กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2562

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง


“ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2562 ”

เทศบาลเมืองกันตัง ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นางสุพรรณนิกา ลีลาสำราญ

ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2562

ที่อยู่ เทศบาลเมืองกันตัง ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 62-L6895-01-12 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 31 ตุลาคม 2561 ถึง 30 สิงหาคม 2562


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2562 จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน เทศบาลเมืองกันตัง ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2562



บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง (2) เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ตรวจคัดกรองพบมีความเสี่ยงได้รับความรู้ในการจัดการสุขภาพหรือการดูแลสุขภาพตนเอง (3) เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรค Metabolic ได้รับการขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยง และผู้ที่สงสัยจะป่วยหรือเป็นโรคได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา (4) เพื่อให้แกนนำสุขภาพในชุมชน มีความรู้และทักษะ สามารถร่วมดำเนินงาน คัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ (2) กิจกรรมรณรงค์ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง (3) กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเชิงรุกในชุมชนแก่กลุ่มเสี่ยง

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...ปัญหา/อุปสรรค (ระบุ) 1. ประชาชนบางส่วนยังไม่เห็นความสำคัญและเกิดความตระหนักของการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
2. ประชาชนบางส่วนทำงานประมง/ออกเรือไม่อยู่ในพื้นที่ช่วงดำเนินการตรวจคัดกรอง
แนวทางการแก้ไข (ระบุ) 1. เพิ่มการประชาสัมพันธ์/ รณรงค์/ ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงประชาสัมพันธ์ทุกช่องทางเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตื่นตัวในการดูแลสุขภาพตระหนักเห็นความสำคัญของการคัดกรอภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
2. พัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพชุมชน ในการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงและช่วยประเมิน/ติดตาม เพื่อป้องกันการเกิดผู้ป่วยรายใหม่

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ภัยเงียบของโรค Metabolic(โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและภาวะอ้วนลงพุง) ได้คุกคามชีวิตของคนไทยจำนวนมากซึ่งเป็นสาเหตุของการป่วย พิการและเสียชีวิต  ตลอดจนเป็นภาระต่องบประมาณด้านการดูแลสุขภาพของคนไทยที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต ดังจะเห็นได้จากสถานบริกาสาธารณสุข
ทั้งของภาครัฐเอกชนและสถานบริการทุกระดับตั้งแต่ปฐมภูมิ ทุติยภูมิและตติยภูมิ ต่างแออัดไปด้วยผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง ส่งผลให้งบประมาณที่รัฐจัดสรรให้ สำหรับโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าตามรายหัวประชากรจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้จ่ายด้านยา บุคลากร การจัดสถานที่ และเครื่องมือแพทย์ต่าง ๆ ในขณะที่งบประมาณของประเทศมีอยู่อย่างจำกัด
การมีมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรค Metabolic โดยมีการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค  โดยมีเป้าหมายเป็นประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ต้องได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ด้วยการวัดความดันโลหิต การชั่งน้ำหนัก วัดความสูงและการวัดเส้นรอบพุง การเจาะน้ำตาลในเลือด เพื่อค้นหาพฤติกรรมเสี่ยงและค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น เพื่อที่จะมีการดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง โดยเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  รวมทั้งกลุ่มที่สงสัยจะเป็นโรคต้องส่งไปรับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรกทุกราย  ในรายที่ป่วยแล้วได้รับการตรวจประเมินภาวะโรคอันจะส่งผลให้ลดความรุนแรงของโรค
ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกันตังจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยงลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่ประชาชนอายุ35ปีขึ้นไปเขตเทศบาลเมืองกันตังขึ้น  เพื่อดำเนินงาน ตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังแก่ประชาชน  พร้อมเจ้าหน้าที่สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพราย บุคคลตามบริบทของแต่ละบุคคลในชุมชนและประชาชนเกิดความตระหนัก ใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเองครอบครัวและชุมชนสามารถจัดการสุขภาพตนเองโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่าเหมาะสมในระดับหนึ่ง

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
  2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ตรวจคัดกรองพบมีความเสี่ยงได้รับความรู้ในการจัดการสุขภาพหรือการดูแลสุขภาพตนเอง
  3. เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรค Metabolic ได้รับการขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยง และผู้ที่สงสัยจะป่วยหรือเป็นโรคได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา
  4. เพื่อให้แกนนำสุขภาพในชุมชน มีความรู้และทักษะ สามารถร่วมดำเนินงาน คัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ
  2. กิจกรรมรณรงค์ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
  3. กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเชิงรุกในชุมชนแก่กลุ่มเสี่ยง

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 3,417
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ร้อยละ 90 ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ และความตระหนักเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันการป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่
  3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการขึ้นทะเบียน เพื่อติดตาม และกลุ่มสงสัยจะป่วยหรือเป็นโรคได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา
  4. แกนนำสุขภาพในชุมชน มีความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นจากการประเมินก่อน-หลังการอบรม สามารถดำเนินงานคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร่วมกับ จนท.

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ

วันที่ 11 มีนาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  • ลงทะเบียน
  • บรรยายเรื่อง บทบาทแกนนำสุขภาพกับการจัดการสุขภาพในชุมชนเรื่องโรคติดต่อไม่เรื้อรัง
  • พักรับประทานอาหารว่าง
  • บรรยายเรื่อง รู้ตน รู้โรค ลดเสี่ยง ลดโรค ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยปิงปองจราจรชีวิต 7 สี
  • พักประทานอาหารกลางวัน
  • แบ่งกลุ่มเข้าฐานเรียนรู้/ประเมินทักษะ   - ฐานที่ 1 การวัดความดันโลหิตที่ถูกวิธีและการแปลผล   - ฐานที่ 2 การเจาะหาน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้วและการแปลผล   - ฐานที่ 3การวัดรอบเอว การคำนวณค่าดัชนีมวลกายและการแปลผล   - ฐานที่ 4 การจำแนกกลุ่มตามความเสี่ยงด้วยปิงปองจราจรชีวิต 7 สี
  • ประเมินความรู้หลังการอบรม/อภิปรายและสรุปผลการเรียนรู้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำสุขภาพในชุมชน  เพื่อร่วมดำเนินงานคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ซึ่งมีแกนนำสุขภาพในชุมชนเข้ารับการอบรมจำนวน 100 คน  เมื่อวันที่  11  มีนาคม  2562  ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง
1. ทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม ซึ่งใช้แบบประเมินความรู้เรื่องการวัดความดันโลหิต-การแปลผล, การตรวจน้ำตาลในเลือด (ปลายนิ้ว)-การแปลผล,ดัชนีมวลกายและการวัดรอบเอว-การแปลผล. 3 อ 2 ส. ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ,ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี (คำถามแบบกากถูกหรือผิดหน้าข้อความ จำนวน 15 ข้อๆละ 1 คะแนน รวมคะแนนเต็ม 15 คะแนน) สามารถสรุปผลการประเมินได้ดังนี้ - ก่อนการอบรม ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน  จำนวน 93 ชุด พบว่าผู้เข้ารับการอบรมได้คะแนนสูงสุดอยู่ที่ 13 คะแนน จำนวน 6 คน ร้อยละ 6.45 , 12 คะแนน จำนวน 12 คนร้อยละ 12.90 , 11 คะแนน จำนวน 8 คน ร้อยละ 16.13 , 10 คะแนน จำนวน 19 คน ร้อยละ 20.43  ,9 คะแนน จำนวน 12 คน  ร้อยละ 12.90, 8 คะแนน จำนวน 18 คน ร้อยละ 19.35  ,7 คะแนน จำนวน 8 คน  ร้อยละ 8.60 และคะแนนต่ำสุดอยู่ที่ 6 คะแนน จำนวน 3 คน จะเห็นได้ว่าก่อนเข้ารับการอบรมผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ได้รับคะแนน 10 คะแนนมากที่สุด ร้อยละ 20.43 รองลงมาคือ 8 คะแนนและ  11 คะแนน  ร้อยละ 19.35 และ 16.13 ตามลำดับ - หลังการอบรม ได้รับแบบประเมินคืน จำนวน 89 ชุด พบว่าผู้เข้ารับการอบรมได้รับคะแนนสูงสุดอยู่ที่ 15 คะแนน  จำนวน 5 คน  ร้อยละ  5.62 รองลงมาคือ 14 คะแนน  จำนวน 10 คน ร้อยละ 11.23, 13 คะแนน จำนวน  19 คน ร้อยละ 21.35  , 12 คะแนน จำนวน  13 คน ร้อยละ 14.61, 11 และ 10 คะแนน จำนวน 12 คน ร้อยละ  13.48 เช่นเดียวกัน 9 คะแนนจำนวน 10 คน ร้อยละ 11.23 และคะแนนต่ำสุดอยูที่ 8 คะแนน จำนวน 8 คน ร้อยละ 8.99 ตามลำดับ 2. ฝึกปฏิบัติโดยจัดเป็นฐานให้ความรู้ 4 ฐานพร้อมทำแบบประเมินทักษะการเข้าฐาน ดังนี้ ฐานที่ 1 การวัดความดันโลหิตที่ถูกวิธีและการแปลผล ฐานที่ 2 การเจาะหาน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้วและการแปลผล ฐานที่ 3การวัดรอบเอว การคำนวณค่าดัชนีมวลกายและการแปลผล  ฐานที่ 4 การจำแนกกลุ่มตามความเสี่ยงด้วยปิงปองจราจรชีวิต 7 สี

 

100 0

2. กิจกรรมรณรงค์ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง

วันที่ 12 มีนาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. ประสานภาคีเครือข่าย เช่น ผู้นำชุมชน อสม. เพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน
  2. จัดทำแผนปฏิบัติงานลงพื้นที่คัดกรองในชุมชน พร้อม ปชส.การคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงผ่านประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย และแผ่นปลิว
  3. ดำเนินการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง  แก่กลุ่มเป้าหมายในชุมชน 12 ชุมชน  คืนข้อมูลสู่ชุมชน พร้อมให้ความรู้/คำปรึกษาแนะนำแก่กลุ่มเป้าหมายในการดูแลสุขภาพรายบุคคล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับแกนนำสุขภาพในชุมชน ปฏิบัติงานคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป สรุปผลดำเนินงานการคัดกรอง ดังนี้
1. โรคความดันโลหิตสูง เป้าหมาย 4,857 คน ได้รับการคัดกรอง 4,410 คน คิดเป็นร้อยละ 90.80 1.1 กลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง เป้าหมาย 1,415 คน ได้รับการคัดกรอง 1,240 คน คิดเป็นร้อยละ 87.63
1.2 ประชากร 35 ปีขึ้นไปที่ไม่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง เป้าหมาย 3,442 คน ได้รับการคัดกรอง 3,170 คน คิดเป็นร้อยละ 92.10 จำแนกเป็นกลุ่มปกติ จำนวน 1,437 คนคิดเป็นร้อยละ 45.33 กลุ่มเสี่ยง 1,598 คน คิดเป็นร้อยละ 50.41 กลุ่มสงสัย 132 คน คิดเป็นร้อยละ 4.16 2. โรคเบาหวาน เป้าหมาย 4,712 คน ได้รับการคัดกรอง 4,278 คน คิดเป็นร้อยละ 90.79
2.1 กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน เป้าหมาย 613 คน ได้รับการคัดกรอง 529 คน คิดเป็นร้อยละ 86.30 2.2 ประชากร 35 ปีขึ้นไปที่ไม่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน เป้าหมาย 4,099 คน ได้รับการคัดกรอง 3,749 คน คิดเป็นร้อยละ 91.46 จำแนกเป็นกลุ่มปกติ จำนวน 3,528 คนคิดเป็นร้อยละ 94.11 กลุ่มเสี่ยง 200 คน คิดเป็นร้อยละ 5.33 กลุ่มสงสัย 17 คน คิดเป็นร้อยละ 0.45

 

3,417 0

3. กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเชิงรุกในชุมชนแก่กลุ่มเสี่ยง

วันที่ 11 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเชิงรุกในชุมชน  12 ชุมชน  แก่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเชิงรุกในชุมชน 12 ชุมชนแก่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน 120 คน  ซึ่งดำเนินการระหว่างวันที่ 11  กรกฎาคม – 22  สิงหาคม 2562  มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมรวมจำนวน  147  คน

 

120 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำสุขภาพในชุมชน เพื่อร่วมดำเนินงานคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ซึ่งมีแกนนำสุขภาพในชุมชนเข้ารับการอบรม จำนวน 100 คน เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2562 ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง ซึ่งมีการดำเนินกิจกรรมดังนี้   1.1 มีการทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม ผลการทดสอบมีดังนี้   ประเมินความรู้ผู้เข้ารับการอบรม ก่อนและหลังการอบรม ซึ่งใช้แบบประเมินความรู้เรื่อง การวัดความดันโลหิต-การแปลผล, การตรวจน้ำตาลในเลือด (ปลายนิ้ว)-การแปลผล, ดัชนีมวลกายและการวัดรอบเอว-การแปลผล , 3 อ. 2 ส. ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ, ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี (คำถามแบบกากบาทถูกหรือผิดหน้าข้อความ จำนวน 15 ข้อๆ ละ 1 คะแนน รวมคะแนนเต็ม 15 คะแนน) สามารถสรุปผลการประเมินได้ ดังนี้   - ก่อนการอบรม ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน จำนวน 93 ชุด พบว่าผู้เข้ารับการอบรมได้รับคะแนนสูงสุดอยู่ที่ 13 คะแนน จำนวน 6 คน คะแนน 12 คะแนน จำนวน 12 คน 11 คะแนน จำนวน 15 คน 10 คะแนน จำนวน 19 คน 9 คะแนน จำนวน 12 คน  8 คะแนน จำนวน 18 คน 7 คะแนน จำนวน 8 คน และคะแนนต่ำสุดอยู่ที่ 6 คะแนน จำนวน 3 คน จะเห็นได้ว่าก่อนการอบรมผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ได้รับคะแนน 10 คะแนนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 20.43  รองลงมาคือ 8 คะแนนและ 11 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 19.35 และ 16.13 ตามลำดับดังตาราง   - หลังการอบรม ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน จำนวน 89 ชุด พบว่าผู้เข้าอบรมได้รับคะแนนสูงสุดอยู่ที่ 15 คะแนน จำนวน 5 คน รองลงมาคือ 14 คะแนน จำนวน 10 คน 13 คะแนน จำนวน  19 คน 12 คะแนน จำนวน 13 คน 11 คะแนน จำนวน 12 คน 10 คะแนนจำนวน 12 คน 9 คะแนน จำนวน 10 คน และคะแนนต่ำสุดอยู่ที่ 8 คะแนน จำนวน 8 คน จะเห็นได้ว่าหลังการอบรมผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ได้รับคะแนน 13 คะแนนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 21.35 รองลงมาคือ 12 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 14.61 ตามลำดับ   1.2 ฝึกปฏิบัติโดยจัดเป็นฐานให้ความรู้ 4 ฐานพร้อมทำแบบประเมินทักษะการเข้าฐาน ดังนี้
        ฐานที่ 1 การวัดความดันโลหิตที่ถูกวิธีและการแปลผล   ฐานที่ 2 การเจาะหาน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้วและการแปลผล   ฐานที่ 3 การวัดรอบเอว การคำนวณค่าดัชนีมวลกายและการแปลผล   ฐานที่ 4 การจำแนกกลุ่มตามความเสี่ยงด้วยปิงปองจราจรชีวิต 7 สี
  2. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับแกนนำสุขภาพในชุมชน ปฏิบัติงานคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง สรุปผลดำเนินงาน ดังนี้ ชุมชนป่ามะพร้าว
    กลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จำนวน 37 คน พบ มีภาวะปกติ จำนวน 23 คน ภาวะเสี่ยงที่มีแนวโน้มอาจป่วยเป็นโรค จำนวน 13 คน ภาวะสงสัยต่อการป่วยเป็นโรค จำนวน  1 คน กลุ่มเป้าหมายที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จำนวน 13 คน พบ มีความสามารถคุมโรคได้ดี จำนวน 6 คน มีความสามารถคุมโรคได้ไม่ดีดีต้องเฝ้าระวัง จำนวน 5 คน มีภาวะอันตรายต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค จำนวน 1 คน มีภาวะวิกฤตเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงของโรคมาก จำนวน 1 คน ชุมชนป่าไม้
    กลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จำนวน 53 คน พบ มีภาวะปกติ จำนวน 46 คน ภาวะเสี่ยงที่มีแนวโน้มอาจป่วยเป็นโรค จำนวน 4 คน ภาวะสงสัยต่อการป่วยเป็นโรค จำนวน 3 คน กลุ่มเป้าหมายที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จำนวน 8 คน พบ มีความสามารถคุมโรคได้ดี จำนวน 8 คน มีความสามารถคุมโรคได้ไม่ดีดีต้องเฝ้าระวัง จำนวน 6 คน มีภาวะอันตรายต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค จำนวน 3 คน มีภาวะวิกฤตเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงของโรคมาก จำนวน ๑ คน ชุมชนโรงพยาบาลกันตัง
    กลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จำนวน 51 คน พบ มีภาวะปกติ จำนวน 31 คน ภาวะเสี่ยงที่มีแนวโน้มอาจป่วยเป็นโรค จำนวน 19 คน ภาวะสงสัยต่อการป่วยเป็นโรค จำนวน 1 คน กลุ่มเป้าหมายที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จำนวน 14 คน พบ มีความสามารถคุมโรคได้ดี จำนวน 2 คน มีความสามารถคุมโรคได้ไม่ดีดีต้องเฝ้าระวัง จำนวน 10 คน มีภาวะอันตรายต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค จำนวน 2 คน มีภาวะวิกฤตเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงของโรคมาก จำนวน - คน ชุมชนหลาโป
    กลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จำนวน 38 คน พบ มีภาวะปกติ จำนวน 25 คน ภาวะเสี่ยงที่มีแนวโน้มอาจป่วยเป็นโรค จำนวน 11 คน ภาวะสงสัยต่อการป่วยเป็นโรค จำนวน 2 คน กลุ่มเป้าหมายที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จำนวน 9 คน พบ มีความสามารถคุมโรคได้ดี จำนวน 4 คน มีความสามารถคุมโรคได้ไม่ดีดีต้องเฝ้าระวัง จำนวน 5 คน มีภาวะอันตรายต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค จำนวน - คน มีภาวะวิกฤตเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงของโรคมาก จำนวน - คน ชุมชนหน้าค่าย
    กลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จำนวน 50 คน พบ มีภาวะปกติ จำนวน 37 คน ภาวะเสี่ยงที่มีแนวโน้มอาจป่วยเป็นโรค จำนวน 11 คน ภาวะสงสัยต่อการป่วยเป็นโรค จำนวน 2 คน กลุ่มเป้าหมายที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จำนวน 15 คน พบ มีความสามารถคุมโรคได้ดี จำนวน 8 คน มีความสามารถคุมโรคได้ไม่ดีดีต้องเฝ้าระวัง จำนวน 6 คน มีภาวะอันตรายต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค จำนวน 1 คน มีภาวะวิกฤตเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงของโรคมาก จำนวน - คน ชุมชนชุมสายโทรศัพท์
    กลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จำนวน 48 คน พบ มีภาวะปกติ จำนวน 25 คน ภาวะเสี่ยงที่มีแนวโน้มอาจป่วยเป็นโรค จำนวน 20 คน ภาวะสงสัยต่อการป่วยเป็นโรค จำนวน 3 คน กลุ่มเป้าหมายที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จำนวน 14 คน พบ มีความสามารถคุมโรคได้ดี จำนวน 5 คน มีความสามารถคุมโรคได้ไม่ดีดีต้องเฝ้าระวัง จำนวน 6 คน มีภาวะอันตรายต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค จำนวน 3 คน มีภาวะวิกฤตเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงของโรคมาก จำนวน - คน ชุมชนหลังโรงเรียนคลองภาษี
    กลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จำนวน 16 คน พบ มีภาวะปกติ จำนวน 14 คน ภาวะเสี่ยงที่มีแนวโน้มอาจป่วยเป็นโรค จำนวน 2 คน ภาวะสงสัยต่อการป่วยเป็นโรค จำนวน - คน กลุ่มเป้าหมายที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จำนวน 11 คน พบ มีความสามารถคุมโรคได้ดี จำนวน 4 คน มีความสามารถคุมโรคได้ไม่ดีดีต้องเฝ้าระวัง จำนวน 7 คน มีภาวะอันตรายต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค จำนวน - คน มีภาวะวิกฤตเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงของโรคมาก จำนวน - คน ชุมชนในทอน
    กลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จำนวน 25 คน พบ มีภาวะปกติ จำนวน 17 คน ภาวะเสี่ยงที่มีแนวโน้มอาจป่วยเป็นโรค จำนวน 7 คน ภาวะสงสัยต่อการป่วยเป็นโรค จำนวน 1 คน กลุ่มเป้าหมายที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จำนวน 12 คน พบ มีความสามารถคุมโรคได้ดี จำนวน 4 คน มีความสามารถคุมโรคได้ไม่ดีดีต้องเฝ้าระวัง จำนวน 6 คน มีภาวะอันตรายต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค จำนวน 1 คน มีภาวะวิกฤตเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงของโรคมาก จำนวน 1 คน ชุมชนหลังสโมสรเก่า
    กลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จำนวน 49 คน พบ มีภาวะปกติ จำนวน 24 คน ภาวะเสี่ยงที่มีแนวโน้มอาจป่วยเป็นโรค จำนวน 17 คน ภาวะสงสัยต่อการป่วยเป็นโรค จำนวน 8 คน กลุ่มเป้าหมายที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จำนวน 21 คน พบ มีความสามารถคุมโรคได้ดี จำนวน 11 คน มีความสามารถคุมโรคได้ไม่ดีดีต้องเฝ้าระวัง จำนวน 5 คน มีภาวะอันตรายต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค จำนวน 5 คน มีภาวะวิกฤตเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงของโรคมาก จำนวน 0 คน ชุมชนตลาดใต้
    กลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จำนวน 31 คน พบ มีภาวะปกติ จำนวน 20 คน ภาวะเสี่ยงที่มีแนวโน้มอาจป่วยเป็นโรค จำนวน 10 คน ภาวะสงสัยต่อการป่วยเป็นโรค จำนวน 1 คน กลุ่มเป้าหมายที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จำนวน 11 คน พบ มีความสามารถคุมโรคได้ดี จำนวน 7 คน มีความสามารถคุมโรคได้ไม่ดีดีต้องเฝ้าระวัง จำนวน 4 คน มีภาวะอันตรายต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค จำนวน 0 คน ชุมชนตรอกลิเก กลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จำนวน 32 คน พบ มีภาวะปกติ จำนวน 17 คน ภาวะเสี่ยงที่มีแนวโน้มอาจป่วยเป็นโรค จำนวน 11 คน ภาวะสงสัยต่อการป่วยเป็นโรค จำนวน 4 คน กลุ่มเป้าหมายที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จำนวน 29 คน พบ มีความสามารถคุมโรคได้ดี จำนวน 11 คน มีความสามารถคุมโรคได้ไม่ดีดีต้องเฝ้าระวัง จำนวน 15 คน มีภาวะอันตรายต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค จำนวน 3 คน ชุมชนกิตติคุณ กลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จำนวน 33 คน พบ มีภาวะปกติ จำนวน 20 คน ภาวะเสี่ยงที่มีแนวโน้มอาจป่วยเป็นโรค จำนวน 13 คน ภาวะสงสัยต่อการป่วยเป็นโรค จำนวน 0 คน กลุ่มเป้าหมายที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จำนวน 15 คน พบ มีความสามารถคุมโรคได้ดี จำนวน 7 คน มีความสามารถคุมโรคได้ไม่ดีดีต้องเฝ้าระวัง จำนวน 5 คน มีภาวะอันตรายต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค จำนวน 3 คน
    1. กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเชิงรุกในชุมชน 12 ชุมชนแก่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน 120 คน ซึ่งดำเนินการระหว่างวันที่ 11 กรกฎาคม – 22 สิงหาคม 2562 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมรวมจำนวน 147 คน ในรายที่พบภาวะเสี่ยงได้ให้สุขศึกษาเรื่อง 3 อ. 2 ส. ในการดูแลตนเองป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง/หลอดเลือดสมองและหัวใจ พร้อมนัดคัดกรองโรคซ้ำหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 เดือน
      ในรายที่สงสัย ได้ให้สุขศึกษาเรื่อง 3 อ. 2 ส.  ในการดูแลตนเองป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง/หลอดเลือดสมองและหัวใจ และติดตามวัดความดันโลหิตซ้ำ 14 วัน  โดยประสานแกนนำ สุขภาพ ในการดำเนินการ พร้อมส่งข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ประเมิน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและนัดพบประเมินอีก 3 เดือน ถ้าพบผิดปกติจะได้ส่งต่อเพื่อไปรับการตรวจวินิจฉัยที่โรงพยาบาลกันตัง
      ในรายที่พบภาวะน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ สงสัยป่วยเป็นโรคเบาหวาน  ได้ให้สุขศึกษาเรื่อง
      3 อ. 2 ส. ในการดูแลตนเองป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน พร้อมนัดติดตามเจาะน้ำตาลในเลือดซ้ำศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง พบผิดปกติ 2 ราย ได้ส่งต่อเพื่อไปรับการตรวจวินิจฉัยที่โรงพยาบาลกันตัง 2 ราย
      ในกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้เข้าร่วมคัดกรองเจ้าหน้าที่ จะดำเนินการต่อไปจนถึงเดือนธันวาคม 2562 และได้ประสานแกนนำสุขภาพในชุมชนคัดกรองในพื้นที่ที่รับผิดชอบเพื่อหากลุ่มเสี่ยงและสงสัย เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการเกิดโรค  และผู้ที่สงสัยว่าป่วยเข้ารับการตรวจวินิจฉัยต่อไป
  3. บันทึกข้อมูลการคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ลงโปรแกรมระบบฐานข้อมูลสถานีอนามัย ( HOSXp_PCU ) สรุปผลการดำเนินงานคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562 มีดังนี้
    • โรคความดันโลหิตสูง ได้รับการคัดกรอง 4410 คน ร้อยละ 90.80 แยกเป็นกลุ่มป่วยได้รับการคัดกรอง 1,240 คน คิดเป็นร้อยละ 87.63/ประชากร 35 ปีขึ้นไปที่ไม่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ได้รับดการคัดกรอง จำนวน 3,170 คน ร้อยละ 92.10
    • โรคเบาหวาน ได้รับการคัดกรองจำนวน 4,278 คน ร้อยละ 90.79 แยกเป็นกลุ่มป่วยได้รับการคัดกรอง  529 คน คิดเป็นร้อยละ 86.30/ประชากร 35 ปีขึ้นไปที่ไม่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ได้รับดการคัดกรอง จำนวน 3,749 คน ร้อยละ 91.46 ที่มา : http://www.tro.moph.go.th/chronic
  4. สรุปค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการ จำนวน 30,400 บาท รายะเอียดดังนี้ 4.1 กิจกรรมอบรม เป็นเงิน 25,032 บาท ดังนี้   - ค่าวิทยากรบรรยายและเข้าฐานความรู้ เป็นเงิน 9,000 บาท   - ค่าอาหารกลางวัน  เป็นเงิน 7,000 บาท   - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  เป็นเงิน 6,000 บาท   - ค่าเอกสารประกอบการอบรมและเอกสารอื่นๆ เป็นเงิน  680 บาท   - ค่าวัสดุอุปกรณ์ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน 2,052 บาท   - ค่าป้ายโครงการ เป็นเงิน  300  บาท 4.2 กิจกรรมรณรงค์ตรวจคัดกรองฯ  เป็นเงิน 1,528 บาท ดังนี้   - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ เป็นเงิน  300 บาท   - ค่าเอกสารแบบคัดกรอง เป็นเงิน  128 บาท   - ค่าวัสดุทางการแพทย์  เป็นเงิน  1,100 บาท 4.3 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯ เป็นเงิน 3,840 บาท ดังนี้   - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชุมชน  เป็นเงิน  3,600 บาท
      - ค่าเอกสารแบบประเมินความรู้และพฤติกรรม  เป็นเงิน  240 บาท

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 ของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
0.00

 

2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ตรวจคัดกรองพบมีความเสี่ยงได้รับความรู้ในการจัดการสุขภาพหรือการดูแลสุขภาพตนเอง
ตัวชี้วัด :
0.00

 

3 เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรค Metabolic ได้รับการขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยง และผู้ที่สงสัยจะป่วยหรือเป็นโรคได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา
ตัวชี้วัด :
0.00

 

4 เพื่อให้แกนนำสุขภาพในชุมชน มีความรู้และทักษะ สามารถร่วมดำเนินงาน คัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
ตัวชี้วัด :
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 3417 4410
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 3,417 4,410
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง (2) เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ตรวจคัดกรองพบมีความเสี่ยงได้รับความรู้ในการจัดการสุขภาพหรือการดูแลสุขภาพตนเอง (3) เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรค Metabolic ได้รับการขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยง และผู้ที่สงสัยจะป่วยหรือเป็นโรคได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา (4) เพื่อให้แกนนำสุขภาพในชุมชน มีความรู้และทักษะ สามารถร่วมดำเนินงาน คัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ (2) กิจกรรมรณรงค์ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง (3) กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเชิงรุกในชุมชนแก่กลุ่มเสี่ยง

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...ปัญหา/อุปสรรค (ระบุ) 1. ประชาชนบางส่วนยังไม่เห็นความสำคัญและเกิดความตระหนักของการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
2. ประชาชนบางส่วนทำงานประมง/ออกเรือไม่อยู่ในพื้นที่ช่วงดำเนินการตรวจคัดกรอง
แนวทางการแก้ไข (ระบุ) 1. เพิ่มการประชาสัมพันธ์/ รณรงค์/ ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงประชาสัมพันธ์ทุกช่องทางเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตื่นตัวในการดูแลสุขภาพตระหนักเห็นความสำคัญของการคัดกรอภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
2. พัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพชุมชน ในการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงและช่วยประเมิน/ติดตาม เพื่อป้องกันการเกิดผู้ป่วยรายใหม่

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2562 จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 62-L6895-01-12

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสุพรรณนิกา ลีลาสำราญ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด