กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
หนูน้อยสุขภาพดี18 กันยายน 2562
18
กันยายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมที่ 1การแก้ไขปัญหาโภชนาการ 1. สำรวจข้อมูลนำเสนอที่ประชุม อสม./แกนนำชุมชนเพื่อวิเคราะห์ปัญหา 2. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมประชุมกับอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อเสนอข้อมูลและสภาพปัญหาเกี่ยวกับเด็กก่อนวัยเรียนในแต่ละชุมชนร่วมกันพิจารณาผลกระทบของปัญหาและกำหนดแนวทางของการแก้ปัญหา 3. จัดทำโครงการนำเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลนาหว้า 4. จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี ที่ขาดสารอาหาร ระดับ 1 และขาดสารอาหารระดับ 2 จำนวน 42 คน เรื่องการดูแลอาหารโภชนาการสำหรับลูกของตนเองพร้อมทั้งประเมินภาวะโภชนาการทุกเดือน 5. จ่ายชุดกิ๊ฟเซ็ท แก่เด็ก 0-5 ปี ที่มีภาวการณ์เจริญเติบโตต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 6.ติดตามการชั่งน้ำหนักเด็ก 0-5 ปี กลุ่มเป้าหมายทุก 1 เดือน 7. ประเมินผลการดำเนินงานทุก 1 เดือน 8. รายงานผลการดำเนินงาน กิจกรรมที่ 2 ด้านการส่งเสริมโภชนาการและทันตสุขภาพในเด็ก 9 เดือน - 3 ปี 1. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก 9 เดือน - 3ปี เรื่องการดูแลความสะอาดช่องปากที่เหมาะสมตามวัย โภชนาการที่เด็กควรได้รับและพัฒนาการที่สมวัย แบ่งเป็น 2 รุ่น คือ รุ่นที่ 1 มี 70 คน และรุ่นที่ 2 มี 70 คน 2. ตรวจสุขภาพช่องปาก 3. ทาฟลูออไรด์วานิช 4. ฝึกการแปรงฟันที่ถูกวิธีและใช้ยาสีฟันที่ส่วนผสมของฟลูออไรด์ การประเมินผล 1. ประเมินผลการทดสอบของผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กก่อนและหลังการให้ความรู้ 2. สังเกตการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก 3. ประเมินจากทะเบียนเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (น้ำหนักต่ำมากและน้ำหนักต่ำ) 4. ประเมินจากทะเบียนเด็กที่ติดตามชั่งน้ำหนัก ประเมินภาวะโภชนาการทุก 3 เดือน 5. แบบบันทึกการตรวจสุขภาพช่องปาก พร้อมทั้งวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคเพื่อนำไปแก้ไขปัญหาในครั้งต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1. ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กมีความรู้ในการดูแลสุขภาพอนามัยเด็กอย่างถูกต้องส่งผลให้เด็กมีสุขภาพและพัฒนาการตามวัย 2. ภาวะทุพโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหว้าลดลง หรือหมดไปส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการสมวัยเพิ่มมากขึ้น ผลลัพธ์ 1. อัตราเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการลดลง 2. ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปีที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการศึกษาและการดูแลสุขภาพช่องปากที่เหมาะสมตามวัยเพิ่มขึ้น 3. เด็ก 0-5 ปีมีสุขภาพดีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 80 4. กลุ่มเด็ก 9 เดือน - 3ปี มีอัตราการเกิดโรคในช่องปากลดลง