กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบำบัดผู้สูบบุหรี่/ยาสูบใกล้บ้านใกล้ใจ
รหัสโครงการ 62-L5184-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลจะนะ
วันที่อนุมัติ 7 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 เมษายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 36,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปราณี สงบกิจ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.901,100.742place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บุหรี่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเสียชีวิตที่สำคัญ ซึ่งองค์การอนามัยโลกรายงานว่าประชากรโลกเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละ 4 ล้านคน โดยบุหรี่ / ยาสูบ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นโลหิตในสมองแตกหรือตีบ ซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) ที่ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย การบำบัดผู้สูบบุหรี่ / ยาสูบเพื่อให้เลิกสูบบุหรี่ / ยาสูบและการป้องกันการสูบบุหรี่ / ยาสูบในผู้ที่ยังไม่สูบบุหรี่ จึงเป็นการลดการเกิดโรคที่สำคัญดังกล่าว และเป็นการลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการเป็นโรคที่มีสาเหตุจากการสูบบุหรี่ / ยาสูบ จากสถิติพบว่าอัตราการสูบบุหรี่ปัจจุบันของประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ในจังหวัดสงขลามีถึง 25.32 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ) ประชากรกลุ่มเป้าหมายในตำบลบ้านนา พบว่ามีอัตราการสูบบุหรี่ / ยาสูบถึง 15.1 จากประชากร 8,441 คน (ข้อมูล HDC สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา) พบว่าการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุทำให้ป่วยเป็นโรคเรื้อรังได้ง่าย กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวควรได้รับการบำบัดรักษาโดยการให้คำปรึกษาเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมและการบำบัดด้วยยา พยาบาลเป็นบุคลากรทีมสุขภาพที่มีบทบาทในการให้คำปรึกษาเพื่อบำบัดผู้สูบบุหรี่ / ยาสูบให้เลิกสูบ แต่พบว่าผู้สูบมีจำนวนน้อยที่เข้าถึงระบบบริการเลิกของคลินิกเลิกบุหรี่ / ยาสูบ  อาจเนื่องจากปัญหาที่ระบบการคัดกรองและการส่งต่อผู้ป่วยของแต่ละคลินิกมาที่คลินิกเลิกยาสูบ ประกอบกับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบคลินิกเลิกยาสูบมีภาระงานอื่น ๆ ร่วมด้วยจึงทำให้บางครั้งผู้มารับบริการมาแล้วไม่พบผู้ให้บริการ จึงต้องเดินทางกลับ ทำให้เสียเวลาและรู้สึกว่าการเข้าถึงบริการคลินิกเลิกยาสูบยุ่งยากเลยไม่อยากมารับบริการ แม้ทางคลินิกเลิกยาสูบของโรงพยาบาลจะนะนัดให้มารับบริการในครั้งต่อไป จากเหตุผลดังกล่าว โรงพยาบาลจะนะจึงจัดทำโครงการบำบัดเลิกบุหรี่ / ยาสูบใกล้บ้าน ใกล้ใจ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสมัครใจจะเลิกยาสูบ สามารถเข้าถึงบริการได้ง่ายและเป็นกันเอง โดยไม่เสียเวลาในการเดินทางมารับบริการที่โรงพยาบาลจะนะ เพียงแค่สมัครใจจะเลิกยาสูบ ทางทีมงานการบำบัดรักษาจะลงไปให้บริการถึงพื้นที่ในชุมชนของท่าน เพื่อลดปัญหา ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางและสามารถเข้าถึงบริการ เลิกยาสูบได้ง่ายสะดวกขึ้น และดึงชุมชนให้มามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาการเข้าถึงบริการเลิกยาสูบ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูบบุหรี่ / ยาสูบสามารถเข้าถึงบริการได้สะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ มากขึ้น

ละของผู้สูบบุหรี่ / ยาสูบ สามารถเข้าถึงบริการได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10

0.00
2 2. เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบบริการคลินิกเลิกบุหรี่ / ยาสูบในชุมชน
  1. ผู้รับบริการบำบัดรักษาเลิกบุหรี่ / ยาสูบครบโปรมแกรม / สามารถเลิกยาสูบได้        ร้อยละ 30
0.00
3 3. เพื่อให้บริการในเชิงรุกและกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการได้มากขึ้นและเลิกยาสูบได้

ร้อยละะ 100 ของผู้ผ่านการบำบัดรักษาเลิกบุหรี่ / ยาสูบมีการบันทึกข้อมูลตามโปรแกรม JHCIS รหัส special  PP 1B 50…

0.00
4 4. เพื่อให้เครือข่ายสามารถนำข้อมูลผู้สูบมาวิเคราะห์และวางแผนสำหรับการป้องกันการเกิดนักสูบหน้าใหม่ในชุมชน

 

0.00
5 5. เพื่อค้นหา / สร้างบุคคลต้นแบบด้านการเลิกยาสูบในชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 36,950.00 1 35,330.00
5 เม.ย. 62 - 31 ก.ค. 62 ตรวจคัดกรองเบื้องต้น บริการให้คำปรึกษาการเลิกบุหรี่/ยาสูบและจ่ายยาเป็นรายบุคล / รายกลุ่ม ให้ความรู้เรื่อง การป้องกันโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ / ยาสูบ 0 36,950.00 35,330.00

ขั้นเตรียมการ 1. สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย 2. ประชุมคณะทำงานระดมความคิดเห็น หาแนวทาง / วิธีการและรูปแบบในการดำเนินงาน 3. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ 4. ประสานงานกับบุคคล หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง 5. จัดประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง เพื่อจัดเตรียมและวางแผนการดำเนินงาน 6. จัดเตรียมสถานที่ เอกสาร อุปกรณ์ และเวชภัณฑ์ต่างๆ 7. ประชาสัมพันธ์โครงการ ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. ลงพื้นที่เพื่อให้บริการกลุ่มเป้าหมายเป็นรายหมู่บ้าน ดังนี้ - ลงทะเบียนการเข้ารับบริการบำบัดรักษาการเลิกยาสูบ/ ตรวจคัดกรองเบื้องต้น โดยการ    ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต วัดชีพจร - บริการให้คำปรึกษาการเลิกบุหรี่/ยาสูบและจ่ายยาเป็นรายบุคล / รายกลุ่ม - วัดค่า Co ในกลุ่มเป้าหมายเพื่อประเมินสารเคมีที่ตกค้างในร่างกายจากการสูบบุหรี่ / ยาสูบ
- แจ้งผลการตรวจวัดค่า Co พร้อมทั้งให้สุขศึกษา อธิบายผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นและแนวทางการป้องกันรักษา - ให้ความรู้เรื่อง การป้องกันโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ / ยาสูบ - แจกเอกสารแผ่นพับ
- นัดครั้งต่อไป รายละ 4 ครั้ง 2. ติดตามหลังการบำบัดเลิกยาสูบ เป็นระยะ 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน 3. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยคณะทำงาน ตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย และตัวแทนชุมชน 4. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาเพื่อคืนให้ชุมชนใช้ในการแก้ไข วางแผนการดำเนินครั้งต่อไป 5. สรุปผลโครงการฯ พร้อมรายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ที่ต้องการเลิกบุหรี่ / ยาสูบได้เข้าถึงบริการเลิกบุหรี่/ยาสูบเพิ่มขึ้น - ผู้ผ่านการบำบัดรักษาเลิกบุหรี่ / ยาสูบ ไม่กลับไปสูบซ้ำภายใน ๑ ปี - ผู้รับบริการบำบัดรักษายาสูบทุกรายได้รับการตรวจวัดค่า Co (Smokerlyzer) / บันทึกข้อมูล            ใส่รหัส special PP ในโปรแกรม JHCIS และมารับบริการอย่างต่อเนื่องมากขึ้น - มีบุคคลต้นแบบในการเลิกยาสูบเกิดขึ้นในชุมชนตำบลบ้านนา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2562 08:32 น.