กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการส่งเสริมสุขภาวะและลดการตั้งครรภ์วัยรุ่นเทศบาลนครสงขลา เพื่อการส่งเสริมบทบาทครอบครัวและชุมชน ในการสื่อสารกับบุตรหลานวัยรุ่น (กิจกรรมเปิดห้องเรียน(อบรม)พ่อแม่ “ผู้ใหญ่คุยเปิดใจ ลูกหลานปลอดภัย”)

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา


“ โครงการส่งเสริมสุขภาวะและลดการตั้งครรภ์วัยรุ่นเทศบาลนครสงขลา เพื่อการส่งเสริมบทบาทครอบครัวและชุมชน ในการสื่อสารกับบุตรหลานวัยรุ่น (กิจกรรมเปิดห้องเรียน(อบรม)พ่อแม่ “ผู้ใหญ่คุยเปิดใจ ลูกหลานปลอดภัย”) ”

อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
(.......นายเอกชัย กิ้มด้วง......) ตำแหน่ง...ประธานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลนครสงขลา เขต 2....

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาวะและลดการตั้งครรภ์วัยรุ่นเทศบาลนครสงขลา เพื่อการส่งเสริมบทบาทครอบครัวและชุมชน ในการสื่อสารกับบุตรหลานวัยรุ่น (กิจกรรมเปิดห้องเรียน(อบรม)พ่อแม่ “ผู้ใหญ่คุยเปิดใจ ลูกหลานปลอดภัย”)

ที่อยู่ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 62-L7250-02-32 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 ถึง 30 กันยายน 2562


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมสุขภาวะและลดการตั้งครรภ์วัยรุ่นเทศบาลนครสงขลา เพื่อการส่งเสริมบทบาทครอบครัวและชุมชน ในการสื่อสารกับบุตรหลานวัยรุ่น (กิจกรรมเปิดห้องเรียน(อบรม)พ่อแม่ “ผู้ใหญ่คุยเปิดใจ ลูกหลานปลอดภัย”) จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมสุขภาวะและลดการตั้งครรภ์วัยรุ่นเทศบาลนครสงขลา เพื่อการส่งเสริมบทบาทครอบครัวและชุมชน ในการสื่อสารกับบุตรหลานวัยรุ่น (กิจกรรมเปิดห้องเรียน(อบรม)พ่อแม่ “ผู้ใหญ่คุยเปิดใจ ลูกหลานปลอดภัย”)



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมสุขภาวะและลดการตั้งครรภ์วัยรุ่นเทศบาลนครสงขลา เพื่อการส่งเสริมบทบาทครอบครัวและชุมชน ในการสื่อสารกับบุตรหลานวัยรุ่น (กิจกรรมเปิดห้องเรียน(อบรม)พ่อแม่ “ผู้ใหญ่คุยเปิดใจ ลูกหลานปลอดภัย”) " ดำเนินการในพื้นที่ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 62-L7250-02-32 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กุมภาพันธ์ 2562 - 30 กันยายน 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 397,900.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น รัฐบาลกำหนดเป็นวาระเร่งด่วนโดยมีนโยบายกำหนดให้ประสานการทำงานระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในสังคมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.๒๕๕๙ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ และมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙ เป็นต้นมา ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.๒๕๕๙ มีการมอบหมายภารกิจตามยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๙ ในยุทธศาสตร์ที่ ๒ ส่งเสริมบทบาทครอบครัว ชุมชน และสถานประกอบกิจการในการเลี้ยงดู สร้างสัมพันธภาพและการสื่อสารด้านสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่น หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบคือ กระทรวงมหาดไทย โดยนโยบายการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๙ ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นพ.ศ.๒๕๕๙ กำหนดให้ราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการให้วัยรุ่นในเขตราชการส่วนท้องถิ่นได้รับสิทธิตามมาตรา ๕ ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับท้องถิ่น ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด มีทรัพยากรในการทำงาน มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ต้องช่วยกันนำพาขับเคลื่อนหนุนเสริมเพื่อให้วัยรุ่นและครอบครัวมีความรู้เรื่องเพศศึกษามากขึ้น มีทักษะชีวิตที่ดี มีพฤติกรรมที่เหมาะสมสามารถเข้าถึงบริการและสวัสดิการต่างๆ มากขึ้น เพราะปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเกี่ยวกับประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ จากการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมา สามารถประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการจากกรอบการประเมิน 3 มิติ คือ มิติประสิทธิผล มิติประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน สามารถสรุปได้ดังนี้ 1. มิติประสิทธิผล การดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมสุขภาวะและลดการตั้งครรภ์วัยรุ่นเทศบาลนครสงขลา  กิจกรรมเปิดห้องเรียน(อบรม)พ่อแม่ “ผู้ใหญ่คุยเปิดใจ ลูกหลานปลอดภัย” สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิผล สามารถจัดกิจกรรมเปิดห้องเรียนอบรมพ่อแม่ ผู้ปกครอง ได้จำนวน 38 รอบ กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมถึง 1,556 คน ผลการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์
2. มิติประสิทธิภาพ การดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมสุขภาวะและลดการตั้งครรภ์วัยรุ่นเทศบาลนครสงขลา  กิจกรรมเปิดห้องเรียน(อบรม)พ่อแม่ “ผู้ใหญ่คุยเปิดใจ ลูกหลานปลอดภัย” สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพระดับหนึ่ง กล่าวคือ ภาคีผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาวะวัยรุ่น เห็นความสำคัญ และสามารถประสานความร่วมมือในการกำหนดทิศทาง วางแผนงาน ติดตามกำกับ และสนับสนุนกิจกรรมโครงการในลักษณะบูรณาการจากทุกภาคส่วนในสังคม เห็นได้ชัดเจนจากโครงสร้างคณะทำงานโครงการที่กำหนดให้มีผู้แทนคณะทำงานจากองค์ประกอบของพื้นที่จากหลายภาคส่วน เพื่อให้เกิดการพัฒนาสมรรถนะของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาวะวัยรุ่นให้มีความชัดเจน ครอบคลุม และตรงตามกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ส่งผลให้โครงการมีการวางแผนอย่างบูรณการ และร่วมสนับสนุนทรัพยากรในการดำเนินกิจกรรมของโครงการ ที่จะนำไปสู่ความการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนอย่างยั่งยืน ในส่วนของกิจกรรมเปิดห้องเรียน(อบรม)พ่อแม่ “ผู้ใหญ่คุยเปิดใจ ลูกหลานปลอดภัย” ซึ่งกลุ่มเป้าหมาย คือ พ่อแม่ ผู้ปกครองที่มีลูกหลานเป็นเด็กหรือวัยรุ่น ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้ พ่อแม่ ผู้ปกครองได้เข้าใจเรื่องวิถีชีวิตวัยรุ่น เข้าใจเรื่องเพศ และผลกระทบในการสื่อสาร ได้เห็นบทบาทของตัวเองในการพูดคุยเชิงบวก และเป็นที่พึ่งในบ้าน และได้ฝึกทักษะการพูดคุยเชิงบวก และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องทักษะต่างๆ เสียงสะท้อนจากพ่อแม่ ผู้ปกครองที่ผ่านการอบรม พ่อแม่ ผู้ปกครอง มี ความรับรู้ ข้อมูล ทัศนะ และ ทักษะสื่อสารในครอบครัว ที่เป็นผลดีต่อการพัฒนาวัยรุ่นในการใช้ชีวิตทางเพศที่ปลอดภัยและรับผิดชอบ การมีส่วนร่วมของกลุ่มพ่อแม่ ผู้ปกครองลุกขึ้นมาเป็นภาคีสำคัญในการร่วมกันพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาวะทางเพศของเยาวชน เพื่อป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบอันเกิดจาก การใช้ชีวิตทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอชไอวี และ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และเกิดเครือข่ายผู้ปกครองที่เข้ามาร่วมดูแลลูกๆ หลานๆ ร่วมกับโรงเรียน ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพการดำเนินงานของโครงการ 3. ความคุ้มค่า โครงการส่งเสริมสุขภาวะและลดการตั้งครรภ์วัยรุ่นเทศบาลนครสงขลา กิจกรรมเปิดห้องเรียน(อบรม)พ่อแม่ “ผู้ใหญ่คุยเปิดใจ ลูกหลานปลอดภัย” มีความคุ้มค่าในการดำเนินงานเนื่องจากการทำงานในเชิงกระบวนการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในพื้นที่ มีเป้าหมายปลายทางเพื่อลดปัญหาเรื่องการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ที่สำคัญคือเป็นการทำงานในมิติของการป้องกัน พ่อแม่ได้ทบทวนช่องว่างที่เกิดขึ้นกับลูกและได้วิธีแนวทางสื่อสารเชิงบวกกับลูกหลานและสมาชิกในบ้าน สร้างพ่อแม่ที่ปรับเปลี่ยนทัศนคติ เข้าใจลูก เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนอย่างแท้จริง เมื่อเปรียบเทียบความคุ้มค่าจากงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนในการจัดกิจกรรม จำนวน 486,975 บาท กับจำนวนพ่อแม่ ผู้ปกครองที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 1,556 คน พบว่าค่าใช้จ่ายต่อประชาชน 1 คนในการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นค่าใช้จ่ายเพียง 324.60 บาทต่อคน นอกจากนี้ยังสามารถระดมทรัพยากรทั้งงบประมาณ อุปกรณ์ บุคลากร จากภาคีเครือข่าย มาสนับสนุนการดำเนินงานโครงการฯ อันเป็นการสร้างความคุ้มค่าให้แก่การดำเนินโครงการเป็นอย่างยิ่ง การป้องกันปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ จึงเป็นเรื่องสำคัญ นอกเหนือจากโรงเรียนต้องให้ความรู้แก่ตัววัยรุ่นเองเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันและมีทักษะในการใช้ชีวิตทางเพศ แล้วครอบครัวก็ต้องเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งหน้าที่สำคัญของพ่อแม่ /ผู้ปกครองในการช่วยให้เด็กมีภูมิคุ้มกันในเรื่องเพศ คือ การสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดผ่านการสนทนาแบบ“เปิดใจคุย” อันเป็นที่มาของการประสานความร่วมมือกับมูลนิธิแพธทูเฮลท์ ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำงานด้านการพัฒนาสุขภาวะเยาวชนมายาวนาน และร่วมมือกับเชฟรอนมาในหลายโครงการมากกว่าแปดปี เพื่อให้เข้ามาเป็นหน่วยวิชาการและขับเคลื่อนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชน ตื่นตัวขึ้นมาร่วมกันออกแบบ วางแผน และดำเนินงานร่วมกัน โดยมีหัวใจสำคัญคือการมีส่วนร่วมของกลุ่มพ่อแม่ ผู้ปกครองลุกขึ้นมาเป็นภาคีสำคัญในการร่วมกันพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาวะทางเพศของเยาวชน เพื่อป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบอันเกิดจาก การใช้ชีวิตทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอชไอวี และ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เข้าใจเรื่องวิถีชีวิตวัยรุ่น เข้าใจเรื่องเพศ และผลกระทบในการสื่อสาร
  2. 2. เห็นบทบาทของตนเองในการพูดคุยเชิงบวก และเป็นที่พึ่งในบ้าน 3. ฝึกทักษะการพูดคุยเชิงบวก และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องทักษะต่างๆ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 1,000
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1.พ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่กำลังดูแลบุตรหลานในชุมชนได้รับการทำความเข้าใจ และส่งเสริมให้สื่อสารในเชิงบวก เพื่อส่งเสริมให้เกิดการป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาวะทางเพศ และใช้ชีวิตทางเพศอย่างรับผิดชอบ 2.พ่อแม่ ผู้ปกครอง วัยรุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านความรู้ ความเข้าใจ เจตนคติ และทักษะที่เกี่ยวข้องในการป้องกัน ส่งเสริม และแก้ไขปัญหาสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่น 3.เกิดการระดมทรัพยากรจากท้องถิ่นมาร่วมสนับสนุนกิจกรรมของโครงการ 4.พ่อแม่ ผู้ปกครองเข้าร่วม และสนับสนุนการทำงานของโครงการ และเกิดแกนนำที่สามารถเป็นปากเสียงและผลักดันการแก้ไขปัญหาวัยรุ่นต่อเนื่องหลังโครงการสิ้นสุด


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    3.1 เตรียมแผนปฏิบัติงาน กิจกรรมเปิดห้องเรียน(อบรม)พ่อแม่ “ผู้ใหญ่คุยเปิดใจ ลูกหลานปลอดภัย”) 3.2 วางแผนการทางานและเสนอโครงการต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสงขลา 3.3 ประสานงานกับคณะวิทยากรผู้ให้การอบรม 3.4 ประสานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ 3.5 เตรียมสื่อ เอกสาร และสถานที่ฝึกอบรม 3.6 จัดกิจกรรมเปิดห้องเรียนพ่อแม่ให้กับพ่อแม่ ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานวัยรุ่นในพื้นที่เทศบาลนครสงขลา ตามปฏิทินการปฏิบัติกิจกรรมเปิดห้องเรียน(อบรม)ฯ 3.7 ประเมินและติดตามผล 3.8 สรุปและรายงานผลต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสงขลา

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1. เข้าใจเรื่องวิถีชีวิตวัยรุ่น เข้าใจเรื่องเพศ และผลกระทบในการสื่อสาร
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความมั่นใจการรับรู้ความสามารถของตนเองในการสื่อสารระหว่างพ่อแม่ ผู้ปกครอง กับบุตรหลาน ในระดับมาก (แบบสอบถามสำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครองที่เข้าร่วมกิจกรรม) แบบสอบถาม Pre-Test , Post-Test
    80.00 0.00

    แบบประเมินความพึงพอใจการอบรมพ่อแม่ ผู้ปกครอง เพื่อพัฒนาการสื่อสารเรื่องเพศกับลูกหลาน Pre-test , Post-test

    2 2. เห็นบทบาทของตนเองในการพูดคุยเชิงบวก และเป็นที่พึ่งในบ้าน 3. ฝึกทักษะการพูดคุยเชิงบวก และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องทักษะต่างๆ
    ตัวชี้วัด : 2. ร้อยละ 80 ของบุตรหลานผู้เข้าร่วมการอบรมมีความพึงพอใจ สัมพันธภาพในครอบครัว การสื่อสารเพื่อสร้างสุขภาวะทางเพศในเยาวชน อยู่ในระดับดี (แบบสอบถามสำหรับบุตรหลานที่พ่อแม่ ผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรม) แบบสอบถาม
    80.00

    แบบประเมินการรับรู้ความสามารถของตนเองในการสื่อสารระหว่างพ่อแม่/ผู้ปกครองกับวัยรุ่นเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางเพศในเยาวชน ก่อนและหลังการอบรม

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 1000 1000
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 1,000 1,000
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เข้าใจเรื่องวิถีชีวิตวัยรุ่น เข้าใจเรื่องเพศ และผลกระทบในการสื่อสาร (2) 2. เห็นบทบาทของตนเองในการพูดคุยเชิงบวก และเป็นที่พึ่งในบ้าน 3. ฝึกทักษะการพูดคุยเชิงบวก และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องทักษะต่างๆ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการส่งเสริมสุขภาวะและลดการตั้งครรภ์วัยรุ่นเทศบาลนครสงขลา เพื่อการส่งเสริมบทบาทครอบครัวและชุมชน ในการสื่อสารกับบุตรหลานวัยรุ่น (กิจกรรมเปิดห้องเรียน(อบรม)พ่อแม่ “ผู้ใหญ่คุยเปิดใจ ลูกหลานปลอดภัย”) จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 62-L7250-02-32

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( (.......นายเอกชัย กิ้มด้วง......) ตำแหน่ง...ประธานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลนครสงขลา เขต 2.... )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด