กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการขยายแกนนำชุมชนขจัดภัยไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา ปี 2562
รหัสโครงการ 63-L5181-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเสมียน
วันที่อนุมัติ 24 กันยายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 พฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 161,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอนุชิต โนรดี
พี่เลี้ยงโครงการ นายกุศล ขุนเพ็ชร
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 122 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาเป็นปัญหาที่สำคัญทางด้านสาธารณสุขระดับประเทศ เนื่องจากความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยเอง ชุมชน/สังคมตามลำดับ การระบาดของโรคไข้เลือดออกในปัจจุบันสามารถพบได้ในทุกกลุ่มอายุ โดยสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ข้อมูลจากระบบรายงาน การเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาดวิทยา ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2561 – 31 ธันวาคม 2561 พบว่า มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมระดับประเทศ87,073 รายคิดอัตราป่วย 133.08 ต่อแสนประชากร จังหวัดสงขลา พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 2,182 ราย คิดอัตราป่วย 154.87 ต่อแสนประชากร พื้นที่ตำบลนาทับ ในปี 2561 พบมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 20 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 150.86 ต่อประชากรแสนคนไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลนาทับ และมีผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาสะสมระดับประเทศ3,772 รายคิดอัตราป่วย 5.77 ต่อแสนประชากร จังหวัดสงขลา พบผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา 2,418 ราย คิดอัตราป่วย 171.62 ต่อแสนประชากร พื้นที่ตำบลนาทับ ในปี 2561 พบมีผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา จำนวน 6 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 45.15 ต่อประชากรแสนคนมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังคงมีการระบาดทุกปีประกอบกับตำบลนาทับเป็นพื้นที่เกษตรกรรม และมีลำคลองหลายสาย ทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทำให้มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาตลอดทั้งปี กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาทับร่วมกับ อสม.ในพื้นที่ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเสมียนในพื้นที่ได้ร่วมกัน เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา มาตั้งแต่ 2559 และดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยกระตุ้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการรณรงค์ป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา จึงได้จัดทำโครงการขยายแกนนำชุมชนขจัดภัยไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา ในพื้นที่ตำบลนาทับ โดย ยึดหลัก มาตรการ 5 ป. 1 ข. โดยให้ประชาชนเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาระบาด ด้วยการกำจัดแหล่งเพราะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เพื่อลดอัตราการป่วย การเสียชีวิตและการเกิดโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาในพื้นที่ตำบลนาทับต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้แกนนำชุมชน อสม. ทีม SRRT ตำบล และประชาชนในเขตรับผิดชอบ มีความรู้เข้าความเข้าใจในการดูแลควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา

1.ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจการป้องกันและควบคุมการเกิดโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา

0.00
2 2. เพื่อลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน/โรงเรียน/ศพด.ในเขตรับผิดชอบ
  1. ค่าอัตราความชุกน้ำยุงลายในโรงเรียน = 0 ค่าอัตราความชุกลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน = เกิน 10%
0.00
3 3. เพื่อสร้างความเข้มแข็งของทีมแกนนำชุมชน อสม. และทีม (SRRT)
  1. ทีมแกนนำชุมชน อสม. และทีม (SRRT) มีความเข้มแข็งในการ ดูแลควบคุมและป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก และโรคชิคุนกุนยา
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 161,000.00 0 0.00
8 พ.ย. 62 1. อบรมแกนนำชุมชน ,อสม. ,ทีม SRRT ตำบล และประชาชนในเขตรับผิดชอบ 1.1 ผู้นำชุมชน(ผญบ.,ผช.ผญบ,ผรส.) 6 หมู่บ้าน จำนวน 54 คน 1.2 อสม. จำนวน 62 คน 1.3 ทีม SRRT ตำบล จำนวน 6 คน 0 17,950.00 -
8 พ.ย. 62 ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในโรงเรียน/ศพด. และในหมู่บ้าน (เฉลี่ย 60 ครั้ง ใช้การประมาณการยอดผู้ป่วยจากปี 2561) 0 125,050.00 -
8 พ.ย. 62 จัดกิจกรรม Big Cleaning Day ทุก 3 เดือน 6 หมู่บ้าน 0 18,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในตำบลเขตรับผิดชอบเกิดความตระหนักในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย
  2. ภาคีเครือข่ายมีความตระหนักและเห็นความสำคัญในการร่วมมือกันควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2562 00:00 น.