โครงการหนูน้อยสุขภาพดี
ชื่อโครงการ | โครงการหนูน้อยสุขภาพดี |
รหัสโครงการ | 62-L5182-01-15 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพ.สต.นาหว้า |
วันที่อนุมัติ | 1 พฤษภาคม 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 25,325.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางนิรมล มุสิกรักษ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.896,100.655place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 พ.ค. 2562 | 30 ก.ย. 2562 | 25,325.00 | |||
รวมงบประมาณ | 25,325.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 42 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ทุกคนอยากมีสุขภาพดีไม่เจ็บป่วยซึ่งการกินอาหารที่ถูกต้อง เหมาะสม และพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดีและนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไปก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน "โภชนาการ" จึงเป็นเรื่องของการกิน "อาหาร" ที่ร่างกายเรานำ "สารอาหาร" จากอาหารไปใช้ประโยชน์และดำรงชีวิตได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรวัยต่างๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัยทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุฯ โดยเฉพาะในเด็กก่อนวัยเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญ เหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยเฉพาะในระยะ 2 ปีแรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด เพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการณ์เจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง และจากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน (0 - 5 ปี) จะพบว่าพื้นที่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหว้า ในช่วงไตรมาสที่ผ่านมามีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 42 คน จากเด็กทั้งหมด 494 คน คิดเป็นร้อยละ 8.50 น้ำหนักค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์ 36 คน คิดเป็นร้อยละ 7.28 ซึ่งตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้มีไม่เกิดร้อยละ 7 และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พัฒนาการเด็กจึงเป็นเหตุผลอย่างหนึ่งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจและสังคมล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญหาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้าหรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาหารเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยากและขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ซึ่งจากการสำรวจพัฒนาการในเด็กไทยพบว่าเด็ก 0 - 5 ปี มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ 30 หรือประมาณ 4 ล้านคน ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหว้า ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังทางโภชนาการจึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยสุขภาพดีในเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดอัตราเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ
|
0.00 | |
2 | เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก 0 - 5 ปี มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการศึกษาและการดูแลสุขภาพช่องปากที่เหมาะสมตามวัย
|
0.00 | |
3 | เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพดีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 80
|
0.00 | |
4 | เพื่อลดอัตราการเกิดโรคในช่องปาก ฟันผุ โรคเหงือกและปริทันต์อักเสบ
|
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 140 | 25,325.00 | 1 | 25,325.00 | |
18 ก.ย. 62 | หนูน้อยสุขภาพดี | 140 | 25,325.00 | ✔ | 25,325.00 |
กิจกรรมที่ 1การแก้ไขปัญหาโภชนาการ 1. สำรวจข้อมูลนำเสนอที่ประชุม อสม./แกนนำชุมชนเพื่อวิเคราะห์ปัญหา 2. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมประชุมกับอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อเสนอข้อมูลและสภาพปัญหาเกี่ยวกับเด็กก่อนวัยเรียนในแต่ละชุมชนร่วมกันพิจารณาผลกระทบของปัญหาและกำหนดแนวทางของการแก้ปัญหา 3. จัดทำโครงการนำเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลนาหว้า 4. จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี ที่ขาดสารอาหาร ระดับ 1 และขาดสารอาหารระดับ 2 จำนวน 42 คน เรื่องการดูแลอาหารโภชนาการสำหรับลูกของตนเองพร้อมทั้งประเมินภาวะโภชนาการทุกเดือน 5. จ่ายชุดกิ๊ฟเซ็ท แก่เด็ก 0-5 ปี ที่มีภาวการณ์เจริญเติบโตต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 6.ติดตามการชั่งน้ำหนักเด็ก 0-5 ปี กลุ่มเป้าหมายทุก 1 เดือน 7. ประเมินผลการดำเนินงานทุก 1 เดือน 8. รายงานผลการดำเนินงาน กิจกรรมที่ 2 ด้านการส่งเสริมโภชนาการและทันตสุขภาพในเด็ก 9 เดือน - 3 ปี 1. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก 9 เดือน - 3ปี เรื่องการดูแลความสะอาดช่องปากที่เหมาะสมตามวัย โภชนาการที่เด็กควรได้รับและพัฒนาการที่สมวัย แบ่งเป็น 2 รุ่น คือ รุ่นที่ 1 มี 70 คน และรุ่นที่ 2 มี 70 คน 2. ตรวจสุขภาพช่องปาก 3. ทาฟลูออไรด์วานิช 4. ฝึกการแปรงฟันที่ถูกวิธีและใช้ยาสีฟันที่ส่วนผสมของฟลูออไรด์ การประเมินผล 1. ประเมินผลการทดสอบของผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กก่อนและหลังการให้ความรู้ 2. สังเกตการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก 3. ประเมินจากทะเบียนเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (น้ำหนักต่ำมากและน้ำหนักต่ำ) 4. ประเมินจากทะเบียนเด็กที่ติดตามชั่งน้ำหนัก ประเมินภาวะโภชนาการทุก 3 เดือน 5. แบบบันทึกการตรวจสุขภาพช่องปาก พร้อมทั้งวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคเพื่อนำไปแก้ไขปัญหาในครั้งต่อไป
- ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กมีความรู้ในการดูแลสุขภาพอนามัยเด็กอย่างถูกต้องส่งผลให้เด็กมีสุขภาพและพัฒนาการตามวัย
- ภาวะทุพโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหว้าลดลง หรือหมดไปส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการสมวัยเพิ่มมากขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2562 12:15 น.