กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคุ้มครองผู้บริโภคสำหรับผู้ประกอบกิจการด้านอาหาร
รหัสโครงการ 62-L8300-2-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลแว้ง
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 กันยายน 2562 - 4 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 4 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 9,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะสูยี มามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.936,101.835place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขาภิบาลอาหาร (Food Sanitation) หมายถึง การบริหารจัดการและควบคุมสิ่งแวดล้อมรวมทั้งบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมอาหารเพื่อทำให้อาหารสะอาด ปลอดภัย ปราศจากเชื้อโรค หนอน พยาธิ และสารเคมีต่างๆที่เป็นอันตราย หรืออาจเป็นอันตรายต่อการเจริญของร่างกาย สุขภาพอนามัยและการดำรงชีวิตของผู้บริโภค การบริโภคอาหารที่ถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร จึงไม่หมายความเพียงแต่บริโภคเข้าไปแล้วไม่เกิดโรคและโทษในระยะเวลาปัจจุบันเท่านั้น ยังหมายถึงจะต้องไม่มีพิษภัยที่เป็นโทษหรือก่อให้เกิดโรคในระยะยาวหรือในอนาคตอีกด้วย
      ดังนั้นชมรม อสม.ตำบลแว้งจึงเห็นควรมีการจัดการและควบคุมอาหารให้สะอาด ปลอดภัย ทำได้โดยการจัดการและควบคุมปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้อาหารไม่สะอาดปลอดภัยต่อการบริโภค การควบคุมปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมปรุงประกอบการบริการอาหารมีปัจจัยคือ ผู้สัมผัสอาหาร อาหาร ภาชนะ สถานที่ สัตว์แมลงนำโรค เมื่อมีการควบคุมต้นเหตุแล้วทำให้ประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแว้งจะได้บริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัยต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อให้ประชาชนทราบถึงปัญหาสถานการณ์ด้านความไม่สะอาดของสถานประกอบกิจการด้านอาหาร

1.มีกล่องรับความคิดเห็น แจ้งช่องทางการร้องเรียน 2.รวบรวมข้อมูลจากช่องทางต่างๆและมีผู้มีส่วนได้เสียรายงานเฝ้าระวังสรุปรายงานการรับรอง 3.วิเคราะห์ปัญหาด้านสุขาภิบาลอาหารและข้อเสนอแนะตามกลุ่มเป้าหมายต่างๆคัดเลือกวิธีการและสื่อบุคคล

0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารในท้องถิ่นมีความตระหนักและระมัดระวังในการปรุงประกอบอาหารเพื่อจำหน่าย

1.เจ้าของกิจการประกอบอาหารมีความรู้ทางด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 2. เครื่องมือที่เก็บตัวอย่างได้ตรงตามประเด็น ใช้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ประหยัด 3.ประชากรเป้าหมายประเด็นที่เฝ้าระวังชัดเจน

0.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินการพัฒนาด้านสุขาภิบาลอาหารในท้องถิ่น

1.ภาคีเครือข่ายผู้ประกอบกิจการ อสม. เจ้าหน้าที่ ประชาชน 2.คำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบงานสุขาภิบาลอาหารในท้องถิ่น 3.ประเด็นการสื่อสารระหว่างผู้ประกอบกิจการอาหารกับประชาชนผู้รับบริการ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 9,900.00 1 9,900.00
4 ก.ย. 62 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง คณะครู และเด็กๆเรื่องการเรียนรู้ชนิดของขยะ และสีของถังขยะแต่ละชนิดและให้เด็กและผู้ปกครองลงมือปฎิบัติพร้อมประเมินผลการคัดแยกขยะของเด็กก่อนและหลัง 50 9,900.00 9,900.00

1.กำหนดผู้รับผิดชอบหลัก คือ อสม.เชี่ยวชาญด้านคุ้มครองผู้บริโภค
2.แต่งตั้งคณะทำงาน เจ้าหน้าที่ รพสต.กรือซอ รพ.แว้ง สสอ.แว้ง สสจ.นราธิวาส อบต.แว้ง อสม. ท้องที่ ท้องถิ่น ผู้นำศาสนา ผู้มีความรู้ความสามารถด้านการประชาสัมพันธ์ 3. ทำแผนสรุปรวบรวมข้อคิดเห็นต่างๆ 4. กำหนดประเด็นการสื่อสารด้านสุขาภิบาลอาหาร ( ผู้เกี่ยวข้องกำหนดประเด็นร้องเรียนบ่อยๆเกี่ยวกับความไม่ปลอดภัยของอาหาร การกำหนดประเด็นที่ชัดเจนทำให้สามารถสื่อสารได้ตรงตามกลุ่มเป้าหมาย) 5.ทำแผนการประชาสัมพันธ์ อาจมีการประชุมเพื่อพิจารณาจัดทำแผนการประชาสัมพันธ์ตามกลุ่มประชากรเป้าหมายต่างๆ 6.ดำเนินการประชาสัมพันธ์ ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการตามแผนการที่วางไว้อย่างเป็นระบบ 7.ประเมินผล ดำเนินการรวบรวมข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบ แล้วนำมาวิเคราะห์ตามวิธีการทางสถิติ เพื่อประเมินผลการประชาสัมพันธ์ตามระบบการประเมินผลที่วางไว้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายร้านค้า ร้านอาหารมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนงานสื่อสารสาธารณะด้านสุขาภิบาลอาหาร
  2. ผู้ประกอบการด้านอาหารในท้องถิ่นมีความตระหนักและระมัดระวังในการปรุงประกอบอาหารเพื่อจำหน่าย
  3. เกิดความร่วมมือในการดำเนินการพัฒนาด้านสุขาภิบาลอาหารในท้องถิ่น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2562 10:59 น.