กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลักธรรมานามัย
รหัสโครงการ 62-L-4117-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านบาละ
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 กุมภาพันธ์ 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 15,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมาดีฮะฮ์ ตืร๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางไอลดา เจ๊ะหะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.33,101.023place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 22 ก.พ. 2562 30 ก.ย. 2562 15,900.00
รวมงบประมาณ 15,900.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี ๒๕๖๐ ผู้สูงอายุในประเทศไทย มี ๑๐ ล้านกว่าคน (ชาย ๔.๕ ล้านคน และหญิง ๕.๗ ล้านคน) คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๕ ของประชากรทั้งหมด ๖๕ ล้านคน ประเทศไทยจึงนับได้ว่าได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว (Aging Society) ตามนิยามขององค์การสหประชาชาติที่กำหนดว่าประเทศที่มีประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปในสัดส่วนเกินร้อยละ ๑๐ ของประชากรถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จำเป็นที่ต้องมีนโยบายและมาตรการรองรับที่เหมาะสม และผลจากวิทยาการทางการแพทย์สมัยใหม่ สังคมและการศึกษาที่เจริญก้าวหน้า การใช้ชีวิต การรับประทานอาหารที่เหมาะสม และการเข้าถึงบริการสุขภาพที่ดีขึ้น ทำให้อายุคาดเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นทั้งหญิงและชายเป็น ๗๘ และ ๗๑ ปี ตามลำดับ การมีชีวิตยืนยาวขึ้นในช่วงอายุที่มีการเจ็บป่วยเพิ่มขึ้นเป็นลำดับนั้น ทำให้จำนวนปีที่คาดหวังว่าจะมีชีวิตอยู่อย่างมีสุขภาพดีจึงลดลงเป็นลำดับ ตามอายุของผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น คุณภาพชีวิตลดลง การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายทำให้เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและความพิการ และที่มีความสำคัญเช่นกันคือ การเปลี่ยนแปลงด้าน จิตใจ อารมณ์ และสังคม การเปลี่ยนบทบาทจากผู้นำมาเป็นผู้ตามทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าลดลง การก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุจึงต้องให้ความสำคัญในเรื่องการดูแลสุขภาพอนามัยที่เหมาะสมแบบเป็นองค์รวมอันจะส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งนี้ การดูแลผู้สูงอายุเป็นภาระหน้าที่และความรับผิดชอบที่ทุกครอบครัว ตลอดจนชุมชน รวมถึงหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบด้านผู้สูงอายุ ศาสตร์การดูแลรักษาสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย สามารถนำมาใช้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวมตามหลักของธรรมานามัยคือ กายานามัย จิตตานามัย และชีวิตานามัย คือ กายานามัยเป็นหลักการป้องกันก่อนเจ็บป่วย เช่น การรับประทานอาหาร การใช้สมุนไพร การออกกำลังกายด้วยท่าบริหารฤาษีดัดตน เป็นต้น จิตตานามัยเป็นหลักการบริหารจิต ด้วยทาน ศีล ภาวนา ส่วนชีวิตานามัยเป็นหลักการดำเนินชีวิต ชอบเดินสายกลาง ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม และควรมีกิจกรรมเสริมคุณค่าให้ผู้สูงอายุสามารถแสดงออกถึงศักยภาพของตนเอง และเห็นความสำคัญของการช่วยเหลือผู้สูงอายุอื่นให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงควรมีการศึกษาว่าการดูแลสุขภาพแบบแผนไทยที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุควรมีลักษณะเช่นไร สามารถนำมาพัฒนา เป็นหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เห็นคุณค่าในตนเอง และสามารถนำไปใช้ดูแลสุขภาพตนเองและผู้สูงอายุอื่นได้มากน้อยเพียงใด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

 

0.00
2 เพื่อศึกษาภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยที่สามารถนำมาใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

 

0.00
3 เพื่อพัฒนารูปแบบและทดลองใช้โปรแกรมการเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวมตามหลักธรรมานามัย

 

0.00
4 เพื่อประเมินผลการอบรมและเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทย คุณภาพชีวิตและการเห็นคุณค่าตนเองก่อนและหลังการฝึกอบรม

 

0.00
5 เพื่อติดตามผลการนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในชีวิตประจำวันและการเผยแพร่หรือช่วยเหลือผู้สูงอายุอื่นในชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
22 ก.พ. 62 - 30 ก.ย. 62 1กิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุเรื่องธรรมานามัยกับการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยแบบองค์รวม 1.2เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องศาสตร์การดูแลรักษาสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย สามารถนำมาใช้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวมตามหลักของธรรมานามัย 80 15,900.00 15,900.00
รวม 80 15,900.00 1 15,900.00

๔. วิธีดำเนินการ(ขั้นเตรียมการ,ขั้นดำเนินการ,ขั้นสรุป) ๔.๑ จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติและขอสนับสนุนงบประมาณ ๔.๒ ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจในแนวเดียวกัน ๔.๓ กำหนดรูปแบบกิจกรรมการให้ความรู้ ๔.๔ ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการอบรม ๔.๕ ดำเนินงานตามโครงการ ๔.๖ ประเมินผล สรุปโครงการ ๔.๗ รายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๘. ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๘.๑ ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ๘.๒ คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้นหลังการจัดการอบรม สามารถดูแลสุขภาพตนเอง มีความสุข สงบ และพอใจในชีวิต
๘.๓ ผู้สูงอายุรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง รู้สึกมีคุณค่าเมื่อได้ช่วยเหลือผู้อื่น มีความสุขที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น ๘.๔ ผู้สูงอายุสามารถเผยแพร่หรือช่วยเหลือผู้สูงอายุอื่นในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2562 14:48 น.