กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด


“ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการรณรงค์ ป้องกันและควบคุมเอดส์และวัณโรคในชุมชน ปีงบประมาณ ๒๕๖๒ ”

ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นางสาวต่วนบีรนี ดาราหมานเศษ

ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการรณรงค์ ป้องกันและควบคุมเอดส์และวัณโรคในชุมชน ปีงบประมาณ ๒๕๖๒

ที่อยู่ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 62-L5300-1-3 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 23 มกราคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2562


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการรณรงค์ ป้องกันและควบคุมเอดส์และวัณโรคในชุมชน ปีงบประมาณ ๒๕๖๒ จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการรณรงค์ ป้องกันและควบคุมเอดส์และวัณโรคในชุมชน ปีงบประมาณ ๒๕๖๒



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการรณรงค์ ป้องกันและควบคุมเอดส์และวัณโรคในชุมชน ปีงบประมาณ ๒๕๖๒ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 62-L5300-1-3 ระยะเวลาการดำเนินงาน 23 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 48,532.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

วัณโรค เป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium Tuberculosis ที่มีผลต่ออวัยวะหลายส่วนของร่างกาย แต่ร้อยละ 80 จะเกิดขึ้นที่ปอด จึงมีการแบ่งวัณโรคออกเป็น 2 ประเภท คือ วัณโรคปอด และวัณโรคนอกปอด ได้แก่ เยื่อหุ้มปอด ต่อมน้ำเหลือง ช่องท้อง ผิวหนัง กระดูกและข้อ เยื่อหุ้มสมอง ระบบสืบพันธุ์ และทางเดินปัสสาวะ เชื้อโรคนี้แพร่กระจายโดยผู้ป่วยวัณโรค ไอ จาม และแพร่เชื้อสู่บุคคลอื่นได้ด้วยการสูดละอองเสมหะที่มีเชื้อวัณโรคเข้าไป (Global Tuberculosis Report WHO, 2014) อีกทั้งเป็นโรคติดต่อที่กำลังเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ที่เป็นสาเหตุของการป่วย และการเสียชีวิต ในหลายๆประเทศทั่วโลก และกำลังแพร่ระบาดของโรคเอดส์ทำให้ปัญหาวัณโรคมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น วัณโรคจึงนับเป็นปัญหาที่ท้าทายต่อวงการสาธารณสุขของประเทศต่างๆ (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, ๒๕๔๘)     จากรายงานวัณโรคของโลกปีพ.ศ.๒๕๖๐ (global tuberculosis report 2017) โดยองค์การอนามัยโลก คาดประมาณอุบัติการณ์ผู้ป่วยวัณโรค (รายใหม่และกลับเป็นซ้ำ) ของโลก สูงถึง ๑๐.๔ ล้านคน (๑๔๐ ต่อแสนประชากร) มีจำนวนผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิตสูงถึง ๑.๗ ล้านคน สำหรับจำนวนผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อเอชไอวี ๑.๐๓ ล้านคน คิดเป็นร้อยละ ๑๐ ของผู้ป่วยวัณโรคทั้งหมด โดยเสียชีวิตปีละ ๐.๔ ล้านคน สำหรับจำนวนผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา RR/MDR-TB คาดว่าจะมี ๖ แสนคน โดยพบได้ร้อยละ ๔.๑ ของผู้ป่วยใหม่และร้อยละ ๑๙ ของผู้ป่วยที่เคยรักษามาก่อน ในจำนวนนี้เป็น MDR-TB ๔.๙ แสนคน โดยองค์การอนามัยโลกจัดให้ประเทศไทยเป็น ๑ ใน ๑๔ ประเทศของโลกที่มีภาระวัณโรค วัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีและวัณโรคดื้อยาหลายขนานสูง และจากการคาดประมาณขององค์การอนามัยโลก ปี ๒๕๕๙ ประเทศไทยมีอุบัติการณ์ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับมาเป็นซ้ำ ๑๑๙,๐๐๐ ราย ผู้ป่วยวัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี ๑๐,๐๐๐ ราย และผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา RR/MDR-TB ๔,๗๐๐ ราย สำนักวัณโรครายงานผลการดำเนินงานวัณโรคของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙ พบว่า มีผู้ป่วยขึ้นทะเบียนรักษาวัณโรค (ผู้ป่วยรายใหม่และกลับเป็นซ้ำ) 70,114 ราย ผู้ป่วยวัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี ๖,๗๙๔ รายซึ่งคิดเป็นร้อยละ ๑๑ ของผู้ที่ได้รับการตรวจเชื้อเอชไอวีวัณโรคดื้อยาหลายขนาน ๙๕๕ ราย และวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก ๑๓ ราย โดยมีผลสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำร้อยละ ๘๒.๙ (สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 25๖๑)
จังหวัดสตูล เป็นเขตจังหวัดพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย ที่เป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวและมีนักท่องเที่ยว รวมถึงประชาชนที่มีการเคลื่อนย้ายอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นสาเหตุของการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในปัจจุบัน พบว่ามีผู้ป่วยวัณโรคที่ขึ้นทะเบียน จำนวน ๑๒๔ ราย ผู้ป่วยกลับเป็นซ้ำ จำนวน ๑๓ ราย และพบว่า ผู้ป่วยวัณโรคในอำเภอเมืองสตูลที่ขึ้นทะเบียน จำนวน ๒๒ ราย ผู้ป่วยวัณโรคที่มีเชื้อเอชไอวีและกลับเป็นซ้ำ จำนวน ๒ ราย ซึ่งจากข้อมูลรายงานสถานการณ์ข้างต้น พบว่า กลุ่มเยาวชน นักเรียน ซึ่งเป็นกำลังของชาติ จะเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เกิดเกราะการป้องกัน และหยุดยั้งโรคระบาดเหล่านี้ให้หมดสิ้นไปจากชุมชนและพื้นที่ การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเอดส์และวัณโรค จึงเป็นเรื่องที่ต้องกระทำอย่างเร่งด่วนในปัจจุบัน โดยทีมสุขภาพด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา) ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล มีพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 3 หมู่บ้าน 4,๔๕๔ หลังคาเรือน ประชากรรวม 9,๙9๗ คน (ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ณ 30 มิย. ๖๑) สถานการณ์ ๓ ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ พ.ศ.255๙-25๖๑ มีผู้ป่วยวัณโรค ๑๑, 1๓, ๙ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๑๑๐.๐, ๑๓๐.๐, ๙๐.๐ ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิต ๐, ๐, ๑ ราย คิดเป็นอัตราตาย ๐, ๐, ๑0.๐ ต่อแสนประชากร มีผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีป่วยเป็นวัณโรค ๐, ๑, ๑ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๐, 10.๐, 10.๐ ต่อแสนประชากร อัตราผลสำเร็จในการรักษามีจำนวน 5, 1๒, ๑ คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐, 100, ๑๐.๐ เนื่องจากผลสำเร็จในการรักษาตามเกณฑ์กระทรวงกำหนดร้อยละ ๙๐ พบว่าในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ผู้ป่วยผ่านเกณฑ์การรักษาตามระบบ ร้อยละ ๑๐๐ แต่ในปี พ.ศ.๒๕๕๙ และปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ผู้ป่วยรายใหม่และผู้ป่วยรายเก่ายังคงรับการรักษาในขณะนั้น จึงไม่สามารถสรุปผลสำเร็จของการรักษาได้ และจากสถานการณ์โรคและที่มาข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา) จึงได้จัดทำโครงการ“อบรมเชิงปฏิบัติการรณรงค์ ป้องกันและควบคุมเอดส์และ  วัณโรคในชุมชน ปีงบประมาณ ๒๕๖๒” โดยเน้นให้ผู้นำศาสนา ประชาชน และนักเรียนมีความรู้ในเรื่องวัณโรคและวิธีการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในชุมชน และสามารถค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในกลุ่มเสี่ยงได้ อีกทั้งเพื่อการดำเนินการเป็นชุมชนต้นแบบที่ดีในการควบคุมและหยุดยั้งการเกิดโรควัณโรคและเอดส์ในพื้นที่ด้วย

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ผู้นำศาสนา ประชาชน และนักเรียนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์และวัณโรค
  2. เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยด้วยคู่มือการคัดกรองและติดตามผู้ป่วยวัณโรค

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. อบรมให้ความรู้ พัฒนาศักยภาพ แกนนำนักเรียน ผู้พิชิตวัณโรคและเอดส์
  2. อบรมให้ความรู้ พัฒนาศักยภาพ ผู้นำศาสนา ประชาชนแผู้พิชิตวัณโรค

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 191
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต 1. เพื่อให้ผู้นำศาสนา ประชาชน และนักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังการอบรม ร้อยละ ๙๐
๒. ระบบการดูแลรักษาผู้ป่วย TB/HIV และระบบการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างคลินิกวัณโรคและคลินิกเอดส์ในรพ.สต. มีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมเกิดแกนนำสุขภาพและแกนนำนักเรียน ผู้พิชิตวัณโรคและเอดส์ ๓. ได้คู่มือการคัดกรองและติดตามผู้ป่วยที่มีคุณภาพ ผลลัพธ์ 1. ผู้นำศาสนา ประชาชน และนักเรียนมีความรู้และสามารถถ่ายทอดความรู้และประชาสัมพันธ์แก่ผู้อื่นได้ ๒. ผู้นำศาสนา ประชาชน และนักเรียนผู้พิชิตวัณโรคและเอดส์ สามารถนำความรู้ คำแนะนำและการปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองเบื้องต้นและประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของตนเองได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยจากวัณโรคและเอดส์ได้ ๓. สามารถนำคู่มือการคัดกรองและติดตามผู้ป่วยที่มีคุณภาพมาใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. อบรมให้ความรู้ พัฒนาศักยภาพ แกนนำนักเรียน ผู้พิชิตวัณโรคและเอดส์

วันที่ 30 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

อบรมให้ความรู้ พัฒนาศักยภาพ ผู้นำศาสนา ประชาชนและนักเรียน ผู้พิชิตวัณโรคและเอดส์ (วันที่๑) อบรมให้ความรู้ พัฒนาศักยภาพ แกนนำนักเรียน ผู้พิชิตวัณโรคและเอดส์
          เวลา เรื่อง เวลา ๐๘.๐๐น.-๐๘.๓๐น. -  ลงทะเบียนเข้าอบรม  พิธีเปิด เวลา ๐๘.๓๐น.-๐๙.๐๐น. -  ทำแบบประเมินความรู้ก่อนการอบรม เวลา ๐๙.๐๐น.-๑๐.๓๐น. -  กิจกรรมความเข้าใจเรื่องวัณโรคและเอดส์
เวลา ๑๐.๓๐น.-๑๐.๔๕น. -  พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา ๑๐.๔๕น.-๑๒.๐๐น. -  กิจกรรมสาธิตวิธีการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรค
เวลา ๑๒.๐๐น.-๑๓.๐๐น. -  รับประทานอาหารกลางวัน เวลา ๑๓.๐๐น.-๑๕.๐๐น. -  แบ่งกลุ่มเข้าฐาน กิจกรรม walk rally
เวลา ๑๕.๐๐น.-๑๖.๐๐น. -  กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้/รับประทานอาหารว่าง
เวลา ๑๖.๐๐น.-๑๖.๓๐น. -  สรุปการเรียนรู้/ปิดการอบรม

(วันที่ 2) กิจกรรมอบรมติดตามในกลุ่มแกนนำนักเรียน ผู้พิชิตวัณโรคและเอดส์ เวลา ๐๘.๐๐น.- ๑๒.00น. .- อบรมการดำเนินกิจกรรม/แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การเรียนรู้หลังการดำเนิน โครงการ/สรุปกิจกรรมโครงการ/พิธีมอบรางวัล/พิธีมอบเกียรติบัตร/พิธีปิด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังการอบรม ร้อยละ ๙๐
๒. ระบบการดูแลรักษาผู้ป่วย TB/HIV และระบบการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างคลินิกวัณโรคและคลินิกเอดส์ในรพ.สต. มีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมเกิดแกนนำสุขภาพและแกนนำนักเรียน ผู้พิชิตวัณโรคและเอดส์ ๓. ได้คู่มือการคัดกรองและติดตามผู้ป่วยที่มีคุณภาพ ผลลัพธ์ 1. นักเรียนมีความรู้และสามารถถ่ายทอดความรู้และประชาสัมพันธ์แก่ผู้อื่นได้ ๒. นักเรียนผู้พิชิตวัณโรคและเอดส์ สามารถนำความรู้ คำแนะนำและการปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองเบื้องต้นและประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของตนเองได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยจากวัณโรคและเอดส์ได้ ๓. สามารถนำคู่มือการคัดกรองและติดตามผู้ป่วยที่มีคุณภาพมาใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่

 

120 0

2. อบรมให้ความรู้ พัฒนาศักยภาพ ผู้นำศาสนา ประชาชนแผู้พิชิตวัณโรค

วันที่ 15 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

(วันที่ 1) วันที่ 15 สิงหาคม 2562 อบรมให้ความรู้ พัฒนาศักยภาพ แกนนำสุขภาพ ผู้พิชิตวัณโรคและเอดส์
          เวลา เรื่อง เวลา ๐๘.๐๐น.-๐๘.๓๐น. -  ลงทะเบียนเข้าอบรม  พิธีเปิด เวลา ๐๘.๓๐น.-๐๙.๐๐น. -  ทำแบบประเมินความรู้ก่อนการอบรม เวลา ๐๙.๐๐น.-๑๐.๓๐น. -  กิจกรรมความเข้าใจและฟื้นฟูความรู้เรื่องวัณโรคและเอดส์
เวลา ๑๐.๓๐น.-๑๐.๔๕น. -  พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา ๑๐.๔๕น.-๑๒.๐๐น. -  กิจกรรมสาธิตวิธีการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรค
เวลา ๑๒.๐๐น.-๑๓.๐๐น. -  รับประทานอาหารกลางวัน เวลา ๑๓.๐๐น.-๑๕.๐๐น. -  แบ่งกลุ่มเข้าฐาน กิจกรรม walk rally
เวลา ๑๕.๐๐น.-๑๖.๐๐น. -  กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้/รับประทานอาหารว่าง เวลา ๑๖.๐๐น.-๑๖.๓๐น. -  สรุปการเรียนรู้/ปิดการอบรม


(วันที่ 2) วันที่ 19 สิงหาคม 2562กิจกรรมอบรมติดตามในกลุ่มแกนนำสุขภาพ ผู้พิชิตวัณโรคและเอดส์ เวลา ๐๘.๐๐น.- ๑๒.00น. .- อบรมการดำเนินกิจกรรม/แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การเรียนรู้หลังการดำเนิน โครงการ/สรุปกิจกรรมโครงการ/พิธีมอบเกียรติบัตร/พิธีปิด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต 1. เพื่อให้ผู้นำศาสนา ประชาชน มีความรู้เพิ่มขึ้นหลังการอบรม ร้อยละ ๙๐
๒. ระบบการดูแลรักษาผู้ป่วย TB/HIV และระบบการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างคลินิกวัณโรคและคลินิกเอดส์ในรพ.สต. มีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมเกิดแกนนำสุขภาพและแกนนำนักเรียน ผู้พิชิตวัณโรคและเอดส์ ๓. ได้คู่มือการคัดกรองและติดตามผู้ป่วยที่มีคุณภาพ ผลลัพธ์ 1. ผู้นำศาสนา ประชาชน มีความรู้และสามารถถ่ายทอดความรู้และประชาสัมพันธ์แก่ผู้อื่นได้ ๒. ผู้นำศาสนา ประชาชน ผู้พิชิตวัณโรคและเอดส์ สามารถนำความรู้ คำแนะนำและการปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองเบื้องต้นและประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของตนเองได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยจากวัณโรคและเอดส์ได้ ๓. สามารถนำคู่มือการคัดกรองและติดตามผู้ป่วยที่มีคุณภาพมาใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่

 

70 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ผู้นำศาสนา ประชาชน และนักเรียนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์และวัณโรค
ตัวชี้วัด : ผู้นำศาสนา ประชาชน และนักเรียนที่ได้รับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ ๙๐
90.00

 

2 เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยด้วยคู่มือการคัดกรองและติดตามผู้ป่วยวัณโรค
ตัวชี้วัด : ได้คู่มือการคัดกรองและติดตามผู้ป่วยที่มีคุณภาพและมีการใช้งานอย่างต่อเนื่อง
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 191
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 191
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ผู้นำศาสนา ประชาชน และนักเรียนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์และวัณโรค (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยด้วยคู่มือการคัดกรองและติดตามผู้ป่วยวัณโรค

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมให้ความรู้ พัฒนาศักยภาพ แกนนำนักเรียน ผู้พิชิตวัณโรคและเอดส์ (2) อบรมให้ความรู้ พัฒนาศักยภาพ ผู้นำศาสนา ประชาชนแผู้พิชิตวัณโรค

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการรณรงค์ ป้องกันและควบคุมเอดส์และวัณโรคในชุมชน ปีงบประมาณ ๒๕๖๒ จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 62-L5300-1-3

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวต่วนบีรนี ดาราหมานเศษ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด