กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูมะพร้าววัยใสใส่ใจสุขภาพ
รหัสโครงการ 62-L5313-2-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 39,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปรีชา หมีนคลาน
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอนัญญา แสะหลี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.842,99.826place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วโดยได้รับผลกระทบจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางด้าานการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การแข่งขันทางการตลาด การสือ่สารและการคมนาคมตลอดจนการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนา ซึ่งทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของเราเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ไม่สมดุลเกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดลอ้มทั้งทางด้าน อากาศ น้ำ
อาหาร ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่แออัดและมีพฤติกรรมที่เอื้อต่อการเกิดโรค จากการดำเนินชีวิตและการมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสมขาดความสนใจและละเลยต่อการดูแลสุขภาพโดยเฉพาะสุขภาพของเด็กและเยาวชน เช่น การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน บริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ่ขาดการออกกำลังกาย ขาดความเอาใจใส่ในเรืองสุขบัญญัติ และสุขภาพองค์รวม(Holistic Health System) หรืออีกนัยหนึ่งคือการที่จะมีสุขภาพดีอย่างยั่งยื่นและสุขภาพดีถ้วนหน้านั้นต้องนำเอาหลักการสุขภาพองค์รวมมาแก้ปัญหาโดยมองว่าสุขภาพมิใช่เป็นเพื่ยงการต้้งรับเพื่อซ่อมสุขภาพเท่านั้นแต่ควรส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการดูแลสุขภาพโดยให้ประชาชนสามารถสร้างเสริมสุขภาพที่ดีด้วยตนเอง สุขภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ทุกคนเริ่มตั้งแต่เกิดจนตาย การมีสุขภาพที่ดีย่อมก่อให้เกิดความพร้อมในการปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถมีประสิทธิภาพงานเต็มที่ และการมีสุขภาพดีเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย เด็กเล็ก เด้กก่อนวัยเรียน เป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญอย่างยิ่งของการพัฒนา   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ในปีเด็กสากล พุทธศักราช ๒๕๒๒ พระราชดำรัสว่า เด็กเป็นผู้ที่รับช่วงทุกสิ่งทุกอย่างจากผู้ใหญ่รวมทั้งภาระความรับผิดชอบในการธำรงรักษา ความสุขสงบของประชากรโลก จากพระราชดำรัสจะเห็นได้ว่า เด็กและเยาวชนเป็นบุคคลสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อจากผู้ใหญ่ ในฐานะครู ผู้ปกครองเด็กเป็นบุคคลทีมีความสำคัญในการปลูกฝังและเตรียมความพร้อมให้เด็กทั้งด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปัญญา ดังนั้นเด็กและเยาวชนควรได้รับการส่งเสริมการดูแล เรื่องสุขบัญญัติการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน การบริโภคอาหารที่ถูกโภชนาการ การออกกำลังกาย การเสริมสร้างสุขภาพและสุขภาพองค์รวม(Holistic Health System)การที่ส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความรู้และได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็ก และรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของเด็กเล็กฟันดี และควรให้เด็กและเยาวชนรู้จักใช้ชีวิตประจำวันโดยนำสุขบัญญัติที่ดี การดูแลสุขภาพโดยการออกกำลังกายการส่งเสริมสุขภาพผ่านกิจกรรมด้านกีฬา นันทนาการในวัยเด็กถือว่าการออกกำลังกายยังช่วยให้เด็กเล็กมีการตัดสินใจดีขึ้น ประสาทและกล้ามเนื้อมีความสัมพันธ์กันและเป็นการปูพื้นฐานทักษะ ทำให้เด็กรู้จัดควบคุมกล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหวไดดี การเคลื่อนไหวในขั้นยากๆเมือเติบโตขึ้นและการออกกำลังกายนั้นสามรถช่วยลดอัตราความเครียดเสริมสร้างสมาธิของเด็กซึ่งช่วยในการพัฒนาการของเด็กและเยาวชนได้เป็นอยย่างดีในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา สำนักส่งเสริมสุขภาพกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข(๒๕๔๕)กล่าวถึงแนวคิดโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพการดำเนินงานการพัฒนาที่มีความครอบคลุมทุกมิติด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมโดยสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของทุกคนท้ังในโรงเรียนและชุมชนให้สามารถนำความรู้และทักษะด้านสุขภาพมาประยุกต์ใข้ในชีวิตประจำวันด้วยการดูแลใส่ใจสุขภาพของตนเองและผู้อื่นรวมทั้งสามารถตัดสินใจในการควบคุมสภาวการณ์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพโดยเฉพาะนักเรียนจะได้รับการปลูกฝังทัศนคติฝึกทักษะและพฤติกรรมมสุขภาพที่เหมาะสมสมาชิกในชุมชนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สะอาดและปลอดภัยทำให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนนาคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ประกอบกับกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่มีเจตนารมณ์ในการสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เขามามีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่่สนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ การดูแลสุขภาพตนเอง การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพ ตระหนักต่อการปรับเปลีียนพฤติกรรมสุขภาพและการดำรงชีวิต สมารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและการสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วง(สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช) ๒๕๕๗)กำหนดวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อสนับสนุนและส่งเสิรมการจัดบริการหรือสถานบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุขหรือหน่วยงานอื่นหรือสนับสนุนและส่งเสริมให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขในพื้นที่เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการกลุ่มผุ้ประกอบอาชีพที่มีความเสรียงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื่้อรังที่อยู่ในพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อมความเหมาะสมและความต้องการของประชาชนในพื้นที่           โรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าวสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล และกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละงู ในฐานะสถาบันที่พัฒนาเด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียน ได้เล่งเห็นความสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน เนื่องจากเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักตามประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ.๒๕๕๗ ที่ต้องส่งเสริมพัฒนาการ กระบวนการเรียนรู้และประสบการณ์ความฉลาดทางผัญญาและอารมณ์ในกลุ่มเด็กเล็ก เด็กก่อนวับเรยน เด็กวับเรียนและเยาวชน สถานศึกษา ชุม่ชน และครู บุคลากร ผู้ปกครองมีบมบาทสำคัญยิ่งในการสรางเสริมสุขภาพการป้องกันโรค การปลูกฝังพฤติกรรมสถขำาพ ท้้งด้านการดูแลสุขภาพตนเองและดูแลความสะอาดของสิ่งแวดล้อม อันจะะส่งผลให้มีพฤติรรมสุขภาพที่ดีเมือเติบโตเป็นผู้ใหญ่การเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านต่างๆเพื่อให้สามารถดูแลเด็กได้ดียิ่งขึ้น จึงได้การดำเนินโครงการหนูมะพร้าววัยใสใส่ใจสุขภาพ จากกองทนุหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละงูเพื่อดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนอย่างต่อเนื่องสามารถพัฒนาและยกระดับคุณภาพของโรงเรียนด้านการจัดการสุขภาพนำมาซึ่งการผ่านการประเมินและรับรองการเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพในโอกาสต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้เด็กระดับปฐมวัยมีสุขภาพช่องปากที่ดีและฟันที่แข็งแรง

นักเรียนระดับปฐมวัยร้อยละ  ๙๐  มีสุขภาพช่องปากที่ดีและฟันที่แข็งแรง

0.00
2 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการของนักเรียนระดับปฐมวัยที่มีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ

นักเรียนกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะทุพโภชนาการร้อยละ  ๘๐  มีภาวะโภชนาการสมส่วน

0.00
3 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้เด็กระดับปฐมวัยมีสุขภาพที่แข็งแรง

นักเรียนร้อยละ  ๘๐  มีสุขภาพที่แข็งแรงและสมบุรณ์

0.00
4 เพื่อให้ผู้ปกครองนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจการส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมตามช่วงวัยเด็กก่อนวัยเรียน

ผู้ปกครองร้อยละ  ๘๐  มีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมัฒนาการที่เหมาะสมตามช่วงวัยเด็กก่อนวัยเรียน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
29 เม.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมหนูมะพร้าวฟันดียิ้มสวย 0 8,000.00 8,000.00
29 เม.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมโภชนาการดีที่ห้วยมะพร้าว 0 10,900.00 10,900.00
29 เม.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์พัฒนาการเด็กปฐมวัย 0 21,000.00 21,000.00
29 เม.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมรายงานผลการประเมินโครงการ 0 0.00 -
20 มี.ค. 63 0 0.00 -
20 มี.ค. 63 0 0.00 -
รวม 0 39,900.00 3 39,900.00

การดำเนินงานโครงการสุขภาพดีที่ห้วยมะพร้าว กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละงู มีขั้นตอนดังนี้ ๑.ข้ันวางแผน(Plan) ๑.๑ ประชุมชี้แจงนโยบายโครงการสุขภาพดีที่ห้วยมะพร้าว กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละงูให้บุคลากรทราบ ๑.๒ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ โครงการสุขภาพดีที่ห้วยมะพร้าว กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละงู ๑.๓ ให้คณะกรรมการดำเนินการวางแผน กำหนดบทบาทของผู้เกี่ยวข้องสำรวจความต้องการของครู นักเรียน ผุ้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อกำหนดแนวการจัดกิจกรรมโครงการสุขภาพดีที่ห้วยมะพร้าว กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละงู ให้สอดคล้องกับนโยบาย การจัดเตรียมความพร้อมด้านอาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณกำหนดกิจกรรม ระยะเวลา งบประมาณ และผู้รับผิดชอบกิจกรรม ๑.๔ คณะกรรมการดำเนินการจัดทำโครงการสุขภาพดีที่ห้วยมะพร้าว เสนออนุมัติต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละงู ๒. ขั้นดำเนินงานตามแผน(Do) กำหนดกิจกรรมที่มุ่งให้การเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค พัฒนาและปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพ เด็กวัยเรียนและเยาวชน ผู้ปกครอง ชุมชน โดยรูปแบบและวิธีการที่วางแผนไว้ให้สอดคล้องกับลักษณะกิจกรรม ระยะเวลา ที่กำหนดตามแผนงาน โดยร่วมมือกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

-เด็กระดับปฐมวัยมีสุขภาพช่องปากที่ดีและฟันที่แข็งแรง -มีการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการของนักเรียนระดับปฐมวัยที่มีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ -เด็กระดับปฐมวัยมีสุขภาพแข็งแรง -นักเรียนพัฒนาการที่เหมาะสมตามช่วงวัยเด็กก่อนวัยเรียน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2562 10:55 น.