กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการเยี่ยมบ้านเพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากแก่มารดาหลังคลอดและทารก ประจำปี 2560 ”
ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง



หัวหน้าโครงการ
นางจิราพร ขวัญทอง




ชื่อโครงการ โครงการเยี่ยมบ้านเพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากแก่มารดาหลังคลอดและทารก ประจำปี 2560

ที่อยู่ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 2560-L6896-1-09 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2560

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการเยี่ยมบ้านเพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากแก่มารดาหลังคลอดและทารก ประจำปี 2560 จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครตรัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการเยี่ยมบ้านเพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากแก่มารดาหลังคลอดและทารก ประจำปี 2560



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการเยี่ยมบ้านเพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากแก่มารดาหลังคลอดและทารก ประจำปี 2560 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 2560-L6896-1-09 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 6,300.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครตรัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สุขภาพช่องปากเป็นส่วนหนึ่งของการมีสุขภาพดี ช่วยเสริมคุณภาพชีวิต เพราะปัญหาสุขภาพช่องปาก จะส่งผลต่อระบบอื่นๆของร่างกาย ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องดูแลสุขภาพช่องปากให้สมบูรณ์ ซึ่งในปัจจุบันแนวคิดการดูแลช่องปาก มิใช่การกำจัดโรคอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะต้องดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีตั้งแต่แรกเริ่มและคงสภาพที่ดีไว้ นั่นคือ ให้ความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคซึ่งดีกว่าการรักษาเพราะกระทำในสภาพปกติ ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานในการปวดฟัน ไม่ต้องยุ่งยาก ไม่เสียเวลาในการรักษา ไม่ต้องเสียเงินค่ารักษาและที่สำคัญคือไม่ต้องสูญเสียฟันโรคฟันผุในฟันน้ำนมยังเป็นปัญหาที่พบมากในเด็กไทย โดยเฉพาะในเขตชนบท เด็กอายุ 3 ปีที่เพิ่งมีฟันขึ้นครบ 20 ซี่มีฟันผุแล้วถึงร้อยละ61 และเมื่ออายุ 5 ปีผุแล้วร้อยละ80การรักษาฟันผุในเด็กเล็กทำได้ยากเนื่องจากเด็กมักไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการรักษา การป้องกันฟันผุของเด็กปฐมวัยต้องดำเนินการในช่วงเด็กอายุ 0-2 ปีโรคฟันผุส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กในระยะยาว ซึ่งสาเหตุที่เด็กเล็กมีสภาวะฟันน้ำนมผุสูงเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆได้แก่ พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กที่ไม่ถูกต้อง เช่น การดูดนมขวดคาปากการปล่อยให้เด็กหลับคาขวดนมเป็นประจำ การไม่ดูดน้ำตามหลังดูดนม การทำความสะอาดช่องปากไม่สม่ำเสมอ นอกจากนี้ชนิดของนมมีผลต่อการเกิดฟันผุของเด็กวัยนี้เช่นกันสิ่งเหล่านี้นอกจากทำให้เด็กเกิดโรคฟันผุแล้วยังส่งผลทำให้เกิดสภาวะการเจ็บป่วยต่อระบบอื่นๆด้วยในร่างกาย ได้แก่ ภาวะโภชนาการ การเจริญเติบโต การพัฒนาการเรียนรู้และการพัฒนาบุคลิกภาพในเด็กเล็กฯลฯการเฝ้าระวังโดยการดูแลเด็กเป็นระยะอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้พบปัญหาเริ่มแรกและสามารถให้การป้องกันก่อนที่จะเกิดฟันผุได้ มาตรการทางวิชาการที่จะช่วยป้องกันการก่อตัวของเชื้อโรค และยังอาจหยุดหรือชะลอการเกิดฟันผุในระยะเริ่มแรกได้ ได้แก่ การแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ การทำความสะอาดช่องปากสม่ำเสมอและลดการบริโภคน้ำตาล การพัฒนาระบบเฝ้าระวังฟันผุในชุมชนและสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กให้กับผู้ปกครอง และชุมชน จะช่วยลดอัตราการเกิดฟันผุเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพดังนั้นเพื่อลดปัญหาการเกิดโรคในช่องปากของเด็กเล็กตั้งแต่เนิ่นๆ จึงควรมีการส่งเสริมสุขภาพช่องปากแก่มารดาหลังคลอด ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก เพื่อมุ่งเน้นที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอนามัย โดยเฉพาะพฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปากและพฤติกรรมการบริโภค แก่เด็กเพื่อช่วยกันเสริมสร้างสุขภาพช่องปากที่ดีให้กับเด็กต่อไป งานบริการการแพทย์ ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 เทศบาลนครตรังจึงจัดทำโครงการเยี่ยมบ้านเพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากแก่มารดาหลังคลอดและทารกประจำปี 2560 ขึ้น เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งที่สำคัญในการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากแก่มารดาหลังคลอดและทารก ทำให้ลดภาระค่ารักษาทางทันตกรรม และเป็นโอกาสที่สามารถเข้าถึงผู้เลี้ยงดูเด็กโดยตรง ซึ่งจะทำให้ลดการเกิดโรคในช่องปากส่งผลให้กลุ่มเป้าหมาย มีสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่อให้มารดาหลังคลอดที่ได้รับการเยี่ยมบ้านได้ตระหนักถึงความสำคัญการดูแลสุขภาพช่องปากและ ได้รับความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและทารกได้อย่างถูกต้อง
  2. 2.เพื่อให้มารดาหลังคลอดได้ฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปากของตนเองและทารกสามารถนำไปปฎิบัติในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกวิธี
  3. 3.มารดาหลังคลอดมีความพึงพอใจกับการส่งเสริมทันตสุขภาพเพื่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 35
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 35
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    7.1 มารดาหลังคลอดที่ได้รับการเยี่ยมบ้านมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถนำทักษะที่ได้ฝึกมาปฏิบัติ ในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและทารกไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 7.2 มารดาหลังคลอดมีความพึงพอใจกับการส่งเสริมสุขภาพช่องปากของตนเองและทารก ยู่ในระดับมากคิดเป็นร้อยละ 90


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. จัดซื้อชุดสาธิตการสอนเพื่อทำความสะอาดช่องปากแก่มารดาหลังคลอดและทารก

    วันที่ 16 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มารดาหลังคลอดที่พบได้รับการเยี่ยมบ้าน มีความรู้ความเข้าใจ และได้รับการฝึกทักษะในการทำความสะอาดช่องปากของตนเองและทารกได้ถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

     

    35 35

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    มารดาหลังคลอดและทารกที่พบแล้วในพื้นที่เขตรับผิดชอบที่ได้รับการเยี่ยมบ้านเพื่อให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากโดยมีการสาธิตพร้อมฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปากแก่มารดาหลังคลอดและทารกที่พบ  และมอบชุดส่งเสริมสุขภาพช่องปาก  ปี 2560 จำนวน 35 ราย สรุปรายละเอียดดังนี้
    1. มารดาหลังคลอดที่พบได้รับการเยี่ยมบ้าน มีความรู้ความเข้าใจ และได้รับการฝึกทักษะในการทำความสะอาดช่องปากของตนเองและทารกได้ถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยในภาพรวมมารดาหลังคลอด มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและทารกเพิ่มมากขึ้น อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 92.25
    2.มารดาหลังคลอดที่พบทุกรายได้รับมอบชุดส่งเสริมทันตสุขภาพโดยมีการสาธิตพร้อมฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปากของตนเองและทารกสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกวิธี                               
    3.มารดาหลังคลอดมีความพึงพอใจกับการส่งเสริมสุขภาพช่องปากโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  คิดเป็นร้อยละ 91.43

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1.เพื่อให้มารดาหลังคลอดที่ได้รับการเยี่ยมบ้านได้ตระหนักถึงความสำคัญการดูแลสุขภาพช่องปากและ ได้รับความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและทารกได้อย่างถูกต้อง
    ตัวชี้วัด : มารดาหลังคลอดได้รับการเยี่ยมบ้าน และตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากมากขึ้น

     

    2 2.เพื่อให้มารดาหลังคลอดได้ฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปากของตนเองและทารกสามารถนำไปปฎิบัติในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกวิธี
    ตัวชี้วัด : มารดาหลังคลอดได้ฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปากของตนเองและทารก สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกวิธี

     

    3 3.มารดาหลังคลอดมีความพึงพอใจกับการส่งเสริมทันตสุขภาพเพื่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป
    ตัวชี้วัด : มารดาหลังคลอดมีความพึงพอใจกับการส่งเสริมทันตสุขภาพมากขึ้น

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 70
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 35
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 35
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อให้มารดาหลังคลอดที่ได้รับการเยี่ยมบ้านได้ตระหนักถึงความสำคัญการดูแลสุขภาพช่องปากและ ได้รับความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและทารกได้อย่างถูกต้อง (2) 2.เพื่อให้มารดาหลังคลอดได้ฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปากของตนเองและทารกสามารถนำไปปฎิบัติในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกวิธี (3) 3.มารดาหลังคลอดมีความพึงพอใจกับการส่งเสริมทันตสุขภาพเพื่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการเยี่ยมบ้านเพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากแก่มารดาหลังคลอดและทารก ประจำปี 2560 จังหวัด ตรัง

    รหัสโครงการ 2560-L6896-1-09

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางจิราพร ขวัญทอง )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด