กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนบาโงยซิแนใส่ใจ ควบคุม ป้องกันโรคนำโดยแมลง ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L4147-5-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ทีม SRRT ตำบลบาโงยซิแน
วันที่อนุมัติ 25 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 70,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุพงศ์ ดอคา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6404 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นแมลงพาหะนำโรคที่สำคัญการระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมากเนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำ ให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่ม
218.37

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ประชาชนปลอดภัยจากโรคติดต่อนำโดยแมลง
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 /ประชากรแสนคน
  2. ไม่มีอัตราป่วยตายด้วยโรคนำโดยแมลง
218.37 0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้มีการพัฒนาบ้านสะอาด รอบบ้านน่ามอง ลดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชนสถานที่ราชการ มัสยิดและโรงเรียน
  1. ลดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชนให้ค่า HI ให้เหลือไม่เกินร้อยละ 10
  2. จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนสถานที่ราชการศูนย์เด็กมัสยิดมีค่าเท่ากับร้อยละ 0 (CI = 0)
0.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อให้หลังคาเรือนที่มีผู้ป่วยได้รับการพ่นหมอกควันและการเฝ้าระวังโดยรอบรัศมี100 เมตรจากบ้านที่เกิดโรค
  1. ทุกหลังคาเรือนที่มีผู้ป่วยได้รับการพ่นหมอกควันและการเฝ้าระวังโดยรอบรัศมี100 เมตรจากบ้านที่เกิดโรค
0.00
4 เพื่อให้แกนนำสาธารณสุข อสม. และประชาชนที่สนใจได้รับความรู้ และสามารถนำไปไปปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้อื่นได้

ร้อยละ 70 ของแกนนำสาธารณสุข อสม. และประชาชนที่สนใจได้รับความรู้ และสามารถนำไปปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้อื่นได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 80 70,000.00 0 0.00
1 พ.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 1. การอบรมเชิงปฏิบัติการ 80 17,600.00 -
1 พ.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 2. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ 0 14,600.00 -
1 พ.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 3. การทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและกำจัดตัวเต็มวัย 0 37,800.00 -

1.การอบรมเชิงปฏิบัติการ
1.1 จัดอบรมให้ความรู้แก่แกนนำชุมชนในทุกหมู่บ้านเพื่อให้สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติ และไปถ่ายทอดให้แก่แกนนำครอบครัวในเขตรับผิดชอบเนื้อหาหลักสูตร เน้น การนำความรู้สู่การปฏิบัติ จำนวน 80 คน หลักสูตร 1 วัน - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มมื้อละ 25 บาท x 2 มื้อ x 80คน เป็นเงิน 4,000 บาท
- ค่าอาหารอาหารกลางวันผู้เข้ารับการอบรม มื้อละ70 บาท x 1 มื้อ x 80 คน เป็นเงิน 5,600 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท x 5 ชม. เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าวัสดุในการอบรมเป็นเงิน 5,000บาท
รวม 17,600 บาท

2.รณรงค์ประชาสัมพันธ์
2.1 รณรงค์ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้โดย จนท/อสม./แกนนำ เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกไข้ปวดข้อยุงลายไข้มาลาเรียพร้อมทั้งกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติโดยใช้รถยนต์ประชาสัมพันธ์และรถจักรยานยนต์ พร้อมให้สุขศึกษาผ่านสื่อต่างๆเช่นในช่วงก่อนการละหมาดวันศุกร์หอกระจายเสียงโรงเรียนฯลฯและจัดนิทรรศการเพื่อเสริมสร้างและสนับสนุนการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนให้รู้จักการป้องกันตนเองให้ถูกวิธีเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
2.2 จัดหา และทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆคือป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์แผ่นพับความรู้สื่อประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่
2.3 อสม/แกนนำ นำสื่อที่ผลิตไปประชาสัมพันธ์ทุกบ้านในเขตรับผิดชอบ โดยเน้นการปฏิบัติตัวในการป้องกัน และควบคุมโรค

  • ค่าวัสดุป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ 800 บาท x 7 ผืน เป็นเงิน 5,600 บาท
  • ค่าแผ่นพับความรู้จำนวน 900 ชุดๆละ 10 บาท เป็นเงิน 9,000บาท
    รวม 14,600 บาท
  1. การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายโดยชุมชนโรงเรียน
    3.1 การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายโดยชุมชนโรงเรียน
    3.2 อสม./แกนนำ สำรวจลูกน้ำยุงลายในเขตรับผิดชอบ และส่งแบบสำรวจทุกเดือน
    3.3 กำจัดตัวเต็มวัยโดยการพ่นหมอกควัน ใช้สารเคมีกำจัดยุงลายชนิดสเปรย์ และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ภายในบ้านและรอบบ้านผู้ป่วยและบ้านกลุ่มเสี่ยงรัศมี100เมตรและมีการดำเนินการทุกสัปดาห์จนครบ 4 ครั้งโดยจนท. แกนนำ และอสม.
    3.4 การจัดหาซื้อน้ำยาและน้ำมันในการพ่นหมอกควัน
    3.5 การจัดหาซื้อโลชั่นกันยุงและสไลด์พร้อมเข็มเจาะปลายนิ้วเพื่อค้นหาเชื้อมาลาเรีย
    3.6 เน้นการใช้สมุนไพร ในการป้องกันยุงกัด โดยการรณรงค์ให้ปลูกตะไคร้หอมโดยเฉพาะบ้าน อสม.
    3.7 จ้างเหมาแกนนำในการพ่นหมอกควันทำลายตัวเต็มวัยในโรงเรียนมัสยิด ตาดีกา และบ้านกลุ่มเสี่ยงทั้งตำบล
    3.8 ให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำ และใช้สารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนและชุมชนทุกหลังคาเรือนทุก 3 เดือน
    3.9 จัดกิจกรรมรณรงค์บ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลายและปฏิบัติตามพันธะสัญญาอย่างจริงจัง
  • ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการพ่นหมอกควัน เป็นเงิน 8,000 บาท
  • ค่าน้ำยาเคมีกำจัดยุงลายชนิดสเปรย์ เป็นเงิน 7,000 บาท
  • ค่ายาทากันยุง เป็นเงิน 5,400 บาท
  • ค่าจัดซื้อสไลด์เจาะเลือดผู้ป่วยมาลาเรียและเช็มเจาะปลายนิ้ว เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าจ้างเหมาพ่นหมอกควันจำนวน 18 วัน x 4 คน x 200 บาท เป็นเงิน 14,400 บาท
    รวม 37,800 บาท
    รวมงบประมาณทั้งสิ้น 70,000 บาท
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคติดต่อนำโดยแมลง
  2. ประชาชน, นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุม และป้องกันโรค จนสามารถดำเนินการควบคุม และป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลงได้เองอย่างต่อเนื่อง
  3. สามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดและเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2562 16:21 น.