กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนบาโงยซิแนใส่ใจ ควบคุม ป้องกันโรคนำโดยแมลง ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน

ทีม SRRT ตำบลบาโงยซิแน

1. นายสุพงศ์ ดอคา
2. นายอับดุลเลาะ ดอปิ
3. นายอุสมาน กาเดร์
4. นายหามุสาอิ
5.นางสาวซูบัยด๊ะ หะรง

ม.1 - ม.6 ต.บาโงยซิแน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นแมลงพาหะนำโรคที่สำคัญการระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมากเนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำ ให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่ม

 

218.37

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1เพื่อให้ประชาชนปลอดภัยจากโรคติดต่อนำโดยแมลง
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 /ประชากรแสนคน
  2. ไม่มีอัตราป่วยตายด้วยโรคนำโดยแมลง
218.37 0.00
2 ข้อที่ 2เพื่อให้มีการพัฒนาบ้านสะอาด รอบบ้านน่ามอง ลดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชนสถานที่ราชการ มัสยิดและโรงเรียน
  1. ลดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชนให้ค่า HI ให้เหลือไม่เกินร้อยละ 10
  2. จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนสถานที่ราชการศูนย์เด็กมัสยิดมีค่าเท่ากับร้อยละ 0 (CI = 0)
0.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อให้หลังคาเรือนที่มีผู้ป่วยได้รับการพ่นหมอกควันและการเฝ้าระวังโดยรอบรัศมี100 เมตรจากบ้านที่เกิดโรค
  1. ทุกหลังคาเรือนที่มีผู้ป่วยได้รับการพ่นหมอกควันและการเฝ้าระวังโดยรอบรัศมี100 เมตรจากบ้านที่เกิดโรค
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6,404
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. การอบรมเชิงปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
1. การอบรมเชิงปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดอบรมให้ความรู้แก่แกนนำชุมชนในทุกหมู่บ้านเพื่อให้สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติ และไปถ่ายทอดให้แก่แกนนำครอบครัวในเขตรับผิดชอบเนื้อหาหลักสูตร เน้น การนำความรู้สู่การปฏิบัติ จำนวน 80 คน หลักสูตร 1 วัน

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มมื้อละ 25 บาท x 2 มื้อ x 80คน เป็นเงิน 4,000 บาท
- ค่าอาหารอาหารกลางวันผู้เข้ารับการอบรม มื้อละ70 บาท x 1 มื้อ x 80 คน เป็นเงิน 5,600 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท x 5 ชม. เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าวัสดุในการอบรมเป็นเงิน 5,000บาท

รวม 17,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.แกนนำชุมชนในทุกหมู่บ้านสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติ และไปถ่ายทอดให้แก่แกนนำครอบครัวในเขตรับผิดชอบ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17600.00

กิจกรรมที่ 2 2. รณรงค์ประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
2. รณรงค์ประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. รณรงค์ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้โดย จนท/อสม./แกนนำ เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกไข้ปวดข้อยุงลายไข้มาลาเรียพร้อมทั้งกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติโดยใช้รถยนต์ประชาสัมพันธ์และรถจักรยานยนต์ พร้อมให้สุขศึกษาผ่านสื่อต่างๆเช่นในช่วงก่อนการละหมาดวันศุกร์หอกระจายเสียงโรงเรียนฯลฯและจัดนิทรรศการเพื่อเสริมสร้างและสนับสนุนการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนให้รู้จักการป้องกันตนเองให้ถูกวิธีเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
  2. จัดหา และทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆคือป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์แผ่นพับความรู้สื่อประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่
  3. อสม/แกนนำ นำสื่อที่ผลิตไปประชาสัมพันธ์ทุกบ้านในเขตรับผิดชอบ โดยเน้นการปฏิบัติตัวในการป้องกัน และควบคุมโรค
  • ค่าวัสดุป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ 800 บาท x 7 ผืน เป็นเงิน 5,600 บาท
  • ค่าแผ่นพับความรู้จำนวน 900 ชุดๆละ 10 บาท เป็นเงิน 9,000บาท
    รวม 14,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ลดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชนให้ค่า HI ให้เหลือไม่เกินร้อยละ 10
  2. จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนสถานที่ราชการศูนย์เด็กมัสยิดมีค่าเท่ากับร้อยละ 0 (CI = 0)
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14600.00

กิจกรรมที่ 3 3. การทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและกำจัดตัวเต็มวัย

ชื่อกิจกรรม
3. การทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและกำจัดตัวเต็มวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายโดยชุมชนโรงเรียน
  2. อสม./แกนนำ สำรวจลูกน้ำยุงลายในเขตรับผิดชอบ และส่งแบบสำรวจทุกเดือน
  3. กำจัดตัวเต็มวัยโดยการพ่นหมอกควัน ใช้สารเคมีกำจัดยุงลายชนิดสเปรย์ และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ภายในบ้านและรอบบ้านผู้ป่วยและบ้านกลุ่มเสี่ยงรัศมี100เมตรและมีการดำเนินการทุกสัปดาห์จนครบ 4 ครั้งโดยจนท. แกนนำ และอสม.
  4. การจัดหาซื้อน้ำยาและน้ำมันในการพ่นหมอกควัน
  5. การจัดหาซื้อโลชั่นกันยุงและสไลด์พร้อมเข็มเจาะปลายนิ้วเพื่อค้นหาเชื้อมาลาเรีย
  6. เน้นการใช้สมุนไพร ในการป้องกันยุงกัด โดยการรณรงค์ให้ปลูกตะไคร้หอมโดยเฉพาะบ้าน อสม
  7. จ้างเหมาแกนนำในการพ่นหมอกควันทำลายตัวเต็มวัยในโรงเรียนมัสยิด ตาดีกา และบ้านกลุ่มเสี่ยงทั้งตำบล
  8. ให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำ และใช้สารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนและชุมชนทุกหลังคาเรือนทุก 3 เดือน
  9. จัดกิจกรรมรณรงค์บ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลายและปฏิบัติตามพันธะสัญญาอย่างจริงจัง
  • ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการพ่นหมอกควัน เป็นเงิน 8,000 บาท
  • ค่าน้ำยาเคมีกำจัดยุงลายชนิดสเปรย์ เป็นเงิน 7,000 บาท
  • ค่ายาทากันยุง เป็นเงิน 5,400 บาท
  • ค่าจัดซื้อสไลด์เจาะเลือดผู้ป่วยมาลาเรียและเช็มเจาะปลายนิ้ว เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าจ้างเหมาพ่นหมอกควันจำนวน 18 วัน x 4 คน x 200 บาท เป็นเงิน 14,400 บาท

รวม 37,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ทุกหลังคาเรือนที่มีผู้ป่วยได้รับการพ่นหมอกควันและการเฝ้าระวังโดยรอบรัศมี100 เมตรจากบ้านที่เกิดโรค
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 70,000.00 บาท

หมายเหตุ :
1. จัดอบรมให้ความรู้แก่แกนนำชุมชนในทุกหมู่บ้านเพื่อให้สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติ และไปถ่ายทอดให้แก่แกนนำครอบครัวในเขตรับผิดชอบเนื้อหาหลักสูตร เน้น การนำความรู้สู่การปฏิบัติ จำนวน 80 คน หลักสูตร 1 วัน
2. รณรงค์ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้โดย จนท/อสม./แกนนำ เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกไข้ปวดข้อยุงลายไข้มาลาเรียพร้อมทั้งกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติโดยใช้รถยนต์ประชาสัมพันธ์และรถจักรยานยนต์ พร้อมให้สุขศึกษาผ่านสื่อต่างๆเช่นในช่วงก่อนการละหมาดวันศุกร์หอกระจายเสียงโรงเรียนฯลฯและจัดนิทรรศการเพื่อเสริมสร้างและสนับสนุนการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนให้รู้จักการป้องกันตนเองให้ถูกวิธีเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
3. จัดหา และทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆคือป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์แผ่นพับความรู้สื่อประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่
4. อสม/แกนนำ นำสื่อที่ผลิตไปประชาสัมพันธ์ทุกบ้านในเขตรับผิดชอบ โดยเน้นการปฏิบัติตัวในการป้องกัน และควบคุมโรค
5. การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายโดยชุมชนโรงเรียน
6. อสม./แกนนำ สำรวจลูกน้ำยุงลายในเขตรับผิดชอบ และส่งแบบสำรวจทุกเดือน
7. กำจัดตัวเต็มวัยโดยการพ่นหมอกควัน ใช้สารเคมีกำจัดยุงลายชนิดสเปรย์ และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ภายในบ้านและรอบบ้านผู้ป่วยและบ้านกลุ่มเสี่ยงรัศมี100เมตรและมีการดำเนินการทุกสัปดาห์จนครบ 4 ครั้งโดยจนท. แกนนำ และอสม.
8. การจัดหาซื้อน้ำยาและน้ำมันในการพ่นหมอกควัน
9. การจัดหาซื้อโลชั่นกันยุงและสไลด์พร้อมเข็มเจาะปลายนิ้วเพื่อค้นหาเชื้อมาลาเรีย
10. เน้นการใช้สมุนไพร ในการป้องกันยุงกัด โดยการรณรงค์ให้ปลูกตะไคร้หอมโดยเฉพาะบ้าน อสม
11. จ้างเหมาแกนนำในการพ่นหมอกควันทำลายตัวเต็มวัยในโรงเรียนมัสยิด ตาดีกา และบ้านกลุ่มเสี่ยงทั้งตำบล
12. ให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำ และใช้สารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนและชุมชนทุกหลังคาเรือนทุก 3 เดือน
13. จัดกิจกรรมรณรงค์บ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลายและปฏิบัติตามพันธะสัญญาอย่างจริงจัง

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคติดต่อนำโดยแมลง
2. ประชาชน, นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุม และป้องกันโรค จนสามารถดำเนินการควบคุม และป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลงได้เองอย่างต่อเนื่อง
3. สามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดและเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป


>