กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การจัดการขยะมูลฝอยโดยการคัดแยกขยะในสถานศึกษาตำบลบ้านกลาง7 มีนาคม 2562
7
มีนาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนสุขภาพ  ตำบลบ้านกลาง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ขั้นตอนที่ ๑ คณะทำงาน หน้าที่ของคณะทำงาน ๑) ผู้จัดการธนาคาร รับผิดชอบดำเนินงาน ในภาพรวมของธนาคาร ๒) เจ้าหน้าที่จดบันทึก รับผิดชอบการจดบันทึกรายละเอียด เกี่ยวกับสมาชิก ได้แก่ ชื่อ – นามสกุล เลขที่ ประเภท และปริมาณวัสดุรีไซเคิล เพื่อส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ ๓) เจ้าหน้าที่คัดแยก  รับผิดชอบการคัดแยกขยะ และชั่งน้ำหนักเพื่อจัดเก็บในสถานที่เก็บ ๔) เจ้าหน้าที่คิดเงิน รับผิดชอบการเทียบราคาที่กำหนด และคิดจำนวนเงินของสินค้า ที่สมาชิกนำมาฝาก พร้อมทั้งรับผิดชอบการฝาก – ถอนเงินของสมาชิก ๕) เจ้าหน้าที่บัญชี รับผิดชอบเอกสารต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการเงิน เช่น สรุปยอดเงินฝากของสมาชิก สรุปยอดรายรับรายจ่ายของธนาคารขยะฯ และบันทึกรายละเอียด ยอดคงเหลือของสินค้า ตามประเภทปริมาณราคาโดยต้องทำการบันทึกทุกวันที่เปิดทำการ ๖) เจ้าหน้าที่ควบคุมการเงิน รับผิดชอบควบคุมการเงินของธนาคารขยะ รายรับ รายจ่าย การเบิกเงินเพื่อนำไปใช้ในกิจกรรม การเบิกจ่ายเงินของสมาชิกธนาคารขยะ ให้สามารถตรวจสอบได้ ๗) เจ้าหน้าที่ควบคุมการซื้อ-ขาย รับผิดชอบข้อมูลการซื้อ ขาย ราคาสินค้าในท้องตลาด การปรับเปลี่ยนราคา การนำสินค้าไปขายประสานร้านรับซื้อของเก่า ๘) ครูที่ปรึกษากิจกรรม รับผิดชอบการดำเนินงานของธนาคารขยะ การประสานร้านรับซื้อของเก่า และดูแลเกี่ยวกับการเงินของโครงการ พร้อมทั้งดูเอกสารการเบิกจ่ายเงิน และสามารถตรวจสอบได้ ขั้นตอนที่ ๒ คณะทำงานมีการประชุม
๑) สำรวจร้านรับซื้อของเก่าที่มีอยู่ในชุมชน ราคา ประเภทของขยะรีไซเคิลที่รับซื้อ ๒) ประสานงานร้านรับซื้อของเก่าให้เข้าร่วมโครงการธนาคารขยะรีไซเคิล ราคาที่จูงใจ ซึ่งส่วนใหญ่คิดที่ ๓๐  % ของราคาที่ได้มาจากร้านรับซื้อของเก่า ๓) กำหนดระยะเวลาที่จะเข้ามารับซื้อ ๔) การวางแผนกำหนดวัน เวลา เปิด ธนาคารขยะ ขั้นตอนที่ ๓ การจัดเตรียมสถานที่เก็บรวบรวม ๑) ยึดหลักง่าย ๆโดยสามารถเก็บรวบรวมขยะได้ ป้องกันฝน ๒) มีการคัดแยกขยะอย่างชัดเจน ๓) แบ่งเป็น ๔ ช่อง สำหรับจัดเก็บ กระดาษ โลหะ/อโลหะ,พลาสติก ,แก้ว ๔) มีการติดป้ายราคาของขยะที่รับซื้อ ขั้นตอนที่ ๔ การประชาสัมพันธ์ ๑) การเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเพื่อให้เกิดความร่วมมือกันในโรงเรียน สามารถทำได้โดย ๒) การประชาสัมพันธ์เสียงตามสายของโรงเรียน ๓) บันทึกลงในสมุดคู่ฝาก เพื่อเก็บเป็นหลักฐานการฝากถอนของสมาชิก ๔) ถ้าสมาชิกต้องการถอนเงิน ให้เขียนรายละเอียด ใบถอนเงินแล้วให้กับเจ้าหน้าที่ ๕) ภายหลังเปิดธนาคารเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่ต้องทำการรวบรวมรายรับ รายจ่าย และทะเบียนคุมเจ้าหนี้ของธนาคารในแต่ละวัน เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบ การลงค่าใช้จ่าย การซื้อ ขายขยะรีไซเคิลลงในสมุดเงินสด เพื่อสามารถตรวจสอบการขาดทุน กำไร ๖) ควรมีการสรุปการดำเนินงาน ในแต่ละเดือน และแจ้งแก่สมาชิกของธนาคาร โดยการจัดบอร์ดนิทรรศการบริเวณที่ทำการ ขั้นตอนที่ ๕ การติดตามประเมินผล ๑) พิจารณาจากปริมาณขยะรีไซเคิลที่รวบรวมได้ ๒) จำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรม ๓) กำไรจากการซื้อขาย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

7.1 ทำให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการบริหารจัดการขยะ 7.2 ทำให้นักเรียนมีทักษะการแก้ปัญหาในการทำงานนักเรียนสามารถดำเนินงานได้จนประสบความสำเร็จตามโครงการ 7.3 ทำให้สถานศึกษาในตำบลบ้านกลางมีธนาคารขยะที่เต็มรูปแบบ โดยมีนักเรียน ครู ผู้ปกครองและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความร่วมมือและสนับสนุนเข้าร่วมกิจกรรมทำให้โรงเรียนสามารถบริหารจัดการขยะได้อย่างมีระบบกรจัดการโดยใช้ธนาคารขยะรีไซเคิลซึ่งจะสามารถช่วยเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกทุกคนและยังช่วยให้โรงเรียนและชุมชนบ้านกลางมีความสะอาด สวยงาม 7.4 ทำให้นักเรียน ครู และผู้ปกครองในชุมชน รู้จักพัฒนาตนเองตามศักยภาพโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต 7.5 ทำให้สิ่งแวดล้อมดี ชุมชนสะอาด ปลอดโรคติดต่อ ประชาชนมีสุขภาพดี