กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกาหลง ลดเสี่ยง ลดภัย ลดโรค (ประเภทที่ 2)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน(ศสมช.) ม.7
วันที่อนุมัติ 11 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 23 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,175.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุดา ธรรมโชติ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.953,100.03place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลง มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสูงขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การคมนาคม อุตสาหกรรม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านศาสตร์การแพทย์และการสาธารณสุข จากการพัฒนาดังกล่าวส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงมาก ทำให้มนุษย์มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการดำเนินชีวิตในประจำวัน ขาดการดูแลสุขภาพในด้านปัจเจกบุคคลที่ส่งผลต่อปัญหาด้านสุขภาพสูงขึ้นโดยในปี พ.ศ.2550-2554 พบผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5 โรค (รายใหม่และรายเก่า) จำนวน 3,260,962 ราย แยกเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งพบสูงสุด จำนวน 1,997,700 บาท รองลงมา คือ โรคเบาหวาน 1,025,337 ราย โรคเรื้อรัง ทางเดินหายใจส่วนล่าง 105,908 ราย โรคหัวใจขาดเลือด 72,527 ราย และโรคหลอดเลือดสมอง 59,490 ราย ซึ่งแนวโน้มระหว่างปี พ.ศ.2549-2554 พบว่า โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีอัตราผู้ป่วยสะสมเพิ่มขึ้น ส่วนโรคเรื้อรังทางเดินหายใจส่วนล่าง โรคหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง มีแนวโน้มที่ลดลง (ที่มา : รายการการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปี พ.ศ.2554 สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข) และจากการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม พบว่าจังหวัดสตูล ก็เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีผู้ป่วย โรคไม่ติดต่อเรื้อรังสูงติด 1 ใน 10 จังหวัด โดยปี พ.ศ.2544 โรคความดันโลหิตสูงมีอัตราป่วยสูงสุด จำนวน 3,978 ราย และโรคเบาหวานมีอัตราป่วย จำนวน 2,132 ราย (ที่มาสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข) ซึ่งโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเหล่านี้ ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อโรค แต่เกิดจากการการมีวิถีชีวิตแบบสังคมเมืองสมัยใหม่ มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป นิยมรับประทานอาหารจำพวกจานด่วนเพื่อความรวดเร็ว บริโภคอาหารรสชาติหวาน มัน เค็ม เพิ่มขึ้นรับประทานผักและผลไม้น้อยลง ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ การดื่มสุราเพิ่มขึ้นสุง ส่งผลให้มีการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้องรังเหล่านี้ จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและให้ความรู้เพื่อลดความเสี่ยงในด้านต่างๆที่ก่อให้เกิดโรค เช่น การให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร การจัดการความเครียด เป็นต้น ดังนั้นกลุ่มแกนนำสุขภาพโรงพยาบาลควนกาหลง ได้ตระหนัก และเห็นถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกาหลง ลดเสี่ยง ลดภัย ลดโรค ปีงบประมาณ 2562 เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน และให้ความรู้การปรับเปลียนพฤติกรรมตามหลัก 3อ 2ส เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีการดำเนินชีวิตที่เหมาะสม ปลอดภัย และห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีการปรับพฤติกรรมสุขภาพในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องเหมาะสม ตามหลัก 3อ 2ส 2.เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกาลง ลดเสี่ยง ลดภัย ลดโรค

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ระยะก่อนดำเนินการ -ศึกษาข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ของกระทรวงสาธารณสุข และสำนักนโยบายและแผนยุทศาสตร์ สำนักงานปลัดประทรวงสาธารณสุข -คัดกรองกลุ่มเสี่ยงประชากรในเขตรับผิดชอบ หมู่ที่ 3 4 และ 7 ตำบลควนกาหลง -เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ -ประชุมเจ้าหน้าที่กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม เพื่อชี้แจงปัญหา การดำเนินงานโครงการ -ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านอาสาสมัครสาธารณสุขและผู้นำชุมชน -ประสานงานขอให้สถานที่ และติดต่อวิทยากร 2.ระยะเวลาดำเนินโครงการ -วัดระดับความดันโลหิตสูง วัดระดับน้ำตาลในเลือด วัดเส้นรอบเอว ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และคำนวณค่า BMI -จัดทำโครงการ -ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง -วัดความรู้ก่อนและหลังอบรม -ประเมินพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3อ 2ส -วัดความรู้ ก่อน-หลัง อบรม -ประเมินพฤติกรรมสุขภาพ 3.ระยะเวลาดำเนินโครงการ -ติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส โดยใช้แบบประเมินสุขภาพ และสมุดบันทึกสุขภาพหลังจากเสร็จสิ้นโครงการไปแล้ว 2 สัปดาห์ -ประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2.ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีสุขภาพที่ดี มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส 3.ร้อยละ 80 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกาหลง ลดเสี่ยง ลดภัย ลดโรค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2562 00:16 น.