กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
โครงการส่งเสริมการพัฒนา ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร ประจำปีงบประมาณ 25626 มีนาคม 2562
6
มีนาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลทุ่งหว้า
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วิธีดำเนินการ
1. ระยะเตรียมการ     - ประสานงานท้องถิ่นเพื่อวางแผนการจัดการโครงการ     - เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ     - แต่งตั้งคณะกรรมการการดำเนินงาน     - เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ     - จัดทำแผนขออนุมัติออกปฏิบัติงาน     - สำรวจข้อมูลร้านค้า/แผงลอย ในชุมชนวิเคราะห์ข้อมูลในชุมชน/จัดทำฐานข้อมูล     - จัดทำหนังสือแจ้งร้านอาหาร/แผงลอย     - จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามโครงการ     - ประสานงานกลุ่มเป้าหมาย/วิทยากร
2. ระยะดำเนินการ 2.1 จัดอบรมให้ความรู้ ด้านสุขาภิบาลอาหารให้แก่ ร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารประเมินความรู้ก่อนการอบรม - ประเมินผลความรู้หลังการอบรม     2.2 มอบเกียรติบัตร แก่ผู้ประกอบการ
    2.3 มอบเอี๊ยม และหมวก แก่ผู้ประกอบการ     2.4 เจ้าหน้าที่ ลงตรวจประเมินร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารให้พัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
    2.5 เจ้าหน้าที่ ตรวจภาชนะ/อุปกรณ์ เช่น จาน , ช้อน ,แก้ว , มีด ,เขียง ,มือผู้ปรุง /ผู้เสริฟ โดยน้ำยาโคลิฟอร์มแบคทีเรีย
    2.6 ลงบันทึกผลการประเมิน /การตรวจโคลิฟอร์มแบคทีเรีย
3. ระยะหลังดำเนินการ     - สรุปและประเมินผลโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการพัฒนาร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร/โรงครัวในโรงเรียน ปี ๒๕๖๒ วัตถุประสงค์ ๑. ผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอย มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักสุขาภิบาลอาหาร ๒. ผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอย พัฒนาร้านให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร
ระยะเวลาดำเนินการ - ระยะเวลาดำเนินโครงการ มกราคม ๒๕๖๒ – มีนาคม ๒๕๖๒ - สถานที่ในการดำเนินโครงการ ณ ห้องประชุมดาหลา โรงพยาบาลทุ่งหว้า ๑. ผลการดำเนินงาน ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด ๒.๑ การบรรลุตามวัตถุประสงค์   บรรลุตามวัตถุประสงค์   ๒.๒ จำนวนผู้เข้าร่วมใน แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม จำนวน ๗๕ คน ๓. การเบิกจ่ายงบประมาณ งบประมาณที่ได้รับอนุมัติ ๔๔,๕๗๕  บาท งบประมาณที่เบิกจ่ายจริง ๔๔,๕๗๕  บาท งบประมาณที่เหลือส่งคืนกองทุน  ๐  บาท ๔. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน มีปัญหาา/อุปสรรค (ระบุ) เนื่องจากการลงพื้นที่ตรวจร้านอาหารแต่ละครั้ง บางร้านเป็นช่วงที่ร้านปิด
แนวทางการแก้ไข (ระบุ) มีการเฝ้าติดตาม และได้รับการตรวจจนสำเร็จ ๕ผลสรุปจากการทำแบบวัดความรู้ ก่อน – หลัง การอบรมให้ความรู้   ๑. การประเมินความรู้จากแบบทดสอบความรู้ ก่อน-หลัง อบรมให้ความรู้เรื่องหลักการสุขาภิบาลอาหาร ผู้จัดทำโครงการได้จัดทำแบบทดสอบเพื่อประเมินความรู้ของผู้เข้าร่วมโครงการทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ โดยใช้แบบทดสอบประเมินความรู้ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ จำนวน ๑๐ ข้อ คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน ซึ่งผลสรุปจากการทดสอบความรู้ก่อนและหลัง ดังนี้ ตารางที่ ๕.๑ แสดงการประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรมให้ความรู้ การทดสอบความรู้ คะแนนเต็ม คะแนนสูงสุด คะแนนต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ   ก่อน  ๑๐  ๘      ๖  ๖.๐๐  ๖๐.๐๐   หลัง  ๑๐    ๑๐      ๘  ๙.๐๖ ๙๐.๖๐ ผลการประเมินความรู้ก่อนอบรมให้ความรู้ คิดเป็นร้อยละ ๖๐ และผลการประเมินความรู้หลังอบรมให้ความรู้ คิดเป็นร้อยละ ๙๐ ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้หลังการอบรมให้ความรู้เพิ่มมากขึ้น ผลการตรวจแผงลอยจำหน่ายอาหาร ข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหารสำหรับแผงลอยจำหน่ายอาหาร          เป้าหมายร้าน        การประเมิน
                                      ผ่าน  คิดเป็นร้อยละ  ไม่ผ่าน  คิดเป็นร้อยละ
๑. แผงลอยจำหน่ายอาหารทำจากวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย สภาพดี เป็นระเบียบ อยู่สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ ซม.              ๖๕  ๖๕    ๑๐๐  ๐    ๐ ๒. อาหารปรุงสุกมีฝาปิด หรือมีการป้องกันสัตว์แมลงนำโรค              ๖๕    ๕๓  ๘๑.๕๓  ๑๒  ๑๘.๔๖ ๓. สารปรุงแต่งอาหาร ต้องมีเลขสารบบอาหาร( อย. กำกับ)              ๖๕    ๖๓  ๙๖.๙๒  ๒  ๓.๐๗ ๔. น้ำดื่มต้องเห็นน้ำที่สะอาด ใส่ภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด มีก๊อกหรือเทรินน้ำ        ๖๕    ๖๔  ๙๘.๔๖  ๑  ๑.๕๓ ๕. เครื่องดื่มต้องใส่ภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด และมีที่ตักที่มีด้ามยาว หรือ มีก๊อกหรือทางเทรินน้ำ  ๖๕    ๖๔  ๙๘.๔๖  ๑  ๑.๕๓ ๖. น้ำแข็งที่ใช้บริโภค
  ๖.๑ ต้องสะอาด                          ๖๕  ๖๕    ๑๐๐  ๐    ๐   ๖.๒ เก็บในภาชนะที่สะอาดมีฝาปิดอยู่สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ซม.            ๖๕ ๕๘ ๘๙.๒๓  ๗  ๑๐.๗๖   ๖.๓ ที่ตักน้ำแข็งมีด้ามยาว                          ๖๕ ๕๕ ๘๔.๖๑  ๑๐  ๑๕.๓๘   ๖.๔ ต้องไม่นำอาหาร หรือสิ่งของอย่างอื่นลงไปแช่ไว้ในน้ำแข็ง              ๖๕  ๕๔  ๘๓.๐๗  ๑๑  ๑๖.๙๒ ๗. ล้างภาชนะด้วยน้ำยาล้างภาชนะ แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด ๒ ครั้งหรือล้างด้วยน้ำไหล
และอุปกรณ์การล้างต้องวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ ซม.                ๖๕  ๖๐  ๙๒.๓๐  ๕  ๗.๖๙ ๘. ช้อน ส้อม ตะเกียบ วางตั้งเอาด้ามขึ้นในภาชนะโปร่งใส หรือวาง เป็นระเบียบในภาชนะโปร่งสะอาด และมีฝาปิด เก็บสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ ซม.                    ๖๕ ๖๑    ๙๓.๘๔ ๔  ๖.๑๕ ๙. มีการรวบรวมมูลฝอย และเศษอาหารเพื่อนำไปกำจัด ๖๕ ๓๗ ๕๖.๙๒ ๒๘ ๔๓.๐๗ ๑๐. ผู้สัมผัสอาหารแต่งกายสะอาด สวมเสื้อมรแขน ผู้ปรุงต้องผูกผ้ากันเปื้อน และสวมหมวกหรือเน็ทคลุมผผม ๖๕ ๖๒    ๙๕.๓๘ ๓  ๔.๖๑ ๑๑. ใช้อุปกรณ์ในการหยิบจับอาหารที่ปรุงแล้ว                    ๖๕ ๕๘    ๘๙.๒๓ ๗  ๑๐.๗๖ ๑๒. ผู้สัมผัสอาหารที่มีบาดแผลที่มือ ต้องปกปิดแผลให้มิชิด                ๖๕ ๖๕    ๑๐๐  ๐  ๐ สรุปผลการตรวจแผงลอยตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหารสำหรับร้านแผงลอย พบว่าผู้ประกอบการร้านแผงลอย จะไม่ผ่านเกณฑ์ข้อที่ ๙ เป็นอัน ดับหนึ่ง คิดเป็นร้อยละ ๔๓.๐๗ และได้ให้คำแนะนำวิธีการดูแล ตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหารสำหรับ ร้านแผงลอยจำหน่ายอาหาร อธิบายถึงแหล่งรังโรคจากขยะ และโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในตลาด ผลการตรวจร้านอาหาร ข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหารสำหรับร้านอาหาร                  เป้าหมาย (ร้าน)      การประเมิน                                     ผ่าน คิดเป็นร้อยละ ไม่ผ่าน คิดเป็นร้อยละ ๑. สถานที่รับประทานอาหาร สถานที่เตรียมปรุง ประกอบอาหาร ต้องสะอาดเป็นระเบียบ และจัดเป็นสัดส่วน  ๕  ๕  ๑๐๐    ๐  ๐ ๒. ไม่เตรียมปรุงอาหารบนพื้น และบริเวณหน้าห้องน้ำ ห้องส้วม และต้องเตรียมปรุงอาหารบนโต๊ะที่สูงจากพื้น
อย่างน้อย ๖๐ ซม.                            ๕  ๕  ๑๐๐    ๐  ๐ ๓. . ใช้สารปรุงแต่งอาหารที่มีความปลอดภัย มีเครื่องหมายรับรองของทางราชการ เช่น เลขทะเบียนตำรับ อาหาร (อย.) เครื่องหมายรับรองมาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรม (มอก.)          ๕  ๕  ๑๐๐    ๐  ๐ ๔. อาหารสดต้องล้างให้สะอาดก่อนนำมาปรุง หรือเก็บ การเก็บอาหารประเภทต่าง ๆ
ต้องแยกเก็บเป็นสัดส่วน อาหารประเภทเนื้อสัตว์ดิบเก็บในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า ๕ องศาเซลเซียส      ๕  ๕  ๑๐๐    ๐  ๐ ๕. . อาหารที่ปรุงสำเร็จแล้ว เก็บในภาชนะที่สะอาดมีการปกปิด วางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ ซม.    ๕  ๕  ๑๐๐    ๐  ๐ ๖. น้ำแข็งที่ใช้บริโภคต้องสะอาด เก็บในภาชนะที่สะอาดมีฝาปิด ใช้อุปกรณ์ที่มีด้ามสำหรับคีบ หรือตัก โดยเฉพาะ วางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ ซม.                    ๕  ๔  ๘๐    ๑  ๒๐ ๗. ล้างภาชนะด้วยน้ำยาล้างภาชนะ แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด ๒ ครั้ง หรือล้างด้วยน้ำไหล
และที่ล้างภาชนะต้องวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ ซม.                  ๕  ๕  ๑๐๐  ๐  ๐ ๘. เขียงและมีด ต้องสภาพดี แยกใช้ระหว่างเนื้อสัตว์สุก เนื้อสัตว์ดิบ และผัก ผลไม้        ๕  ๔    ๘๐  ๑  ๒๐ ๙. ช้อน ส้อม ตะเกียบ วางตั้งเอาด้ามขึ้นในภาชนะโปร่งสะอาดและมีการปกปิดเก็บสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ ซม. ๕  ๕    ๑๐๐  ๐  ๐ ๑๐. มูลฝอย และน้ำเสียทุกชนิด ได้รับการกำจัดด้วยวิธีที่ถูกหลักสุขาภิบาล            ๕    ๑    ๒๐  ๔  ๘๐ ๑๑. ห้องส้วมสำหรับผู้บริโภคและผู้สัมผัสอาหารต้องสะอาด มีอ่างล้างมือที่ใช้การได้ดี และมีสบู่ใช้ตลอดเวลา ๕    ๕    ๑๐๐  ๐  ๐ ๑๒. ผู้สัมผัสอาหารแต่งกายสะอาด สวมเสื้อมีแขน ผู้ปรุงต้องผูกผ้ากันเปื้อนที่สะอาด สวมหมวกหรือเน็ทคลุมผม ๕    ๕    ๑๐๐  ๐  ๐

  ข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหารสำหรับร้านอาหาร              เป้าหมาย(ร้าน) ผ่าน  คิดเป็นร้อยละ ไม่ผ่าน คิดเป็นร้อยละ ๑๓. ผู้สัมผัสอาหารต้องล้างมือให้สะอาดก่อนเตรียมปรุง ประกอบ จำหน่ายอาหารทุกครั้ง
ใช้อุปกรณ์ในการหยิบจับอาหารที่ปรุงแล้วทุกชนิด                  ๕  ๕  ๑๐๐    ๐  ๐ ๑๔. ผู้สัมผัสอาหารที่มีบาดแผลที่มือต้องปิดแผลให้มิดชิด หลีกเลี่ยงการปฏิบัติงานที่มีโอกาสสัมผัสอาหาร ๕    ๕  ๑๐๐    ๐  ๐ ๑๕. ผู้สัมผัสอาหารที่เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถติดต่อไปยังผู้บริโภค โดยมีน้ำและอาหารเป็นสื่อ
ให้หยุดปฏิบัติงานจนกว่าจะรักษาให้หายขาด                  ๕    ๕  ๑๐๐  ๐  ๐   ผลการตรวจร้านอาหารตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหารสำหรับร้านอาหารพบว่า ผู้ประกอบการร้านอาหารจะไม่ผ่านเกณฑ์ข้อที่ ๑๐ เป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็นร้อยละ ๘๐ และได้ให้คำแนะนำวิธีการดูแลร้านอาหาร ตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหารสำหรับ ร้านอาหารจำหน่ายอาหารผลการตรวจทางเคมี(ภาชนะ/อุปกรณ์จำหน่ายอาหาร) ผลการตรวจภาชนะของโรงครัวในโรงเรียน / ร้านอาหาร / แผงลอย จำนวนทั้งหมด ๗๕ ร้าน โดยตรวจภาชนะ ได้ผลดังนี้ ตัวอย่างภาชนะ  ผ่านเกณฑ์    คิดเป็นร้อยละ  ไม่ผ่านเกณฑ์  คิดเป็นร้อยละ มือผู้ปรุง / ผู้เสริฟ ๐      ๐      ๑๐๐      ๑๐๐ ช้อน      ๓๒      ๔๒.๖๖    ๔๓    ๕๗.๓๓
แก้ว      ๔๐      ๕๓.๓๓    ๓๕    ๔๖.๖๖ มีด      ๒๘      ๓๗.๓๓    ๔๗    ๖๒.๖๖ จาน      ๒๗      ๓๖      ๔๘      ๖๔ เขียง      ๑๙      ๒๕.๓๓    ๕๖      ๗๔.๖๖ ถ้วย      ๒๙        ๓๘.๖๖      ๔๖      ๖๑.๓๓
ผลจากการตรวจทางเคมี พบว่า มือผู้ปรุง / มือ ผู้เสริฟ ไม่ผ่านเกณฑ์ เป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ และ อันดับสอง พบว่าเขียง ไม่ผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ ๗๔.๖๖ ได้ให้คำแนะแก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร /แผงลอย ดังนี้ การล้างมือ ปราศจากเชื้อโรคได้นั้น ต้องทำตามวิธีที่ถูกต้อง 7 ขั้นตอนต่อไปนี้ 1.ฝ่ามือถูฝ่ามือ เริ่มต้นการล้างมือง่ายๆ ด้วยการถูสบู่ขึ้นมาเล็กน้อยพอขึ้นฟอง ก่อนนำฝ่ามือทั้งสองข้างประกบกันและถูให้ทั่ว จนรู้สึกสะอาด 2.ฝ่ามือถูหลังมือ ปาดฟองสบู่มาที่หลังมือ แล้วล้างมือต่อโดยการใช้ฝ่ามือถูหลังมือและซอกนิ้วให้สะอาด จากนั้นสลับข้าง วิธีนี้จะทำให้ฆ่าเชื้อโรคบริเวณหลังมือที่เรามักลืมกันไป 3.ประกบฝ่ามือถูซอกนิ้ว พลิกมือกลับมาประกบกัน ก่อนจะล้างมือให้สะอาดด้วยการถูซอกนิ้วด้วยสบู่ให้สะอาดหมดจด 4.ฝ่ามือขัดหลังนิ้ว กำปั้นข้างหนึ่งขึ้นล้างมือต่อ โดยใช้ฝ่ามืออีกข้างหนึ่งขัดบริเวณหลังนิ้ว สลับข้างทำแบบเดียวกันจนรู้สึกว่ามือสะอาด 5.ถูนิ้วหัวแม่โป้ง กางนิ้วหัวแม่โป้งก่อนใช้ฝ่ามืออีกข้างกำรอบแล้วหมุนวนด้วยฟองสบู่เป็นวงกลม ทำให้สะอาดทั้งสองด้าน 6.ขัดฝ่ามือด้วยปลายนิ้ว แบมือข้างหนึ่ง แล้วใช้ปลายนิ้วมืออีกข้างขัดฟองสบู่ตามแนวขวางจนทั่ว แล้วสลับข้างทำวิธีเดียวกัน 7.ถูรอบข้อมือ กำมือรอบข้อมือข้างหนึ่ง แล้วถูวนไปรอบๆ จากนั้นเปลี่ยนข้าง ทำเช่นเดียวกัน วิธีนี้จะช่วยให้ข้อมือสะอาด
วิธีการล้างเขียง -ใช้น้ำร้อน เพียงราดน้ำร้อนลงไปบนเขียง ทิ้งไว้ ๑ นาที จากนั้นล้างน้ำเปล่า ๑ รอบ แล้วเอาไปตากแดด หรือผึ่งในที่โล่งให้แห้ง ทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง -ใช้มะกรูดหรือมะนาว นำมาผ่าครึ่ง แล้วใช้น้ำมะกรูดถูไปบนคราบสกปรกบนเขียง ความเป็นกรดจะช่วยทำให้คราบสกปรกหลุดออกจากเขียง หากมีคราบฝังลึกให้ใช้มีดปลายแหลมขูดคราบเบาๆ แล้วใช้ผ้าเช็ดออก พอขูดออกหมดแล้ว จากนั้นล้างด้วยน้ำยาล้างจาน แล้วเอาไปผึ่งแดด หรือตากในที่มีลมโกรก ให้แห้ง -ใช้น้ำส้มสายชู เช็ดทำความสะอาดเขียงด้วยน้ำส้มสายชูให้ทั่ว ใช้มีดปลายแหลมขูดเอาคราบสกปรกที่ติดอยู่ออก จากนั้นใช้น้ำต้มสุกราดให้ทั่ว แล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้ง -ใช้เบกกิ้งโซดา เบกกิ้งโซดา ๑ ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำประมาน ๘๐๐ ซีซี คนให้เข้ากัน แล้วเทลงบนเขียง ใช้แปรงหรือมีดขูดบริเวณที่เป็นคราบ จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด แล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้ง


          ลงชื่อ  สุทิศา ล่าเต๊ะ  ผู้รายงาน
                (นางสุทิศา ล่าเต๊ะ)
              ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ