. กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

วันที่ 19 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  • จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร
  • ลงพื้นที่ตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (สารบอแรกซ์ สารกันรา สารฟอกขาว สารฟอร์มาลิน สารเร่งเนื้อแดง ยาฆ่าแมลง และโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร) โดยได้เก็บตัวอย่างอาหารจากแผงจำหน่ายอาหารตลาดสดเทศบาลเมืองกันตังและตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง มีรายละเอียดดังนี้ 1.ตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง - การตรวจสอบหาเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในมือผู้สัมผัสอาหารพบร้อยละ 25 ในภาชนะอุปกรณ์พบร้อยละ  14.29  อาหารปรุงสำเร็จพบร้อยละ 12.5  การตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร  โดยไม่พบสารบอแรกซ์สารฟอกขาว  ยาฆ่าแมลงปนเปื้อนในอาหาร พบสารกันราร้อยละ 33.33 สารฟอร์มาลีนร้อยละ 33.33 สารเร่งเนื้อแดงร้อยละ 30 และสีสังเคราะห์อาหารร้อยละ 33.33
2. โคลิฟอร์มแบคทีเรียตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง - การตรวจสอบหาเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในมือผู้สัมผัสอาหารพบร้อยละ 75.68 ในอาหารปรุงสำเร็จพบร้อยละ 93.18 โดยได้แจ้งผลการตรวจสอบให้ผู้ประกอบการทราบและให้ความรู้และมอบสื่อความรู้เรื่องพิษในอาหาร สุขาภิบาลอาหารและสุขวิทยาผู้สัมผัสอาหาร

 

0 0

4. กิจกรรมคุ้มครองผู้บริโภค

วันที่ 16 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

  • จัดซื้อ/จัดจ้างครื่องชั่งกลาง-บอร์ดความรู้
  • ติดตั้งเครื่องชั่งกลางที่ได้มาตรฐานไว้บริการผู้บริโภคในตลาดสดอย่างน้อย 1 จุด และติดป้าย บอกไว้ชัดเจน
  • จัดทำบอร์ดให้ความรู้แก่ประชาชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมคุ้มครองผู้บริโภค 1) จัดทำบอร์ดสำหรับให้ความรู้แก่ประชาชน จำนวน 2 จุด ได้แก่บริเวณทางเดินระหว่างตลาดเก่าและตลาดใหม่ 2) จัดทำจุดชั่งน้ำหนักกลาง จำนวน 1 จุด

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

โครงการตลาดดีมีมาตรฐานมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารให้แก่ผู้ประกอบการในตลาดสดเทศบาลเมืองกันตังและตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง และเพื่อคุ้มครองประชาชนที่ไปซื้อสินค้าในตลาดให้ได้รับสินค้าและอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน โดยมีการดำเนินกิจกรรมในโครงการทั้ง 4 กิจกรรมได้แก่ กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการค้า กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ กิจกรรมป้องกันและควบคุมสัตว์พาหะนำโรค และกิจกรรมคุ้มครองผู้บริโภค โดยมีผลการดำเนินโครงการฯ ดังต่อไปนี้ 1.1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการค้า โดยจัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2562 ณ อาคารคอซิมบี๊เทศบาลเมืองกันตัง โดยมีผู้ประกอบการตลาดสดเทศบาลเมืองกันตังเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 80 คน ผู้ประกอบการจากตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตังเข้าร่วมโครงการฯ 295 คน โดยมี นางวรนุช ศรีสุวรรณ และนางสาวโศรดา หนูพยันต์ เป็นวิทยากร 1.2 กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (สารบอแรกซ์ สารกันรา สารฟอกขาว สารฟอร์มาลิน สารเร่งเนื้อแดง ยาฆ่าแมลง และโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร) โดยได้เก็บตัวอย่างอาหารจากแผงจำหน่ายอาหารตลาดสดเทศบาลเมืองกันตังและตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง มีรายละเอียดดังนี้ - ตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง การตรวจสอบหาเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในมือผู้สัมผัสอาหารพบร้อยละ 25 ในภาชนะอุปกรณ์พบร้อยละ 14.29 อาหารปรุงสำเร็จพบร้อยละ 12.5 การตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร โดยไม่พบสารบอแรกซ์สารฟอกขาว ยาฆ่าแมลงปนเปื้อนในอาหาร พบสารกันราร้อยละ 33.33 สารฟอร์มาลีนร้อยละ 33.33 สารเร่งเนื้อแดงร้อยละ 30 และสีสังเคราะห์อาหารร้อยละ 33.33
- โคลิฟอร์มแบคทีเรียตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง การตรวจสอบหาเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในมือผู้สัมผัสอาหารพบร้อยละ 75.68 ในอาหารปรุงสำเร็จพบร้อยละ 93.18 โดยได้แจ้งผลการตรวจสอบให้ผู้ประกอบการทราบและให้ความรู้และมอบสื่อความรู้เรื่องพิษในอาหาร สุขาภิบาลอาหารและสุขวิทยาผู้สัมผัสอาหาร 1.3 กิจกรรมป้องกันและควบคุมสัตว์พาหะนำโรค ภายในตลาดสดเทศบาลเมืองกันตังมีหนูและนกพิราบเป็นจำนวนมากก่อความเดือดร้อนรำคาญให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนผู้มารับบริการอีกทั้งยังเป็นสัตว์พาหะนำโรค โดยมีการดำเนินการดังนี้ 1) การควบคุมประชากรหนูมีการดำเนินการโดยใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดหนูเป็นประจำทุกเดือนเดือนละ 2 ครั้งคือวันศุกร์ที่ 2 และ 4 ของเดือน ร่วมกับการทำความสะอาดตลาดสดเทศบาลเมืองกันตังตามหลักสุขาภิบาลทุกวันที่ 5 และ 20 ของเดือน ให้ความรู้เรื่องวิธีการกำจัดหนูรวมทั้งขอความร่วมมือผู้ประกอบการให้เก็บบริเวณแผงจำหน่ายอาหารของตนเองให้เรียบร้อยไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์พาหะนำโรคและไม่ทิ้งเศษอาหารไว้บริเวณแผงจำหน่ายอาหารให้เป็นแหล่งอาหารของสัตว์พาหะนำโรค 2) การควบคุมประชากรนกพิราบมีการดำเนินการโดยการใช้ตาข่ายดักนกพิราบร่วมกับการขอความร่วมมือผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงห้ามให้อาหารนกพิราบ
1.4 กิจกรรมคุ้มครองผู้บริโภค 1) จัดทำบอร์ดสำหรับให้ความรู้แก่ประชาชน จำนวน 2 จุด ได้แก่บริเวณทางเดินระหว่างตลาดเก่าและตลาดใหม่ 2) จัดทำจุดชั่งน้ำหนักกลาง จำนวน 1 จุด 1.5 สรุปค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน จำนวน 40,000 บาท ดังนี้ 1) กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการค้า - ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรม เป็นเงิน  714 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน 7,140 บาท
2) กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ - ค่าชุดทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร เป็นเงิน 4,950 บาท 3) กิจกรรมป้องกันและควบคุมสัตว์พาหะนำโรค
- ค่าวัสดุผลิตภัณฑ์กำจัดหนู เป็นเงิน 12,400 บาท - ค่าวัสดุไล่นกพิราบ เป็นเงิน 4,620 บาท 4) กิจกรรมคุ้มครองผู้บริโภค - ค่าจัดทำบอร์ดสำหรับให้ความรู้แก่ประชาชน เป็นเงิน 6,116 บาท - ค่าจัดทำจุดชั่งน้ำหนักกลาง เป็นเงิน 3,060 บาท - ค่าเครื่องชั่งน้ำหนัก เป็นเงิน 1,000 บาท

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารให้แก่ผู้ประกอบการในตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง และตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง
ตัวชี้วัด :
0.00

 

2 เพื่อคุ้มครองประชาชนที่ไปซื้อสินค้าในตลาดให้ได้รับสินค้าและอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน
ตัวชี้วัด :
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 158
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 158
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารให้แก่ผู้ประกอบการในตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง และตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง (2) เพื่อคุ้มครองประชาชนที่ไปซื้อสินค้าในตลาดให้ได้รับสินค้าและอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการค้า (2) กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (3) กิจกรรมป้องกันและควบคุมสัตว์พาหะนำโรค (4) กิจกรรมคุ้มครองผู้บริโภค

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการตลาดดีมีมาตรฐาน ปีงบประมาณ 2562 จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 62-L6895-01-02

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางวรนุช ศรีสุวรรณ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด