กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการรณรงค์ ป้องกันและควบคุมเอดส์และวัณโรคในชุมชน ปีงบประมาณ ๒๕๖๒
รหัสโครงการ 62-L5300-1-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา)
วันที่อนุมัติ 21 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 48,532.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวต่วนบีรนี ดาราหมานเศษ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.625,100.12place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 191 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวัณโรค
9.00
2 จำนวนผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ป่วยด้วยโรควัณโรค
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรค เป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium Tuberculosis ที่มีผลต่ออวัยวะหลายส่วนของร่างกาย แต่ร้อยละ 80 จะเกิดขึ้นที่ปอด จึงมีการแบ่งวัณโรคออกเป็น 2 ประเภท คือ วัณโรคปอด และวัณโรคนอกปอด ได้แก่ เยื่อหุ้มปอด ต่อมน้ำเหลือง ช่องท้อง ผิวหนัง กระดูกและข้อ เยื่อหุ้มสมอง ระบบสืบพันธุ์ และทางเดินปัสสาวะ เชื้อโรคนี้แพร่กระจายโดยผู้ป่วยวัณโรค ไอ จาม และแพร่เชื้อสู่บุคคลอื่นได้ด้วยการสูดละอองเสมหะที่มีเชื้อวัณโรคเข้าไป (Global Tuberculosis Report WHO, 2014) อีกทั้งเป็นโรคติดต่อที่กำลังเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ที่เป็นสาเหตุของการป่วย และการเสียชีวิต ในหลายๆประเทศทั่วโลก และกำลังแพร่ระบาดของโรคเอดส์ทำให้ปัญหาวัณโรคมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น วัณโรคจึงนับเป็นปัญหาที่ท้าทายต่อวงการสาธารณสุขของประเทศต่างๆ (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, ๒๕๔๘)     จากรายงานวัณโรคของโลกปีพ.ศ.๒๕๖๐ (global tuberculosis report 2017) โดยองค์การอนามัยโลก คาดประมาณอุบัติการณ์ผู้ป่วยวัณโรค (รายใหม่และกลับเป็นซ้ำ) ของโลก สูงถึง ๑๐.๔ ล้านคน (๑๔๐ ต่อแสนประชากร) มีจำนวนผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิตสูงถึง ๑.๗ ล้านคน สำหรับจำนวนผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อเอชไอวี ๑.๐๓ ล้านคน คิดเป็นร้อยละ ๑๐ ของผู้ป่วยวัณโรคทั้งหมด โดยเสียชีวิตปีละ ๐.๔ ล้านคน สำหรับจำนวนผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา RR/MDR-TB คาดว่าจะมี ๖ แสนคน โดยพบได้ร้อยละ ๔.๑ ของผู้ป่วยใหม่และร้อยละ ๑๙ ของผู้ป่วยที่เคยรักษามาก่อน ในจำนวนนี้เป็น MDR-TB ๔.๙ แสนคน โดยองค์การอนามัยโลกจัดให้ประเทศไทยเป็น ๑ ใน ๑๔ ประเทศของโลกที่มีภาระวัณโรค วัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีและวัณโรคดื้อยาหลายขนานสูง และจากการคาดประมาณขององค์การอนามัยโลก ปี ๒๕๕๙ ประเทศไทยมีอุบัติการณ์ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับมาเป็นซ้ำ ๑๑๙,๐๐๐ ราย ผู้ป่วยวัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี ๑๐,๐๐๐ ราย และผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา RR/MDR-TB ๔,๗๐๐ ราย สำนักวัณโรครายงานผลการดำเนินงานวัณโรคของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙ พบว่า มีผู้ป่วยขึ้นทะเบียนรักษาวัณโรค (ผู้ป่วยรายใหม่และกลับเป็นซ้ำ) 70,114 ราย ผู้ป่วยวัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี ๖,๗๙๔ รายซึ่งคิดเป็นร้อยละ ๑๑ ของผู้ที่ได้รับการตรวจเชื้อเอชไอวีวัณโรคดื้อยาหลายขนาน ๙๕๕ ราย และวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก ๑๓ ราย โดยมีผลสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำร้อยละ ๘๒.๙ (สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 25๖๑)
จังหวัดสตูล เป็นเขตจังหวัดพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย ที่เป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวและมีนักท่องเที่ยว รวมถึงประชาชนที่มีการเคลื่อนย้ายอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นสาเหตุของการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในปัจจุบัน พบว่ามีผู้ป่วยวัณโรคที่ขึ้นทะเบียน จำนวน ๑๒๔ ราย ผู้ป่วยกลับเป็นซ้ำ จำนวน ๑๓ ราย และพบว่า ผู้ป่วยวัณโรคในอำเภอเมืองสตูลที่ขึ้นทะเบียน จำนวน ๒๒ ราย ผู้ป่วยวัณโรคที่มีเชื้อเอชไอวีและกลับเป็นซ้ำ จำนวน ๒ ราย ซึ่งจากข้อมูลรายงานสถานการณ์ข้างต้น พบว่า กลุ่มเยาวชน นักเรียน ซึ่งเป็นกำลังของชาติ จะเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เกิดเกราะการป้องกัน และหยุดยั้งโรคระบาดเหล่านี้ให้หมดสิ้นไปจากชุมชนและพื้นที่ การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเอดส์และวัณโรค จึงเป็นเรื่องที่ต้องกระทำอย่างเร่งด่วนในปัจจุบัน โดยทีมสุขภาพด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา) ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล มีพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 3 หมู่บ้าน 4,๔๕๔ หลังคาเรือน ประชากรรวม 9,๙9๗ คน (ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ณ 30 มิย. ๖๑) สถานการณ์ ๓ ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ พ.ศ.255๙-25๖๑ มีผู้ป่วยวัณโรค ๑๑, 1๓, ๙ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๑๑๐.๐, ๑๓๐.๐, ๙๐.๐ ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิต ๐, ๐, ๑ ราย คิดเป็นอัตราตาย ๐, ๐, ๑0.๐ ต่อแสนประชากร มีผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีป่วยเป็นวัณโรค ๐, ๑, ๑ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๐, 10.๐, 10.๐ ต่อแสนประชากร อัตราผลสำเร็จในการรักษามีจำนวน 5, 1๒, ๑ คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐, 100, ๑๐.๐ เนื่องจากผลสำเร็จในการรักษาตามเกณฑ์กระทรวงกำหนดร้อยละ ๙๐ พบว่าในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ผู้ป่วยผ่านเกณฑ์การรักษาตามระบบ ร้อยละ ๑๐๐ แต่ในปี พ.ศ.๒๕๕๙ และปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ผู้ป่วยรายใหม่และผู้ป่วยรายเก่ายังคงรับการรักษาในขณะนั้น จึงไม่สามารถสรุปผลสำเร็จของการรักษาได้ และจากสถานการณ์โรคและที่มาข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา) จึงได้จัดทำโครงการ“อบรมเชิงปฏิบัติการรณรงค์ ป้องกันและควบคุมเอดส์และ  วัณโรคในชุมชน ปีงบประมาณ ๒๕๖๒” โดยเน้นให้ผู้นำศาสนา ประชาชน และนักเรียนมีความรู้ในเรื่องวัณโรคและวิธีการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในชุมชน และสามารถค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในกลุ่มเสี่ยงได้ อีกทั้งเพื่อการดำเนินการเป็นชุมชนต้นแบบที่ดีในการควบคุมและหยุดยั้งการเกิดโรควัณโรคและเอดส์ในพื้นที่ด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้นำศาสนา ประชาชน และนักเรียนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์และวัณโรค

ผู้นำศาสนา ประชาชน และนักเรียนที่ได้รับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ ๙๐

90.00
2 เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยด้วยคู่มือการคัดกรองและติดตามผู้ป่วยวัณโรค

ได้คู่มือการคัดกรองและติดตามผู้ป่วยที่มีคุณภาพและมีการใช้งานอย่างต่อเนื่อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 48,532.00 2 48,565.00
8 มี.ค. 62 อบรมให้ความรู้ พัฒนาศักยภาพ แกนนำนักเรียน ผู้พิชิตวัณโรคและเอดส์ 0 48,532.00 32,715.00
3 เม.ย. 62 อบรมให้ความรู้ พัฒนาศักยภาพ ผู้นำศาสนา ประชาชนแผู้พิชิตวัณโรค 0 0.00 15,850.00

กิจกรรม ระบุวัน/ช่วงเวลา ๑. ศึกษาบริบทพื้นที่ ชุมชน ตุลาคม-ธันวาคม ๒. ประชุม/ประสานงานชี้แจงการดำเนินงานแก่คณะทำงาน กุมภาพันธ์ ๓. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ กุมภาพันธ์ ๔. จัดอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป ผู้นำศาสนา และแกนนำนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา กุมภาพันธ์-มีนาคม ๕. ปรับปรุง พัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้ป่วย TB/HIV ใน รพ.สต.และระบบการส่งต่อ มีนาคม-พฤษภาคม ๖. ติดตามและประเมินผล มิถุนายน-กรกฎาคม ๗. สรุปและรายงานผล ภายใน ๓๐ วันหลังเสร็จสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต 1. เพื่อให้ผู้นำศาสนา ประชาชน และนักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังการอบรม ร้อยละ ๙๐
๒. ระบบการดูแลรักษาผู้ป่วย TB/HIV และระบบการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างคลินิกวัณโรคและคลินิกเอดส์ในรพ.สต. มีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมเกิดแกนนำสุขภาพและแกนนำนักเรียน ผู้พิชิตวัณโรคและเอดส์ ๓. ได้คู่มือการคัดกรองและติดตามผู้ป่วยที่มีคุณภาพ ผลลัพธ์ 1. ผู้นำศาสนา ประชาชน และนักเรียนมีความรู้และสามารถถ่ายทอดความรู้และประชาสัมพันธ์แก่ผู้อื่นได้ ๒. ผู้นำศาสนา ประชาชน และนักเรียนผู้พิชิตวัณโรคและเอดส์ สามารถนำความรู้ คำแนะนำและการปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองเบื้องต้นและประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของตนเองได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยจากวัณโรคและเอดส์ได้ ๓. สามารถนำคู่มือการคัดกรองและติดตามผู้ป่วยที่มีคุณภาพมาใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2562 10:19 น.