กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพ่อแม่ห่วงใย หนูน้อยยิ้มใส เด็กทุ่งกระบือฟันดี เด็ก 0-3 ปี
รหัสโครงการ 62-L1504-2-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.หมู่ที่ 2
วันที่อนุมัติ 28 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 30 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 11,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรม อสม.หมู่ที่ 2
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งกระบือ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.404,99.626place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กปฐมวัย โรคฟันผุในเด็กสามารถ พบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันผุ มาจากพฤติกรรมของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการดูแลทำความสะอาด ช่องปากไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กเกิดความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ และส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กได้ นอกจากนี้ยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือ ฟันน้ำนมที่ถูกถอนหรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่ จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันล้มเอียง เข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติตามตำแหน่งนั้น อาจจะขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็นปมด้อยทำให้เด็กไม่มั่นใจ ไม่กล้าในการแสดงออก   จากรายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560 พบว่าสถานการณ์ในเด็กอายุ 3 ปี ซึ่งเป็นขวบปีแรกที่มีฟันน้ำนมขึ้นครบ 20 ซี่ มีฟันผุระยะเริ่มต้นร้อยละ 31.1 มีความชุกในการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 52.9 มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด (dmft) 2.8 ซี่/คน ความชุกของการเกิดฟันผุในเด็กอายุ 3 ปี พบสูงสุดในภาคกลางและภาคใต้ ร้อยละ 57.9 และ 57.0 ค่าเฉลี่ย ฟันผุ ถอน อุด 3.5 ซี่/คน และ 3.1 ซี่/คน ตามลำดับ และยังพบว่าประมาณร้อยละ 40.0 มีคราบจุลินทรีย์อยู่ในระดับเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ พบฟันผุระยะเริ่มต้นในเด็กอายุ 3 ปี ร้อยละ 31.1
  จากผลสรุปการสำรวจสภาวะช่องปากของเด็ก 0-3 ปี หมู่ 2 บ้านคลองปะเหลียน ตำบลทุ่งกระบือ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง พบว่า เด็กก่อนวัยเรียนกลุ่มนี้มีสภาวะฟันผุ ร้อยละ 50.91 ค่าเฉลี่ย ผุ อุด ถอน (dmft) 8.43 ซี่/คน ซึ่งนับว่าสูงมากเมื่อเทียบกับระดับอำเภอ ซึ่งอำเภอย่านตาขาว มีสภาวะฟันผุสูงเป็น 5 อันดับแรกของระดับอำเภอ คิดเป็น ร้อยละ 47.7 ระดับจังหวัด ร้อยละ 28.36 และระดับประเทศ ร้อยละ 31.1 ซึ่งการผุในระยะนี้มักเกี่ยวข้องกับการรับประทานอาหารว่างที่มีแป้งและน้ำตาล ร่วมกับการไม่ได้ทำความสะอาดฟัน และลักษณะการสัมผัสด้านประชิดที่กว้างและแน่นร่วมกับการไม่ได้ทำความสะอาดซอกฟัน ทำให้มีโอกาสผุมากขึ้น การลุกลามของโรคฟันผุในวัยนี้จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้จากการสังเกตพฤติกรรมเสี่ยงของเด็ก พบปัญหาเด็กติดขวดนม การแปรงฟันที่ไม่สะอาด และไม่ถูกวิธี การทานขนมที่มีรสชาติหวานหลังการแปรงฟัน ประกอบกับปัจจัยเสี่ยงด้านการดูแลเด็ก 0-3 ปี ทั้งในเรื่องของอาหารระหว่างมื้อจะเน้นไปที่ขนมหวาน ปัจจัยต่างๆเหล่านี้ส่งผลให้เด็ก 0-3 ปี หมู่ 2 บ้านคลองปะเหลียน ตำบลทุ่งกระบือ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง มีสภาวะฟันผุที่สูง   จากที่กล่าวมาเบื้องต้น จะเห็นว่าปัญหาของฟันน้ำนมผุในเด็กมีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครองโดยตรง ในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จะต้องดำเนินการหลายด้านประกอบกัน และเพื่อแก้ไขปัญหาฟันน้ำนมผุในเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้จัดทำโครงการจึงได้เห็นถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก เนื่องจากเด็กวัยนี้มีพัฒนาการการขึ้นของฟันเพิ่งขึ้นครบ 20 ซี่ พฤติกรรมการรับประทานอาหารจะเริ่มเปลี่ยนแปลง และเด็กเริ่มมีพฤติกรรมทางสังคมระยะเริ่มแรก จึงมีแนวโน้มที่จะเกิดพฤติกรรมสุขภาพช่องปากที่เหมาะสมถ้าได้รับการดูแลเอาใจใส่จากผู้ปกครองเป็นอย่างดี ดังนั้น ผู้ปกครองจึงมีบทบาทอย่างมากต่อการสร้างพฤติกรรมของเด็ก จึงได้จัดโครงการพ่อแม่ห่วงใย หนูน้อยยิ้มใส เด็กทุ่งกระบือฟันดี เด็ก 0-3 ปี บ้านคลองปะเหลียน ตำบลทุ่งกระบือ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง เพื่อเป็นประโยชน์ในการนำผลการศึกษาที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กในรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทและมีประสิทธิภาพ แก้ปัญหาโรคฟันผุในเด็ก 0-3 ปี หมู่ 2 บ้านคลองปะเหลียน ตำบลทุ่งกระบือ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ในอนาคตต่อไปได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กอย่างถูกต้อง

 

0.00
2 เพื่อเกิดเครือข่ายการดูแลสุขภาพช่องปากให้แก่เด็กอย่างต่อเนื่อง โดย อสม. ครู ทันตบุคลากร และผู้ปกครอง

 

0.00
3 เพื่อลดการเกิดโรคฟันผุในเด็ก 0-3 ปี

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 11,150.00 0 0.00
18 เม.ย. 62 อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปาก 0 11,150.00 -

1) รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผนการจัดการโครงการ   2) ประชุมชี้แจงโครงการและแนวทางการดำเนินโครงการแก่กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลทุ่งกระบือ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง เพื่อขออนุมัติโครงการ และเสนอของบประมาณ
  3) ประชุมชี้แจงโครงการและแนวทางการดำเนินโครงการแก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าบันไดเพื่อขออนุมัติโครงการ
  4) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ประชุมเพื่อกำหนดการดำเนินจัดกิจกรรมตามแผนและกำหนดการ โครงการพ่อแม่ห่วงใย หนูน้อยยิ้มใส เด็กทุงกระบือฟันดี ดังนี้     วันที่ 9 เมษายน 2562         - การตรวจสุขภาพช่องปากเด็ก 0-3 ปี     วันที่ 18 เมษายน 2562         - การอบรมเชิงปฏิบัติการแก่เด็กและผู้ปกครอง ครู อสม. แม่ครัว ในการให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่อง  ปากเด็ก และฝึกการดูแลสุขภาพช่องปากให้แก่เด็กแบบลงมือทำ         - จัดทำคู่มือให้ความรู้ด้านทันตสุขศึกษาที่เหมาะสมตามกลุ่มอายุ     วันที่ 25 เมษายน 2562         - อสม. ให้ความรู้แก่แม่เด็กในการดูแลสุขภาพช่องปากของลูกตั้งแต่ฟันยังไม่ขึ้น รวมถึงมีการสาธิตวิธีการทำความสะอาดช่องปากแบบลงมือทำในวันที่เด็กมารับวัคซีน         - อสม. ร่วมปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการดูแลสุขภาพช่องปากแก่เด็ก 0-3 ปี บ้านคลองปะเหลียน ได้แก่ จัดซื้ออุปกรณ์ในการทำความสะอาดช่องปาก และจัดทำที่เก็บอุปกรณ์การทำความสะอาดช่องปากที่ถูกสุขลักษณะ         - การเล่านิทานการดูแลสุขภาพช่องปากให้แก่เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองปะเหลียน     วันที่ 2 พฤษภาคม 2562         - จัดรณรงค์การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลช่องปาก ประกวดครอบครัวต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพช่องปากให้แก่เด็กในความดูแล และประกวดหนูน้อยฟันสวย
        - อสม. แนะนำอาหารว่างอ่อนหวาน เพื่อลดการรับประทานขนมหวานหลังอาหารกลางวัน ลดความเสี่ยงการเกิดโรคฟันผุได้         - กิจกรรมการเฝ้าระวังโรคฟันผุในเด็ก 0-3 ปี โดยอสม. ประเมินสภาวะช่องปากเด็กในชุมชน ทุกๆ 3 เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนต่อการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก   2. ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน   3. เด็กมีอนามัยช่องปากดี ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการ การเจริญเติบโตที่สมวัย   4. ผู้ปกครองมีทัศนคติที่ดีในการดูแลความสะอาดของช่องปากและฟันของเด็ก   5. อสม ร่วมแนะนำสื่อทางด้านทันตสุขภาพในห้องเรียน ให้มีอุปกรณ์ทำความสะอาดช่องปากรวมถึงมีความรู้ในการทำความสะอาดช่องปากที่ถูกวิธีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมี   6. มีการเฝ้าระวังปัญหาฟันผุ ทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคและค่าใช้จ่ายในการรักษาทางทันตกรรมได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2562 10:27 น.