กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการต้นแบบเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ม.12 ต.ละงู
รหัสโครงการ 62-L5313-2-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุข ม.12 บ้านในเมือง
วันที่อนุมัติ 22 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 56,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอัลวาณีย์ วงสุธรรม
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอนัญญา แสะหลี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.8606658734773,99.792401790619place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 18 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี 2556 มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย พบว่า ผู้สูงอายุร้อยละ 2 อยู่ในสภาวะ "ติดเตียง" คืออยู่ในสภาวะพิการไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และร้อยละ 19 "ติดบ้าน" คือมีปัญหาการเคลื่อนไหว ไม่สามารถออกจากบ้านได้โดยสะดวก ทำให้ไม่มีความสุข ท้อแท้ รู้สึกไร้ค่า และการเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อมลงเหล่านี้อาจทำให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะซึมเศร้า จึงเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสุขภาพที่พึงประสงค์ 5 กิจกรรม ได้แก่ 1)ออกกำลังกาย 2)รับประทานผักสดและผลไม้ 3)ดื่มน้ำสะอาดวันละ 8 แก้วหรือมากกว่า 4)ไม่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ 5)สูบบุหรี่่ มีเพียงร้อยละ 18.7 เท่านั้น การออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นพฤติกรรมที่พบได้ต่ำที่สุด สถานการณ์ผู้สูงอายุประเทศไทย พ.ศ. 2559 มีผู้สูงอายุจำนวนมากที่อาจจัดอยู่ในภาวะเปราะบาง หนึ่งในสามของผู้สูงอายุมีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน บุตรซึ่งเคยเป็นแหล่งรายได้สำคัญของผู้สูงอายุมีสัดส่วนลดลง ผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพังคนเดียว หรือตามลำพังกับผู้สูงอายุด้วยกันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จำนวนผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง มีประมาณ 4 แสนคน และผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่่อมมีประมาณ 6 แสน คน ในปี 2559 มีแนวโน้นที่จะเพิ่มขึ้นอีกมาก ในเขตพื้นที่หมู่ที่ 12 ต.ละงู มีผู้สูงอายุทั้งหมด 155 คน เป็นผู้สูงอายุติดเตียง 5 คน ติดบ้าน 17 คน ซึ่งน่าจะมีภาวะซึมเศร้า ประกอบกับผู้สูงอายุติดสังคมที่ยังใช้ชีวิตตามปกติจำนวน 132 คน ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ 12 บ้านในเมือง จึงจัดทำโครงการต้นแบบผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ม. 12 บ้านในเมือง โดยมีแนวคิดให้ผู้สูงอายุที่ติดสังคมที่สามารถเคลื่อนไหวได้ ออกกำลังกายเป็นกลุ่มด้สยการเดินตระเวณไปเยี่ยมเยียนให้กำลังใจผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งผู้เยี่ยมและผู้ถูกเยี่ยม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเสริมสร้างกำลังใจแก่ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง

ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงมีกำลังใจและแนะนำการดูแลสุขภาพที่ดี

0.00
2 2.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทางกาย การออกกำลังกาย การรเยี่ยมเยี่ยนผู้สูงอายุในชุมชน

ผู้สูงอายุมีการการออกกำลังกาย โดยการเดินอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 60

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 56,450.00 5 56,450.00
??/??/???? จัดตั้งคณะทำงานโครงการและการประชุมคณะทำงาน จำนวน 3 ครั้ง 0 12,300.00 12,300.00
??/??/???? ตรวจสุขภาพก่อนเริ่มโครงการ 0 7,450.00 7,450.00
??/??/???? คืนข้อมูลและอบรมเชิงปฎิบัติการการเยี่่ยมบ้านและจัดทำลูกประคบเพื่อใช้ในการเยี่ยมบ้านจำนวน 1 วัน 0 10,500.00 10,500.00
??/??/???? ลงเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง เดือนละ 2 ครัง 0 17,400.00 17,400.00
??/??/???? เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สรุปบทเรียนการดำเนินงาน(จัดหลังจากการดำเนินงานเสร็จสิ้นแล้ว) 0 8,800.00 8,800.00

1.จัดตั้งคณะทำงานโครงการและประชุมคณะทำงาน 2.จัดทำรายชื่อและที่อยู่ของผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง สำรวจเส้นทางการเยี่ยมผู้สูงอายุ 3.ตรวจสุขภาพก่อนเริ่มโครงการ ผู้สูงอายุ ติดบ้าน 17 คน ติดเตียง 5 คน ติดสังคม 17 คน
4.อบรมเชิงปฏิบัติการการเยี่ยยมบ้านและการจัดทำลูกประคบ การดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง 5. ลงเยี่ยมผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง เดือนละ 2 ครั้ง
6.เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สรุปเรียนการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง และผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เกิดกระบวนการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การดูแลสุขภาพระหว่างผู้สูงอายุในชุมชนและอสม. ม. 12 บ้านในเมือง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2562 00:00 น.