กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังความปลอดภัยจากอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ(ประเภทที่ 1)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านกะทูน-พิปูนล้นเกล้า
วันที่อนุมัติ 25 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 30 มิถุนายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประเทือง ทุมพร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านกะทูน-พิปูนล้นเกล้า
ละติจูด-ลองจิจูด 6.953,100.03place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันการบริโภคอาหารของประชาชน มีความเสี่ยงจากการปนเปื้อนในอาหาร ทั้งจากเชื้อโรค สารพิษตกค้าง และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ยาที่จำหน่ายในร้านขายของชำไม่ได้คุณภาพ รวมทั้งจากสภาพปัญหาการสุขาภิบาล การขาดจิตสำนึกด้านสุขอนามัย ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคและระยะยาว ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) บ้านกะทูน-พิปูนล้นเกล้า มีร้านขายของชำ 23 ร้าน, แผงขายอาหาร 6 แผง เป็นแหล่งบริโภคที่สำคัญ และสถานที่ประกอบอาหารในโรงเรียน 2 โรง, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 ศูนย์ จำเป็นต้องตรวจสอบและปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน ทั้งด้านสุขาภิบาล คุณภาพอาหารและควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน เพื่อคุ้มครองให้ผู้บริโภคได้ปลอดภัยต่อสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) บ้านกะทูน-พิปูนล้นเกล้า ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวในข้างต้น จึงจัดประชุมชี้แจงทำความเข้าใจเพื่อการเฝ้าระวังความปลอดภัยจากอาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพให้ได้มาตรฐาน โดยมุ่งหวังที่จะให้ผู้ประกอบการและแกนนำ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคได้ใช้ผลิตภัณฑ์ และอาหารที่ถูกสุขลักษณะ สะอาด ปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างการรับรู้ของผู้ประกอบการ ผู้ประกอบอาหาร และแกนนำด้านอาหารปลอดภัย ให้ตระหนักและเฝ้าระวังตนเองจากการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสม 2. เพื่อตรวจสอบ ปรับปรุงที่ประกอบอาหาร ร้านอาหาร/แผงลอย ร้านขายของชําให้ได้มาตรฐาน
  1. ผู้ประกอบการและแกนนำ ร้อยละ 80  เข้ารับการประชุม อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 2.  ที่ประกอบอาหารในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แผงลอย ร้านขายของชำในพื้นที่ต้องได้รับการตรวจ ปีละ 1 ครั้ง
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย
    1. จัดประชุมกลุ่มเป้าหมาย ( 30 เมษายน 2562)
    2. เลือกตัวแทนออกตรวจที่ประกอบอาหารในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แผงลอย ร้านขายของชำ
    3. ประชุมกลุ่มตัวแทนออกตรวจที่ประกอบการ พร้อมออกตรวจโรงอาหารในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แผงลอย ร้านขายของชำในชุมชน
    4. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ที่ประกอบการในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ร้านอาหาร แผงลอย ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน Clean Food Good Taste และร้านขายของชำไม่ขายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2562 23:03 น.