กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพลังชุมชน รู้ตน ปรับพฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรคเรื้อรัง
รหัสโครงการ 62-L3368-1(5)
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะแพน
วันที่อนุมัติ 11 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 พฤษภาคม 2562 - 12 กรกฎาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 45,027.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะแพน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะแพน อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.645,99.878place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00
  1. ประชุมเครือข่าย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ชี้แจงทำความเข้าใจแนวทางโครงการปรับเปลี่ยนและพัฒนาพฤติกรรมลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด     2. ประสานงานภาคีเครือข่ายแต่งตั้งคณะทำงาน
        3. ประชาสัมพันธ์โครงการโดยใช้หอกระจายข่าว และเสียงตามสายในหมู่บ้าน     4. ดำเนินการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง แก่กลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปี ขึ้นไป
        5. จำแนกผลการคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย เป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยเป็นโรค ตามเกณฑ์ปิงปองจราจร 7 สี     6. นำกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ         6.1 กลุ่มปกติ ดำเนินการให้ความรู้ โดยการแจกแผ่นพับให้ความรู้เรื่องการป้องกันและการดูแลตนเองไม่ให้เป็นโรคโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจและหลอดเลือด         6.2 กลุ่มเสี่ยง
          - ดำเนินการสร้างแกนนำกลุ่มเสี่ยง จำนวน 40 คน เพื่อเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ตามกระบวนการคลินิก DPAC       - ติดตามวัดความดันโลหิตซ้ำแก่กลุ่มเสี่ยง โดย อสม.เชี่ยวชาญโรคเรื้อรัง ตลอดระยะเวลา 1 สัปดาห์ ช่วงเช้า และบ่าย นำผลการวัดความดันโลหิตมาวิเคราะห์ หากพบภาวะความดันโลหิตสูง ดำเนินการส่งต่อพบแพทย์   6.3 กลุ่มผู้ป่วย
          - รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ เข้ารับการอบรมความรู้เรื่องการดูแลตนเอง
    • ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวาน โดยทีมหมอครอบครัว พร้อมทั้งประเมินภาวะสุขภาพ และหาแนวทางแก้ไข
    • ดำเนินการจัดทำนวัตกรรม“กระเป๋าใส่ยา เตือนความจำ ” และนวัตกรรมกราฟชิวิต ลิขิตเบาหวาน ให้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยมอบให้กับผู้ป่วยที่มารับยา ที่รพ.สต.       7. อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำด้านการออกกำลังกายของชุมชนเพื่อดำเนินกิจกรรมรณรงค์การออกกำลังกายในชุมชน       8. อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำปลูกผักปลอดสารพิษ (เกษตรกร และตัวแทนนักเรียน) เพื่อดำเนินกิจกรรมและรณรงค์การปลูกผักปลอดสารพิษในชุมชน     9. จัดตั้งแปลงผักสาธิตในชุมชน 1 แปลง เพื่อส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษในชุมชน       10. ดำเนินการตลาดเกษตรปลอดสารพิษในชุมชนในโรงเรียนวัดตะแพนเพื่อส่งเสริมการบริโภคผัก ผลไม้ปลอดสารพิษและส่งเสริมการเรียนรู้การตลาดแก่นักเรียนโรงเรียนวัดตะแพน       11.จัดกิจกรรมมหกรรมวิ่งเพื่อสุขภาพ ส่งเสริมการออกกำลังกายในชุมชน       12. สรุป ติดตามผลการดำเนินงานและประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางที่เหมาะสมอย่างน้อย 3 พฤติกรรม คือ  กินผัก ผลไม้สด ปลอดสารพิษทุกวัน ลดการกินอาหารที่มีไขมันสูง และออกกำลังกายตามวัยที่เหมาะสม
          2. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวาน ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านโดยทีมหมอครอบครัว พร้อมทั้งประเมินภาวะสุขภาพ และหาแนวทางแก้ไข     3. มีแปลงผักสาธิตในชุมชน และตลาดเกษตรปลอดสารพิษในชุมชนโดยนักเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินการ     4. ลดอัตราผู้ป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2562 17:50 น.