กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดการขยะมูลฝอยโดยการคัดแยกขยะในสถานศึกษาตำบลบ้านกลาง ประจำปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง
วันที่อนุมัติ 24 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 มีนาคม 2562 - 9 มีนาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 37,901.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลคอเดช กะจิ
พี่เลี้ยงโครงการ คณะกรรมการ สปสช.
พื้นที่ดำเนินการ รุ่นที่ 1 ณ โรงเรียนบ้านบ่ออิฐ หมู่ที่ 6 และ รุ่นที่ 2 ณ โรงเรียนบ้านบางมะรวด หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.839,101.521place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 153 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ขยะเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกประเทศต้องเร่งดำเนินการป้องกันแก้ไข เนื่องจากขยะมูลฝอยทั้งจากครัวเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันการดูแลเก็บขนขยะมูลฝอยอยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง ไม่สามารถจัดเก็บขยะได้ ทำให้มีปริมาณขยะตกค้างและสะสมในแต่ละวันจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่ที่เป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น และโรงเรียน ขยะมูลฝอยยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม เนื่องจากขยะมูลฝอยเป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงนำโรคหลายชนิด อีกทั้งยังก่อให้เกิดกลิ่นเหม็น เหตุรำคาญ บ้านเมืองสกปรก ขาดความสวยงาม เป็นที่รังเกียจของผู้พบเห็น องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง ได้แสวงหาความร่วมมือกับสถานศึกษา โรงเรียน ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการจัดการขยะและนำหลัก 3Rs คือ REDUCE (การลดการใช้) REUSE (การใช้ซ้ำ)และ RECYCLE (การนำมาแปรรูปใหม่)มาใช้ให้เกิดประโยชน์ก็จะสามารถช่วยลดปริมาณขยะได้วิธีการดังกล่าวจะเป็นทางออกที่ดี ในสภาวะปัจจุบันที่จะสามารถกำจัดขยะได้อย่างครบวงจร และยังได้รับผลประโยชน์จากการกำจัดขยะนี้อีกมากมาย อาทิ การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่จากกระบวนการกำจัดและผลิต การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้แก่ชุมชน การสร้างรายได้เสริม การสร้างความสามัคคี และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ให้แก่เยาวชน ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง จึงเห็นความสำคัญในการสร้างสุขภาวะที่ดีให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาโดยได้จัดทำโครงการจัดการขยะมูลฝอยโดยการคัดแยกขยะในสถานศึกษาตำบลบ้านกลาง
ประจำปีงบประมาณ 2562 และสามารถเชื่อมโยงไปยังชุมชนใกล้เคียงในการจัดการขยะได้อีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกมูลฝอยที่ถูกต้องและเหมาะสม 2. เพื่อให้นักเรียนมีจิตสำนึกที่ดีในการคัดแยกขยะมูลฝอยสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก และรักษาสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน 3. เพื่อเป็นการช่วยลดปริมาณขยะ และส่งเสริมความรู้ในการใช้หลัก 3Rs ในการจัดการขยะมูลฝอย 4. เพื่อเกิดการริเริ่มการจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิลในโรงเรียน 5. สร้างความมีระเบียบวินัยและมีคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ

7.1 ทำให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการบริหารจัดการขยะ 7.2 ทำให้นักเรียนมีทักษะการแก้ปัญหาในการทำงานนักเรียนสามารถดำเนินงานได้จนประสบความสำเร็จตามโครงการ 7.3 ทำให้สถานศึกษาในตำบลบ้านกลางมีธนาคารขยะที่เต็มรูปแบบ โดยมีนักเรียน ครู ผู้ปกครองและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความร่วมมือและสนับสนุนเข้าร่วมกิจกรรมทำให้โรงเรียนสามารถบริหารจัดการขยะได้อย่างมีระบบกรจัดการโดยใช้ธนาคารขยะรีไซเคิลซึ่งจะสามารถช่วยเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกทุกคนและยังช่วยให้โรงเรียนและชุมชนบ้านกลางมีความสะอาด สวยงาม 7.4 ทำให้นักเรียน ครู และผู้ปกครองในชุมชน รู้จักพัฒนาตนเองตามศักยภาพโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต 7.5 ทำให้สิ่งแวดล้อมดี ชุมชนสะอาด ปลอดโรคติดต่อ ประชาชนมีสุขภาพดี

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
7 - 9 มี.ค. 62 อบรมให้ความรู้การจัดการขยะมูลฝอยโดยการคัดแยกขยะในสถานศึกษาตำบลบ้านกลาง 153 37,901.00 37,901.00
รวม 153 37,901.00 1 37,901.00

ขั้นตอนที่ ๑ คณะทำงาน หน้าที่ของคณะทำงาน ๑) ผู้จัดการธนาคาร รับผิดชอบดำเนินงาน ในภาพรวมของธนาคาร ๒) เจ้าหน้าที่จดบันทึก รับผิดชอบการจดบันทึกรายละเอียด เกี่ยวกับสมาชิก ได้แก่ ชื่อ – นามสกุล เลขที่ ประเภท และปริมาณวัสดุรีไซเคิล เพื่อส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ ๓) เจ้าหน้าที่คัดแยก รับผิดชอบการคัดแยกขยะ และชั่งน้ำหนักเพื่อจัดเก็บในสถานที่เก็บ ๔) เจ้าหน้าที่คิดเงิน รับผิดชอบการเทียบราคาที่กำหนด และคิดจำนวนเงินของสินค้า ที่สมาชิกนำมาฝาก พร้อมทั้งรับผิดชอบการฝาก – ถอนเงินของสมาชิก ๕) เจ้าหน้าที่บัญชี รับผิดชอบเอกสารต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการเงิน เช่น สรุปยอดเงินฝากของสมาชิก สรุปยอดรายรับรายจ่ายของธนาคารขยะฯ และบันทึกรายละเอียด ยอดคงเหลือของสินค้า ตามประเภทปริมาณราคาโดยต้องทำการบันทึกทุกวันที่เปิดทำการ ๖) เจ้าหน้าที่ควบคุมการเงิน รับผิดชอบควบคุมการเงินของธนาคารขยะ รายรับ รายจ่าย การเบิกเงินเพื่อนำไปใช้ในกิจกรรม การเบิกจ่ายเงินของสมาชิกธนาคารขยะ ให้สามารถตรวจสอบได้ ๗) เจ้าหน้าที่ควบคุมการซื้อ-ขาย รับผิดชอบข้อมูลการซื้อ ขาย ราคาสินค้าในท้องตลาด การปรับเปลี่ยนราคา การนำสินค้าไปขายประสานร้านรับซื้อของเก่า ๘) ครูที่ปรึกษากิจกรรม รับผิดชอบการดำเนินงานของธนาคารขยะ การประสานร้านรับซื้อของเก่า และดูแลเกี่ยวกับการเงินของโครงการ พร้อมทั้งดูเอกสารการเบิกจ่ายเงิน และสามารถตรวจสอบได้ ขั้นตอนที่ ๒ คณะทำงานมีการประชุม
๑) สำรวจร้านรับซื้อของเก่าที่มีอยู่ในชุมชน ราคา ประเภทของขยะรีไซเคิลที่รับซื้อ ๒) ประสานงานร้านรับซื้อของเก่าให้เข้าร่วมโครงการธนาคารขยะรีไซเคิล ราคาที่จูงใจ ซึ่งส่วนใหญ่คิดที่ ๓๐ % ของราคาที่ได้มาจากร้านรับซื้อของเก่า ๓) กำหนดระยะเวลาที่จะเข้ามารับซื้อ ๔) การวางแผนกำหนดวัน เวลา เปิด ธนาคารขยะ ขั้นตอนที่ ๓ การจัดเตรียมสถานที่เก็บรวบรวม ๑) ยึดหลักง่าย ๆโดยสามารถเก็บรวบรวมขยะได้ ป้องกันฝน ๒) มีการคัดแยกขยะอย่างชัดเจน ๓) แบ่งเป็น ๔ ช่อง สำหรับจัดเก็บ กระดาษ โลหะ/อโลหะ,พลาสติก ,แก้ว ๔) มีการติดป้ายราคาของขยะที่รับซื้อ ขั้นตอนที่ ๔ การประชาสัมพันธ์ ๑) การเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเพื่อให้เกิดความร่วมมือกันในโรงเรียน สามารถทำได้โดย ๒) การประชาสัมพันธ์เสียงตามสายของโรงเรียน ๓) บันทึกลงในสมุดคู่ฝาก เพื่อเก็บเป็นหลักฐานการฝากถอนของสมาชิก ๔) ถ้าสมาชิกต้องการถอนเงิน ให้เขียนรายละเอียด ใบถอนเงินแล้วให้กับเจ้าหน้าที่ ๕) ภายหลังเปิดธนาคารเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่ต้องทำการรวบรวมรายรับ รายจ่าย และทะเบียนคุมเจ้าหนี้ของธนาคารในแต่ละวัน เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบ การลงค่าใช้จ่าย การซื้อ ขายขยะรีไซเคิลลงในสมุดเงินสด เพื่อสามารถตรวจสอบการขาดทุน กำไร ๖) ควรมีการสรุปการดำเนินงาน ในแต่ละเดือน และแจ้งแก่สมาชิกของธนาคาร โดยการจัดบอร์ดนิทรรศการบริเวณที่ทำการ ขั้นตอนที่ ๕ การติดตามประเมินผล ๑) พิจารณาจากปริมาณขยะรีไซเคิลที่รวบรวมได้ ๒) จำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรม ๓) กำไรจากการซื้อขาย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

7.1 ทำให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการบริหารจัดการขยะ 7.2 ทำให้นักเรียนมีทักษะการแก้ปัญหาในการทำงานนักเรียนสามารถดำเนินงานได้จนประสบความสำเร็จตามโครงการ 7.3 ทำให้สถานศึกษาในตำบลบ้านกลางมีธนาคารขยะที่เต็มรูปแบบ โดยมีนักเรียน ครู ผู้ปกครองและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความร่วมมือและสนับสนุนเข้าร่วมกิจกรรมทำให้โรงเรียนสามารถบริหารจัดการขยะได้อย่างมีระบบกรจัดการโดยใช้ธนาคารขยะรีไซเคิลซึ่งจะสามารถช่วยเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกทุกคนและยังช่วยให้โรงเรียนและชุมชนบ้านกลางมีความสะอาด สวยงาม 7.4 ทำให้นักเรียน ครู และผู้ปกครองในชุมชน รู้จักพัฒนาตนเองตามศักยภาพโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต 7.5 ทำให้สิ่งแวดล้อมดี ชุมชนสะอาด ปลอดโรคติดต่อ ประชาชนมีสุขภาพดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2562 09:43 น.