กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง


“ โครงการชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์ รู้ทัน...ภัยโรคไข้เลือดออก ปี 2562 ”

ชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นางสุพรรณีย์ ตันติวัฒนดิลก/นางจรินดา แสวงวิทย์/น.ส. อำไพ ฤษดี

ชื่อโครงการ โครงการชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์ รู้ทัน...ภัยโรคไข้เลือดออก ปี 2562

ที่อยู่ ชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 62-L6895-02-07 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 ถึง 30 สิงหาคม 2562


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์ รู้ทัน...ภัยโรคไข้เลือดออก ปี 2562 จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์ รู้ทัน...ภัยโรคไข้เลือดออก ปี 2562



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์ รู้ทัน...ภัยโรคไข้เลือดออก ปี 2562 " ดำเนินการในพื้นที่ ชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 62-L6895-02-07 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กุมภาพันธ์ 2562 - 30 สิงหาคม 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 21,600.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาที่สำคัญของการสาธารณสุขระดับประเทศ เนื่องจากความรุนแรงของโรคแปรผันตรงต่ออัตราการตายและการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยเอง ชุมชน /สังคม ตามลำดับ แต่เดิมระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกจะพบในกลุ่มเด็กอายุระหว่าง 5-9 ปี แต่ในปัจจุบันสามารถพบได้ทุกกลุ่มอายุ และยังมีการระบาดทุกปี จากสถานการณ์ไข้เลือดออกในเขตเทศบาลเมืองกันตัง เมื่อปี 2561 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลรวมจำนวน 25 ราย โดยชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์ มีจำนวน 150 หลังคาเรือน พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 4 ราย และในการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค  และรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและเกิดความร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้
ดังนั้น  ทางกลุ่ม อสม.ชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์  จึงได้จัดทำโครงการชุมชนหลังชุมสาย โทรศัพท์ รู้ทัน...ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก ปี 2562 ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีการระบาดของไข้เลือดออก จึงต้องมีการป้องกันโดยการทำลายยุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์ โดยการสร้างความเข้าใจ ตระหนักให้ความสำคัญ จึงเกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันไข้เลือดออกได้

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก วิธีป้องกันและควบคุมโรคด้วยตนเอง ให้กับประชาชนในชุมชน ให้มีความตระหนักในการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในครัวเรือน
  2. เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก (กิจกรรมทำปูนแดงตะไคร้หอมกำจัดลูกน้ำยุงลายและกิจกรรมสำรวจทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุง )
  2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ชาวชุมชนมีความตระหนักในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง
  2. สามารถควบคุม ป้องกันการเกิดและแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนได้ในระดับหนึ่ง

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก (กิจกรรมทำปูนแดงตะไคร้หอมกำจัดลูกน้ำยุงลายและกิจกรรมสำรวจทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุง )

วันที่ 3 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  • สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในครัวเรือน
  • จัดซื้อวัสดุ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำปูนแดงตะไคร้หอม
  • ทำปูนแดงตะไคร้หอม
  • มอบปูนแดงให้ครัวเรือนที่มีความเสี่ยงนำไปใช้ในชุมชนและปรับสภาพจัดสิ่งแวดล้อมในชุมชน
  • ประเมินความพึงพอใจในครัวเรือนที่นำปูนแดงตะไคร้หอมไปใช้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. กิจกรรมสำรวจ/ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน ก่อนดำเนินกิจกรรมอบรมและหลังดำเนินกิจกรรมรณรงค์ควบคุม/ป้องกันโรคไข้เลือดออก โดย อสม.ในชุมชน  ซึ่งมีข้อมูลผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายตั้งแต่เดือนมกราคม – กันยายน 2562  ดังแสดงในตารางนี้ เดือน บ้านที่สำรวจ  (หลัง) บ้านที่พบลูกน้ำ (หลัง) ค่า HI  ค่า CI  ค่า BI มกราคม 124 19 15.32 4.87 18.54 กุมภาพันธ์ 128 25 19.53 7.14 27.34 มีนาคม 127 21 16.53 5.91 22.83 เมษายน 127 17 13.38 3.64 15.74 พฤษภาคม 128 18 15.62 3.89 25.23 มิถุนายน 125 21 16.8         3.96 22.6 กรกฎาคม 128 22 17.18 5.72 23.43 สิงหาคม 127 19 14.96 4.40 18.89 กันยายน 126 20 15.87 4.57 19.84 จากผลการสำรวจดังกล่าว  พบว่า  ก่อนดำเนินกิจกรรมค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในบ้าน (HI)  สูงที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ ร้อยละ  19.53 น้อยที่สุดในเดือนเมษายน  ร้อยละ 13.38 และหลังดำเนินกิจกรรมในเดือนกันยายน  มีค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในบ้าน (HI)  ร้อยละ 15.87  มีความเสี่ยงสูงตอการเกิดการแพรโรคไขเลือดออกในชุมชน
  2. ผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนที่เข้ารับการอบรมและสนใจนำปูนแดงตะไคร้หอมไปใช้ จำนวน  50 หลัง  พบว่า  พบลูกน้ำยุงลาย  จำนวน  3  หลัง  โดยพบในภาชนะอื่นที่ไม่ใช้  จำนวน 3 ชิ้น/ภาชนะอื่น จำนวน  1 ชิ้น  ซึ่งมีค่า HI  เท่ากับ 6 แสดงว่ามีความเสี่ยงต่ำ  คา BI  เท่ากับ 8  ค่า CI  เท่ากับ 1.09 แสดงว่ามีความเสี่ยงต่ำ
  3. จัดกิจกรรมควบคุม/ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน โดยการทำปูนแดงตะไคร้หอม  และเดินรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปรับสภาพจัดสิ่งแวดล้อมในชุมชน  พร้อมแจกเอกสารหรือแผ่นปลิว  และปูนแดงตะไคร้หอม  ในเดือนกันยายน  2562  ซึ่งมีครัวเรือนสนใจนำปูนแดงตะไคร้หอมไปใช้เพิ่มเติมอีกจำนวน 20 หลัง  โดยจะติดตามผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายในเดือนพฤศจิกายน
  4. ครัวเรือนในชุมชนที่นำปูนแดงตะไคร้หอมไปใช้  จำนวน  70  หลัง  คิดเป็นร้อยละ 46.67 ของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชน  (150  หลังคาเรือน)
  5. ประเมินความพึงพอใจการใช้ปูนแดงตะไคร้หอมในครัวเรือนที่นำปูนแดงตะไคร้หอมไปใช้  จำนวน  70  หลัง

 

0 0

2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้

วันที่ 26 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  • ลงทะเบียน
  • พิธีเปิด
  • บรรยายเรื่อง  สถานการณ์โรคไข้เลือดออก
  • พักรับประทานอาหารว่าง
  • บรรยายเรื่อง  ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก  และการดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น
  • พักรับประทานอาหารกลางวัน
  • บรรยายเรื่อง  ชีววิทยาของยุง
  • พักรับประทานอาหารว่าง
  • บรรยายเรื่อง  การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
  • มอบปูนแดงตะไคร้หอมแก่ครัวเรือนที่สนใจนำไปใช้
  • ตอบข้อซักถาม/ปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย  จำนวน  60  คน  เมื่อวันที่  26  สิงหาคม  2562  ณ  ศาลาร่วมใจชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์  แต่มีผู้เข้ารับการอบรม  จำนวน  65  คน  โดยมีวิทยากรจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 12.3 จ.ตรัง  มาให้ความรู้ในเรื่องสถานการณ์โรคไข้เลือดออก  ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก  และการดูแลเบื้องต้นผู้ป่วย  ชีววิทยาของยุง  การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก  พร้อมมอบปูนแดงตะไคร้หอมแก่ครัวเรือนที่เข้ารับการอบรมและสนใจนำปูนแดงตะไคร้หอมไปใช้จำนวน  50  หลัง

 

60 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

1.1 กิจกรรมสำรวจ/ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน ก่อนดำเนินกิจกรรมอบรมและหลังดำเนินกิจกรรมรณรงค์ควบคุม/ป้องกันโรคไข้เลือดออก โดย อสม.ในชุมชน ซึ่งมีข้อมูลผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายตั้งแต่เดือนมกราคม – กันยายน 2562 ดังแสดงในตารางนี้ เดือน จำนวนบ้านที่สำรวจ (หลัง) จำนวนบ้านที่พบลูกน้ำ (หลัง) ค่า HI ค่า CI ค่า BI มกราคม 124 19 15.32 4.87 18.54 กุมภาพันธ์ 128 25 19.53 7.14 27.34 มีนาคม 127 21 16.53 5.91 22.83 เมษายน 127 17 13.38 3.64 15.74 พฤษภาคม 128 18 15.62 3.89 25.23 มิถุนายน 125 21 16.8 3.96 22.6 กรกฎาคม 128 22 17.18 5.72 23.43 สิงหาคม 127 19 14.96 4.40 18.89 กันยายน 126 20 15.87 4.57 19.84

จากผลการสำรวจดังกล่าว พบว่า ก่อนดำเนินกิจกรรมค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในบ้าน (HI) สูงที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ ร้อยละ 19.53 น้อยที่สุดในเดือนเมษายน ร้อยละ 13.38 และหลังดำเนินกิจกรรมในเดือนกันยายน มีค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในบ้าน (HI) ร้อยละ 15.87 มีความเสี่ยงสูงตอการเกิดการแพรโรคไขเลือดออกในชุมชน
1.2 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 60 คน เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2562 ณ ศาลาร่วมใจชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์ แต่มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 65 คน โดยมีวิทยากรจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 12.3 จ.ตรัง มาให้ความรู้ในเรื่องสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก และการดูแลเบื้องต้นผู้ป่วย ชีววิทยาของยุง การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก พร้อมมอบปูนแดงตะไคร้หอมแก่ครัวเรือนที่เข้ารับการอบรมและสนใจนำปูนแดงตะไคร้หอมไปใช้จำนวน 50 หลัง 1.3 ผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนที่เข้ารับการอบรมและสนใจนำปูนแดงตะไคร้หอมไปใช้ จำนวน 50 หลัง พบว่า พบลูกน้ำยุงลาย จำนวน 3 หลัง โดยพบในภาชนะอื่นที่ไม่ใช้ จำนวน 3 ชิ้น/ภาชนะอื่น จำนวน 1 ชิ้น ซึ่งมีค่า HI เท่ากับ 6 แสดงว่ามีความเสี่ยงต่ำ คา BI เท่ากับ 8 ค่า CI เท่ากับ 1.09 แสดงว่ามีความเสี่ยงต่ำ
1.4 จัดกิจกรรมควบคุม/ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน โดยการทำปูนแดงตะไคร้หอม และเดินรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปรับสภาพจัดสิ่งแวดล้อมในชุมชน พร้อมแจกเอกสารหรือแผ่นปลิว และปูนแดงตะไคร้หอม ในเดือนกันยายน 2562 ซึ่งมีครัวเรือนสนใจนำปูนแดงตะไคร้หอมไปใช้เพิ่มเติมอีกจำนวน 20 หลัง โดยจะติดตามผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายในเดือนพฤศจิกายน 1.4 ครัวเรือนในชุมชนที่นำปูนแดงตะไคร้หอมไปใช้ จำนวน 70 หลัง คิดเป็นร้อยละ 46.67 ของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชน (150 หลังคาเรือน) 1.5 ประเมินความพึงพอใจการใช้ปูนแดงตะไคร้หอมในครัวเรือนที่นำปูนแดงตะไคร้หอมไปใช้ จำนวน 70 หลัง ซึ่งมีผลการประเมินดังตารางนี้ รายการความพึงพอใจ  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย การแปลผล ด้านการใช้ประโยชน์ 83.35 4.17 มาก - ทำให้ท่านหรือญาติของท่านมีความตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก 87.43 4.37 มาก - มีความเหมาะสมต่อการใช้งาน มีความสะดวก 79.43 3.97 มาก - มีประโยชน์ต่อท่าน และประชาชนในชุมชน 83.2 4.16 มาก ด้านความปลอดภัย
- สามารถใช้ปูนแดงตะไคร้หอมได้  โดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย 89.71 4.49 มาก ด้านความสวยงาม
- นวัตกรรมมีความน่าสนใจ 82.86 4.14 มาก ด้านความคุ้มค่า คุ้มทุน
- ทำให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ  ไม่ฟุ่มเฟือย 89.71 4.49 มาก สามารถป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนได้ 87.43 4.37 มาก ได้รับคำแนะนำให้ใช้ปูนแดงตะไคร้หอมกำจัดลูกน้ำยุงลายจาก อสม. 93.71 4.69 มากที่สุด การเข้าถึงของ อสม. ใน การนำปูนแดงมาแจกจ่าย 92.29 4.61 มากที่สุด 1.6 สรุปค่าใช้จ่ายการดำเนินกิจกรรม/โครงการฯ จำนวน 21,604.- บาท รายละเอียดดังนี้ - ค่าสมนาคุณวิทยากร เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าอาหารกลางวัน เป็นเงิน 4,200 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าเอกสารประกอบการอบรม เป็นเงิน 678 บาท - ค่าป้ายโครงการ เป็นเงิน 300 บาท     - ค่าป้าย ปชส.ไข้เลือดออก เป็นเงิน 900 บาท - ค่าเช่าเต็นท์/โต๊ะ/เก้าอี้ เป็นเงิน 1,500 บาท - ค่าจัดซื้อเครื่องปั่นไฟฟ้าสำหรับปั่นตะไคร้หอม เป็นเงิน 1,850 บาท - ค่าจัดซื้อตาชั่งน้ำหนัก เป็นเงิน 350 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง    เป็นเงิน 4,626 บาท หมายเหตุ : ทางกลุ่ม อสม.ชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์ ไม่ขอเบิกจ่ายเงินส่วนเกินจำนวน 4 บาท ขอเบิกจ่ายเพียง 21,600 บาทเท่านั้น

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก วิธีป้องกันและควบคุมโรคด้วยตนเอง ให้กับประชาชนในชุมชน ให้มีความตระหนักในการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในครัวเรือน
ตัวชี้วัด :
0.00

 

2 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชน
ตัวชี้วัด :
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 60 65
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 65
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก  วิธีป้องกันและควบคุมโรคด้วยตนเอง    ให้กับประชาชนในชุมชน  ให้มีความตระหนักในการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในครัวเรือน (2) เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก  (กิจกรรมทำปูนแดงตะไคร้หอมกำจัดลูกน้ำยุงลายและกิจกรรมสำรวจทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุง ) (2) กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์ รู้ทัน...ภัยโรคไข้เลือดออก ปี 2562 จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 62-L6895-02-07

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสุพรรณีย์ ตันติวัฒนดิลก/นางจรินดา แสวงวิทย์/น.ส. อำไพ ฤษดี )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด