กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงในเขต ส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายยืดเหยียดร่างกายแบบโยคะพื้นฐาน  อันจะลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค Metabolic เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน  โรคอ้วนลงพุง เป็นต้น อีกทั้งเป็นสร้างเครือข่ายด้านสุขภาพในพื้นที่ร่วมด้วย ซึ่งมีประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงเข้ารับการอบรม จำนวน 80 คน  เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2562 ณ อาคารคอซิมบี๊  เทศบาลเมืองกันตัง
  2. การประเมินความพึงพอใจการดำเนินงานโครงการ ผู้เข้าร่วมประชุมตอบกลับใบประเมินความพึงพอใจ จำนวน 80 คน สามารถสรุปผลได้ดังนี้
    1). เพศ ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 76 คน คิดเป็นร้อยละ 95 2). อายุ ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 51-60 ปี 28 คน คิดเป็นร้อยละ 35 รองลงมาเป็นช่วงอายุ 41-50 ปี 18 คน คิดเป็นร้อยละ 22.5 อายุมากกว่า 60 ปี 16 คนคิดเป็นร้อยละ 20 อายุ 31-40 ปี 11 คน คิดเป็นร้อยละ 13.75 อายุ 20-30 ปี 5 คน คิดเป็นร้อยละ 6.25 และต่ำกว่า 20 ปี 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2.5 ตามลำดับ 3). การศึกษา ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยม 25 คนคิดเป็นร้อยละ 31.25 รองลงมาเป็นระดับประถมศึกษา 24 คน คิดเป็นร้อยละ 30 ระดับปริญญาตรี 21 คน คิดเป็นร้อยละ 26.25ระดับอนุปริญญา 9 คน คิดเป็นร้อยละ 11.25 และสูงกว่าปริญญาตรี 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.25 ตามลำดับ 4). อาชีพ ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่จำนวน 36 คนมีอาชีพค้าขาย คิดเป็นร้อยละ 45 รองลงมาอาชีพรับจ้าง 25 คน คิดเป็นร้อยละ 31.25 อาชีพข้าราชการบำนาญ 7 คน คิดเป็นร้อยละ 8.75 อาชีพเกษตร5 คน คิดเป็นร้อยละ 6.25 อาชีพอื่นๆ 4 คน คิดเป็นร้อยละ 5 และอาชีพ น.ร./นศ. 3 คนคิดเป็นร้อยละ 3.75 ตามลำดับ 5). ระดับความพึงพอใจในภาพรวมของการจัดกิจกรรมโครงการ
    5.1) ความรู้ความเข้าใจก่อนการฝึกอบรม อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 37.5
    5.2) ความรู้ความเข้าใจหลังการฝึกอบรม อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 67.5 5.3) เรียนรู้หลักการออกกำลังกายที่ถูกต้อง อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 50 5.4) สร้างเครือข่ายด้านสุขภาพ อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 60 5.5) รูปแบบและวิธีการจัดฝึกอบรมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 62.5
      รองลงมาอยู่ในระดับมากที่สุด ปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 30 และ 7.5 ตามลำดับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ควรจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายทุกปีเพื่อสร้างกระแสการออกกำลังกายให้ตื่นตัวมากขึ้น และต้องการให้มีวิทยากรผู้นำออกกำลังกายมาสอนเป็นประจำและต่อยอดไปในท่าโยคะอื่นๆ  บางคนเสนอแนะการออกกำลังกายแบบไทเก๊กในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป
  3. สรุปค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานกิจกรรมอบรมตามโครงการดังกล่าว เป็นเงิน  16,700.- บาท ดังรายละเอียดนี้   - ค่าสมนาคุณวิทยากร เป็นเงิน 4,200  บาท   - ค่าอาหารกลางวัน  เป็นเงิน 5,600  บาท   - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  เป็นเงิน 4,800  บาท   - ค่าวัสดุอุปกรณ์/อื่นๆที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน  968  บาท   - ค่าป้ายโครงการ เป็นเงิน  300  บาท   - ค่าเอกสารประกอบการอบรมและถ่ายเอกสารอื่นๆ เป็นเงิน  832  บาท

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจถึงหลักการออกกำลังกายที่ถูกต้อง ป้องกันอันตราย และบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้น
ตัวชี้วัด :
0.00

 

2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเกิดการรวมกลุ่มออกกำลังกาย ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อไม่เรื้อรัง
ตัวชี้วัด :
0.00

 

3 เพื่อสร้างเครือข่ายด้านสุขภาพในพื้นที่
ตัวชี้วัด :
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 80 80
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจถึงหลักการออกกำลังกายที่ถูกต้อง ป้องกันอันตราย และบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้น (2) เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเกิดการรวมกลุ่มออกกำลังกาย ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (3) เพื่อสร้างเครือข่ายด้านสุขภาพในพื้นที่

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh