กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 62-L2535-01-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 61,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนาซีเราะห์ สาและ
พี่เลี้ยงโครงการ นาย อายิ หะมาดุลลาห์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนักยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ตำบลปาเสมัส เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่องโดยมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในตำบลปาเสมัสตั้งแต่ปี 2557 – 2561 จำนวน 15 ,8,6,5 และ 17 ราย ตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วย 155.45 , 83.04, 52.73 , 50.23 และ 167.12 ต่อแสนประชากร ตามลำดับไม่มีผู้ป่วยตายพบผู้ป่วยกระจายทุกหมู่บ้านจะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นโรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วโดยมียุงลายเป็นพาหะ และมีอันตรายถึงแก่ชีวิตการระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม – กันยายน ของทุกปีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายของโรคสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในชุมชนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก หมู่บ้าน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไขซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกจึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และการควบคุมโรคด้านอื่นๆ ให้ถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชนองค์กรชุมชนตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนในตำบลปาเสมัส ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกินร้อยละ๕๐ ต่อแสนประชากร

0.00
2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน หมู่บ้าน และมัสยิด

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายไม่เกินค่ามาตรฐาน

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและวิธีการป้องกัน

ประชาชนมีความรู้เพิ่มขึ้น

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 420 61,050.00 3 61,050.00
1 พ.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 การพ่นหมอกควันเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน 0 46,500.00 46,500.00
1 ก.ค. 62 รณรงค์ Big cleaning dayในโรงเรียน 300 8,550.00 8,550.00
12 - 22 ก.ค. 62 ประชาคมและรณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน 120 6,000.00 6,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 20 จากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี
    1. ทุกหมู่บ้านมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
    2. ทุกโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
    3. ประชาชนมีความเข้าใจ และมีความตระหนักในเรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและ พร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
    4. หน่วยงาน/องค์กรในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2562 00:00 น.