กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสมองดีเริ่มที่ไอโอดีน สุขภาพดีเริ่มที่อาหารปลอดภัย ชุมชนแคห่วงใย สร้างคนไทยสุขภาพดี ประจำปี 2562

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แค

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสมองดีเริ่มที่ไอโอดีน สุขภาพดีเริ่มที่อาหารปลอดภัย ชุมชนแคห่วงใย สร้างคนไทยสุขภาพดี ประจำปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แค

ศูนย์พัฒนางานสาธารณสุขมูลฐานของหมู่บ้านแคใต้ (งานกลุ่มคุ้มครองผู้บริโภค)

1.นางสิตีอามีเด๊าะ สาแหม
2.นางหลีหม๊ะ หวังหะ
3.นางมุริฝ๊ะ หมาดวัง
4.นางส.อ. บูสอ
5.นางอามิเน๊าะ หมัดเล๊าะ

หมู่บ้านในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.แค 5 หมู่บ้าน (รวมถึงศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดคูแค โรงเรียนบ้านแค โรงเรียนบ้านทุ่งครก โรงเรียนดำรงศาสตร์วิทยา)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่รับรู้ถึงความสำคัญของสารไอโอดีนที่บริโภคในครัวเรือน

 

10.00

โรคขาดสารไอโอดีนเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศ การที่ประชาชนขาดสารไอโอดีนจะบั่นทอนคุณภาพชีวิตโดยรวมซึ่งมีผลต่อการพัฒนาศักยภาพประเทศอย่างยิ่ง นอกจากนั้นผู้ที่ได้รับสารไอโอดีนไม่เพียงพอ นอกจากจะมีอาการของโรคคอพอกแล้วยังมีผลทำให้ร่างกายและสมองเติบโตด้อยลง รูปร่างเตี้ย แคระแกรน ความฉลาดทางสติปัญญาด้อยกว่าปกติ ถ้าหญิงตั้งครรภ์ขาดสารไอโอดีน ลูกที่คบอดมามีโอกาสปัญญาอ่อน เป็นใบ้ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้หรือที่เรียกว่าโรคเอ๋อ
ในการแก้ปัญหาการขาดสารไอโอดีน กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินโครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2508 โดยการส่งเสริมการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนหรือเกลืออนามัย การบริโภคน้ำดื่มเสริมไอโอดีนในครัวเรือนและในโรงเรียน การบริโภคน้ำปลาเสริมไอโอดีนและในพื้นที่ที่มีอัตราผู้ป่วยด้วยโรคขาดสารไอโอดีนสูงจะให้รับประทานยาเม็ดเสริม ถึงกระนั่นปัญหาการขาดสารไอโอดีนยังไม่ลดลงเท่าที่ควร ดังจะเห็นได้จากการสำรวจขาดสารไอโอดีนในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ เมื่อพ.ศ. 2543-2547 พบความชุกของการขาดสารไอโอดีนร้อยละ 34.5,45.0,47.0และ49.5 ตามลำดับ และยังพบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคเดียวที่มีค่ามัธยฐานไอโอดีนในปัสสาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (ร้อยละ 10)
ปัจจุบันพบว่า ประชาชนไทยในทุกภาคของประเทศยังประสบปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนระดับความรุนแรงต่างๆและปัญหาดังกล่าวไม่อาจขจัดให้หมดไปได้ ต้องมีการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันตลอดเวลา เพราะหากประชาชนไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการบริโภคอาหารที่มีสารไอโอดีนให้เพียงพอ
และปัญหาสำคัญที่มีผลต่อสุขภาพของคนไทยคือปัญหาการบริโภคอาหารไม่ปลอดภัย ปัจจุบันอาหารที่มีวางจำหน่ายในตลาดมักมีสารเคมีและวัตถุที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเป็นจำนวนมาก ซึ่งประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดาย ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อประชาชนในพื้นที่
กลุ่มคุ้มครองผู้บริโภคบ้านแคใต้ ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแค ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลแค และองค์การบริหารส่วนตำบลแค ได้เล็งเห็นความสำคัญในการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน โดยเฉพาะกลุ่มประชากร 3 กลุ่มหลัก คือหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มเด็ก 0-5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและกลุ่มเด็กนักเรียนชั้นประถม 1-6 อายุ 6-12 ปี เพื่อเป็นการควบคุมป้องกันการขาดสารไอโอดีนในกลุ่มดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง และต้องการให้ประชาชนมีความรู้เรื่องการเลือกซื้ออาหาร การเลือกซื้อยา มีการใช้อย่างสมเหตุผล จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มความตระหนักรู้ของประชาชนถึงความสำคัญของสารไอโอดีนที่บริโภคในครัวเรือน

ประชาชนในพื้นที่มีความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสารไอโอดีนที่บริโภคในครัวเรือนมากขึ้น

10.00 20.00

1.ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของรพ.สต.แค อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ได้รับไอโอดีนปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
2.เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ โดยชุมชน เพื่อชุมชน
3.เพื่อให้ประชาชนตำบลแคได้รับการบริโภคอาหารปลอดภัย
4.เกิดเครือข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 8
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครูผู้แลเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดคูแค 1
อสม.เขตรับผิดชอบ รพ.สต.แค 37

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้นักเรียนกิจกรรมอย.น้อย รุ่นที่1

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้นักเรียนกิจกรรมอย.น้อย รุ่นที่1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้แก่เด็กนักเรียนกิจกรรม อย.น้อย จำนวน 30 คน โดยให้ความรู้เรื่องงานคุ้มครองผู้บริโภค การเลือกซื้ออาหาร การดูฉลากสินค้า การให้ความรู้เรื่องสารไอโอดีน การทดสอบเกลือเพื่อดูปริมาณไอโอดีน โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน คนละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน คนละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท 3.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชม. ชม.ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 4.ค่าอาหารกลางวันคณะทำงานและวิทยากร จำนวน 10 คน คนละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 500 บาท 5.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มคณะทำงานและวิทยากร จำนวน 10 คน คนละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 500 บาท รวมเป็นเงิน 5,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ทุกโรงเรียนในเขตรับผิดชอบได้มีการแนะนำการใช้เกลือเสริมไอโอดีนปรุงอาหารกลางวันเป็นประจำ 2.เกิดเครือข่ายอย.น้อยในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน 3.นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของสรไอโอดีน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5800.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้แก่อสม.ครูพี่เลี้ยงศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและหญิงมีครรภ์ รุ่นที่ 2

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้แก่อสม.ครูพี่เลี้ยงศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและหญิงมีครรภ์ รุ่นที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มอสม. จำนวน 37 คน ครูศพด.มัสยิดคูแค จำนวน 1 คน หญิงมีครรภ์ จำนวน 8 คน รวมทั้งสิ้น 46 คน โดยให้ความรู้เรื่องงานคุ้มครองผู้บริโภค การเลือกซื้ออาหาร การดูฉลากสินค้า การให้ความรู้เรื่องสารไอโอดีน การทดสอบเกลือเพื่อดูปริมาณไอโอดีน โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 46 คน คนละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,300 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 46 คน คนละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 2,300 บาท 3.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชม. ชม.ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 4.ค่าอาหารกลางวันคณะทำงานและวิทยากร จำนวน 10 คน คนละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 500 บาท 5.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มคณะทำงานและวิทยากร จำนวน 10 คน คนละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 500 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 7,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.หญิงมีครรภ์ในเขตรับผิดชอบได้รับสารไอโอดีนเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย 2.อัตราโรคคอพอกในเด็กประถมศึกษาไม่เกินร้อยละ 0.5 3.อสม.และแกนนำสุขภาพมีความรู้เรื่องโรคขาดสารไอโอดีนและงานคุ้มครองผู้บริโภค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7400.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมชี้แจงโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงและประชาสัมพันธ์โครงการ เพื่อดำเนินการจัดกิจกรรมตามโครงการ จำนวน 25 คน โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน คนละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท 2.ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 500 บาท 3.ค่าจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์โรคไอโอดีนและงานคุ้มครองผู้บริโภค เป็นเงิน 5,000 บาท 4.ค่าวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ เป็นเงิน 3,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เจ้าหน้าที่สามารถเข้าใจและดำเนินการตามโครงการได้ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ทุกโรงเรียนในเขตรับผิดชอบได้มีการแนะนำการใช้เกลือเสริมไอโอดีนปรุงอาหารกลางวันเป็นประจำ
2.เกิดเครือข่ายอย.น้อยในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน
3.นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของสรไอโอดีน
4.หญิงมีครรภ์ในเขตรับผิดชอบได้รับสารไอโอดีนเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
5.อัตราโรคคอพอกในเด็กประถมศึกษาไม่เกินร้อยละ 0.5
6.อสม.และแกนนำสุขภาพมีความรู้เรื่องโรคขาดสารไอโอดีนและงานคุ้มครองผู้บริโภค


>