กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสมองดีเริ่มที่ไอโอดีน สุขภาพดีเริ่มที่อาหารปลอดภัย ชุมชนแคห่วงใย สร้างคนไทยสุขภาพดี ประจำปี 2562
รหัสโครงการ 62-L5177-02-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนางานสาธารณสุขมูลฐานของหมู่บ้านแคใต้ (งานกลุ่มคุ้มครองผู้บริโภค)
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 22,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสิตีอามีเด๊าะ สาแหม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2561 30 ก.ย. 2562 22,200.00
รวมงบประมาณ 22,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 8 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่รับรู้ถึงความสำคัญของสารไอโอดีนที่บริโภคในครัวเรือน
10.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคขาดสารไอโอดีนเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศ การที่ประชาชนขาดสารไอโอดีนจะบั่นทอนคุณภาพชีวิตโดยรวมซึ่งมีผลต่อการพัฒนาศักยภาพประเทศอย่างยิ่ง นอกจากนั้นผู้ที่ได้รับสารไอโอดีนไม่เพียงพอ นอกจากจะมีอาการของโรคคอพอกแล้วยังมีผลทำให้ร่างกายและสมองเติบโตด้อยลง รูปร่างเตี้ย แคระแกรน ความฉลาดทางสติปัญญาด้อยกว่าปกติ ถ้าหญิงตั้งครรภ์ขาดสารไอโอดีน ลูกที่คบอดมามีโอกาสปัญญาอ่อน เป็นใบ้ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้หรือที่เรียกว่าโรคเอ๋อ ในการแก้ปัญหาการขาดสารไอโอดีน กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินโครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2508 โดยการส่งเสริมการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนหรือเกลืออนามัย การบริโภคน้ำดื่มเสริมไอโอดีนในครัวเรือนและในโรงเรียน การบริโภคน้ำปลาเสริมไอโอดีนและในพื้นที่ที่มีอัตราผู้ป่วยด้วยโรคขาดสารไอโอดีนสูงจะให้รับประทานยาเม็ดเสริม ถึงกระนั่นปัญหาการขาดสารไอโอดีนยังไม่ลดลงเท่าที่ควร ดังจะเห็นได้จากการสำรวจขาดสารไอโอดีนในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ เมื่อพ.ศ. 2543-2547 พบความชุกของการขาดสารไอโอดีนร้อยละ 34.5,45.0,47.0และ49.5 ตามลำดับ และยังพบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคเดียวที่มีค่ามัธยฐานไอโอดีนในปัสสาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (ร้อยละ 10) ปัจจุบันพบว่า ประชาชนไทยในทุกภาคของประเทศยังประสบปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนระดับความรุนแรงต่างๆและปัญหาดังกล่าวไม่อาจขจัดให้หมดไปได้ ต้องมีการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันตลอดเวลา เพราะหากประชาชนไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการบริโภคอาหารที่มีสารไอโอดีนให้เพียงพอ
และปัญหาสำคัญที่มีผลต่อสุขภาพของคนไทยคือปัญหาการบริโภคอาหารไม่ปลอดภัย ปัจจุบันอาหารที่มีวางจำหน่ายในตลาดมักมีสารเคมีและวัตถุที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเป็นจำนวนมาก ซึ่งประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดาย ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อประชาชนในพื้นที่ กลุ่มคุ้มครองผู้บริโภคบ้านแคใต้ ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแค ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลแค และองค์การบริหารส่วนตำบลแค ได้เล็งเห็นความสำคัญในการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน โดยเฉพาะกลุ่มประชากร 3 กลุ่มหลัก คือหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มเด็ก 0-5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและกลุ่มเด็กนักเรียนชั้นประถม 1-6 อายุ 6-12 ปี เพื่อเป็นการควบคุมป้องกันการขาดสารไอโอดีนในกลุ่มดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง และต้องการให้ประชาชนมีความรู้เรื่องการเลือกซื้ออาหาร การเลือกซื้อยา มีการใช้อย่างสมเหตุผล จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มความตระหนักรู้ของประชาชนถึงความสำคัญของสารไอโอดีนที่บริโภคในครัวเรือน

ประชาชนในพื้นที่มีความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสารไอโอดีนที่บริโภคในครัวเรือนมากขึ้น

10.00 20.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 106 22,200.00 3 22,200.00
6 พ.ค. 62 ประชุมชี้แจงโครงการ 20 9,000.00 9,000.00
30 ส.ค. 62 จัดอบรมให้นักเรียนกิจกรรมอย.น้อย รุ่นที่1 40 5,800.00 5,800.00
2 ก.ย. 62 จัดอบรมให้ความรู้แก่อสม.ครูพี่เลี้ยงศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและหญิงมีครรภ์ รุ่นที่ 2 46 7,400.00 7,400.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ทุกโรงเรียนในเขตรับผิดชอบได้มีการแนะนำการใช้เกลือเสริมไอโอดีนปรุงอาหารกลางวันเป็นประจำ 2.เกิดเครือข่ายอย.น้อยในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน 3.นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของสรไอโอดีน 4.หญิงมีครรภ์ในเขตรับผิดชอบได้รับสารไอโอดีนเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย 5.อัตราโรคคอพอกในเด็กประถมศึกษาไม่เกินร้อยละ 0.5 6.อสม.และแกนนำสุขภาพมีความรู้เรื่องโรคขาดสารไอโอดีนและงานคุ้มครองผู้บริโภค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2562 09:44 น.