กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองหรัง


“ โครงการคลองหรังร่วมใจ ลดเบาหวาน ความดัน รู้เท่าทัน Stroke ”

ตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นางนิตยา พรมสุวรรณ

ชื่อโครงการ โครงการคลองหรังร่วมใจ ลดเบาหวาน ความดัน รู้เท่าทัน Stroke

ที่อยู่ ตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 62-L5205-2-03 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 10 เมษายน 2562 ถึง 22 เมษายน 2562


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการคลองหรังร่วมใจ ลดเบาหวาน ความดัน รู้เท่าทัน Stroke จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองหรัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการคลองหรังร่วมใจ ลดเบาหวาน ความดัน รู้เท่าทัน Stroke



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการคลองหรังร่วมใจ ลดเบาหวาน ความดัน รู้เท่าทัน Stroke " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 62-L5205-2-03 ระยะเวลาการดำเนินงาน 10 เมษายน 2562 - 22 เมษายน 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 7,230.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองหรัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันคนไทยป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม ทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นจำนวนมาก โดยเมื่อเทียบจากปี พ.ศ. 2559-2560 พบว่าอัตราการป่วยด้วยโรคความดัน โลหิตสูงเพิ่มขึ้นคิดเป็น 2,008.92 คน และ 2,091.28 คน ต่อประชากรหนึ่งแสนคน ตามลำดับ และโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นคิดเป็น 1,292.79 คน และ 1,344.95 คน ต่อประชากรหนึ่งแสนคนตามลำดับ อัตราการป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 451.39 คนและ 467.46 คน (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข,2562) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จากการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ ครั้งล่าสุด ปี 2558 พบว่ามีความชุกของภาวะน้ำหนักเกินร้อยละ 30.5 ภาวะอ้วนร้อยละ 7.5 การสูบบุหรี่ในปัจจุบันร้อยละ 21.3 การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในปัจจุบันร้อยละ 36.2 และการรับประทานผักและผลไม้เฉลี่ยมากกว่า 5 หน่วย มาตรฐานต่อวันภายใน 7 วันที่ผ่านมาร้อยละ 24.3 (สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2559) จากการศึกษาข้อมูลทางสถิติจากระบบข้อมูลสุขภาพส่วนกลาง สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสงขลา
ปี 2561 พบว่า หมู่ที่ 1 บ้านคลองหรัง มีประชากรกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป จำนวน 457 คน มีภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง 3 ลำดับแรก ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 121 ราย โรคเบาหวาน จำนวน 36 ราย และโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 10 ราย ซึ่งสอดคล้องกับการเก็บข้อมูลภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. จำนวน 140 คน จากประชากรกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป จำนวน 466 คน เมื่อวันที่ 30-31 มกราคม 2562 โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ พบว่ามีประชากรป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 37 ราย โรคเบาหวาน จำนวน 5 ราย และเป็นทั้งโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จำนวน 13 ราย โดยมีพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ คือ การบริโภคอาหารรสหวาน คือ การดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล
ร้อยละ 58 รับประทานขนมหวานต่าง ๆ ร้อยละ 44.28 การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง คือ รับประทานอาหารที่ปรุงด้วยกะทิที่เคี่ยวแตกมัน ร้อยละ 47.14 รับประทานเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูงหรือคลอเลสเตอรอลสูง ร้อยละ 45.71 การสูบบุหรี่ร้อยละ 21.4 และการดื่มสุราร้อยละ 31.1 ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นวิถีชีวิตของผู้ประกอบอาชีพสวนยางซึ่งเป็นอาชีพส่วนใหญ่ของคนในชุมชน ผลจากการทำประชาคมเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้เข้าร่วม 26 คน ประกอบด้วย
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง ตัวแทนจากโรงพยาบาลนาหม่อม ตัวแทนจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านแม่เปียะ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน ประธานกลุ่มต่าง ๆ อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน และตัวแทนชาวบ้านหมู่ที่ 1
บ้านคลองหรัง ได้มีมติเห็นตรงกันว่า ประชาชนในชุมชนมีความรู้เพียงพอแล้ว แต่ยังขาดความตระหนักในการปฏิบัติ จึงได้เสนอแนวทางการแก้ไข โดยจัดทำโครงการที่สร้างแรงบันดาลใจเพื่อให้เกิดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสมตามวิถีชีวิตชาวสวนยาง ได้แก่ การเรียนรู้วิถีชีวิตชาวสวนยางและปรับเปลี่ยน ให้เหมาะสมเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อน การดูแลด้านอารมณ์ ลดการสูบบุหรี่และดื่มสุรา โดยมีการเรียนรู้บทเรียนจากผู้มีประสบการณ์ จัดตั้งชมรมออกกำลังกาย โดยการมีส่วนร่วม รวมไปถึงวิธีการจัดการเมื่อมีอาการแสดงของโรคหลอดเลือดสมองเกิดขึ้น
ดังนั้นทางกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านคลองหรัง ร่วมกับภาคีเครือข่าย (นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ คณะกรรมการหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแม่เปียะ) จึงได้จัดทำโครงการ “คลองหรังร่วมใจ ลดเบาหวาน ความดัน รู้เท่าทัน Stroke” เพื่อให้ประชาชนในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความตระหนัก และทักษะในการดูแลสุขภาพ เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ และจะนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีของคนในชุมชนต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. อธิบายสาเหตุของการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จากวิถีชีวิตชาวสวนยางได้ถูกต้อง
  2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการเลือกอาหารที่เหมาะสม เพื่อป้องกัน และลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
  3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการออกกำลังกาย โดยปฏิบัติสมาธิปรับอารมณ์ด้วย SKT ได้อย่างถูกต้อง
  4. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถบอกอาการแสดงของภาวะหลอดเลือดสมองและวิธีการจัดการได้อย่างถูกต้อง
  5. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเอง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมที่ 1 เวทีเสวนา เรื่อง "วิถีชีวิตชาวสวนยางกับการเกิดโรคความดัน เบาหวาน"
  2. กิจกรรมที่ 2 "เปลี่ยนเพื่อสุขภาพ"
  3. กิจกรรมที่ 3 "SKT บำบัดโรค"
  4. กิจกรรมที่ 4 "รู้เท่าทัน Stroke"
  5. กิจกรรมที่ 5 "สัญญาต้องทำนะ"

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 109
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 28
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ประชาชนในพื้นที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม
  2. อุบัติการณ์การเกิดใหม่ของโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานและหลอดเลือดสมองลดลง
  3. มีการจัดตั้งชมรมออกกำลังกายปรับอารมณ์ด้วย SKT ภายในหมู่บ้าน
  4. มีการเปิดเสียงตามสายในการให้ความรู้เรื่องอาการแสดงเริ่มต้นของภาวะหลอดเลือดสมองและการจัดการเมื่อเกิดอาการ ทุกวันในหมู่บ้าน

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมที่ 1 เวทีเสวนา เรื่อง "วิถีชีวิตชาวสวนยางกับการเกิดโรคความดัน เบาหวาน"

วันที่ 15 เมษายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. ประสานผู้ร่วมโครงการโดยการทำหนังสือเชิญ
  2. เชิญวิทยากรให้ความรู้ แลกเปลี่ยนแนวความคิด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคความดัน เบาหวานเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 80

 

137 0

2. กิจกรรมที่ 2 "เปลี่ยนเพื่อสุขภาพ"

วันที่ 15 เมษายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

1.อธิบายเรื่องการกินอาหาร  และอาหารตามโซนสี และเชิญอาสาสมัครมาเป็นแกนนำ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ประชาชนมีความรู้เรื่องโซนอาหาร และทานอาหารได้เหมาะสม

 

137 0

3. กิจกรรมที่ 3 "SKT บำบัดโรค"

วันที่ 15 เมษายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. เตีรมท่าสำหรับออกกำลังกายด้วย SKT บำบัดโรค และสอนผู้อื่น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ประชาชนมีความรู้เรื่องการออกกำลังกายด้วย SKT

 

137 0

4. กิจกรรมที่ 5 "สัญญาต้องทำนะ"

วันที่ 15 เมษายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

  • เตรีมวัสดุการจัดกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชาชนมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพ

 

137 0

5. กิจกรรมที่ 4 "รู้เท่าทัน Stroke"

วันที่ 24 ธันวาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. เตรียมกิจกรรม และภาพแสดงอาการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ผู้เข้าร่วมโครงการรู้อาการของโรคหลิดเลือดสมองและวิธีการปฏิบัติ

 

137 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 อธิบายสาเหตุของการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จากวิถีชีวิตชาวสวนยางได้ถูกต้อง
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถระบุสาเหตุการเป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานที่เกิดจากวิถีชีวิตชาวสวนยางได้ถูกต้องทุกข้อ
80.00

 

2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการเลือกอาหารที่เหมาะสม เพื่อป้องกัน และลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
ตัวชี้วัด : อาสาสมัคร 5 คน สามารถเลือกอาหารที่เหมาะสมและถูกต้องทุกข้อ
5.00

 

3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการออกกำลังกาย โดยปฏิบัติสมาธิปรับอารมณ์ด้วย SKT ได้อย่างถูกต้อง
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารทำสมาธิปรับอารมณ์ด้วย SKT 3 ท่าได้อย่างถูกต้อง
80.00

 

4 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถบอกอาการแสดงของภาวะหลอดเลือดสมองและวิธีการจัดการได้อย่างถูกต้อง
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถบอกอาการแสดงเริ่มต้นของภาวะหลอดเลือดสมองและวิธีการจัดการได้อย่างถูกต้อง
80.00

 

5 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเอง
ตัวชี้วัด : ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนระบุการนำข้อปฏิบัติไปดำเนินการกับตนเองในชีวิตประจำวัน อย่างน้อย 1กิจกรรม
80.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 137
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 109
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 28
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) อธิบายสาเหตุของการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จากวิถีชีวิตชาวสวนยางได้ถูกต้อง (2) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการเลือกอาหารที่เหมาะสม เพื่อป้องกัน และลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน (3) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการออกกำลังกาย โดยปฏิบัติสมาธิปรับอารมณ์ด้วย SKT ได้อย่างถูกต้อง (4) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถบอกอาการแสดงของภาวะหลอดเลือดสมองและวิธีการจัดการได้อย่างถูกต้อง (5) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเอง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมที่ 1 เวทีเสวนา เรื่อง "วิถีชีวิตชาวสวนยางกับการเกิดโรคความดัน เบาหวาน" (2) กิจกรรมที่ 2 "เปลี่ยนเพื่อสุขภาพ" (3) กิจกรรมที่ 3 "SKT บำบัดโรค" (4) กิจกรรมที่ 4 "รู้เท่าทัน Stroke" (5) กิจกรรมที่ 5 "สัญญาต้องทำนะ"

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการคลองหรังร่วมใจ ลดเบาหวาน ความดัน รู้เท่าทัน Stroke จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 62-L5205-2-03

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางนิตยา พรมสุวรรณ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด