กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 62-L5313-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยไทร ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล
วันที่อนุมัติ 29 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 53,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอริญชัย หลงเก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.842,99.826place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 53,900.00
รวมงบประมาณ 53,900.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 11 กันยายน 2561 (ระบบข้อมูลรายงาน การเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาดวิทยา) ประเทศไทย มีการรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือด (Dengue fever : DF,Dengue hemorrhagic fever : DHF , Dengue shock syndrome : DSS) สะสมรวม 54,808 ราย อัตราป่วย 83.26 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 69 ราย สำหรับในพื้นที่เขต 12 พบผู้ป่วย 2,560 ราย อัตราป่วย 53.25 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยเสียชีวิต 4 คน (จังหวัดตรัง 2 ราย จังหวัดสงขลา 2 ราย) คิดเป็นอัตราป่วยตาย ร้อบละ 0.16 จังหวัดที่พบอัตราผู้ป่วยสูงสุดคือ จังหวัดสงขลา 74.68 ต่อประชากรแสนคน (1,056 ราย) รองลงมาคือจังหวัดตรัง 66.43 ต่อประชากรแสนคน (426 ราย ) จังหวัดพัทลุง อัตราป่วย 57.91 ต่อประชากรแสนคน (303 ราย) จังหวัดยะลา 36.32 ต่อประชากรแสนคน (191 ราย) จังหวัดนราธิวาส 35.89 ต่อประชากรแสนคน (282 ราย) จังหวัดปัตตานี 31.54 ต่อประชากรแสนคน (202 ราย) และจังหวัดสตูล 25.89 ต่อประชากรแสนคน (82 ราย) จากสถานการณ์ในพื้นที่อำเภอละงู มีผู้ป่วยสะสมปี 2561 จำนวน 750 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 1045.81 ต่อประชากรแสนคน (รายงานศูนย์ระบาดโรงพยาบาละงู :2561) ไข้เลือดออกในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านห้วยไทร ทั้ง 7 หมู่บ้าน จำนวน 87 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 1229.57 ต่อประชากรแสนคน อัตราป่วยต่อประชากรแสนคนห้าปีย้อนหลัง 2557 - 2561 เท่ากับ 867.91,491.82,3630.84,188.05 และ 1229.56 ตามลำดับ พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วย ปี 2560 และจากการวิเคราะห์การกระจายโรคตามพื้นที่พบว่ามีการกระจายโรคในชุมชนเป็นหลัก ที่มีหลังคาเรือนติดกัน 15- 20 หลัง (พื้นที่หมู่ 8 บ้านนาพญาและหมู่ 11 บ้ายห้วยมะพร้าว) รองลงมาเป็นโรงเรียน ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในวัยเรียนและวัยทำงาน สาเหตุการแพร่กระจายโรค ส่วนใหญ่จากการเคลื่อนย้ายระหว่างหมู่บ้านที่มีความสัมพันธ์เชิงเครือญาติ และอีกปัจจัยคือการสุ่มสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย แสดงให้เห็นว่ามาตรการในการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคยังขาดการ่วมมือจากชุมชน โดยเฉพาะความร่วมมือในระดับครัวเรือน ในการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในบ้านอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจำเป็นต้องมีีการซุ่มติดตาม ประเมินดัชนีลูกน้ำยุงลาย รวมถึงการอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคีเครือข่ายยช่วยขับเคลื่อนการดำเนินการป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ จากความสำคัญข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยไทร จึงตระหนักและให้ความสำคัญในการดำเนินการควบคุม ป้องกันและเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นปัญหาด้ารสาธารณสุขในพื้นที่ อันส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาระดับประเทศ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2562 เพื่อจัดการป้องกันควบคุมโรคในชุมชนให้มีประสิทธิภาพด้วยการเสริมสร้างพลังการทำงานของเครือข่ายในชุมชนอย่างมีระบบและยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ความรู้และแนวทางในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกแก่เครือข่าย

1.กลุ่มเป้าหมายมีควีีามรู้หลังการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

4.00
2 2.เพื่อให้ความรู้การจัดทำแผนที่ทางระบาดวิทยา

กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 100 วัดพิกัดหลังคาเรือนได้ มีหมู่บ้านนำร่องการจัดทำแผนที่ทางระบาด โดยใช้เทคโนโลยีจากสมาร์ทโฟนและเครือข่ายดาวเทียม GPS อย่างน้อย 1 หมู่บ้าน

0.00
3 3.เพื่อให้ความรู้และฝึกทักษะการควบคุมโรคด้วยการใช้เครื่องพ่นละอองฝอยแบบไฟฟ้าอย่างถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 100 สามารถใช้เครื่องพ่นละอองฝอยแบบไฟฟ้าอย่างถูกต้อง

0.00
4 4.สร้างความตระหนักในการ กำจัด ทำลายลูกน้ำยุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์และให้ความรู้ประชาชน

ผลการสุ่มค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายมีแนวโน้มลดลง ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 เมื่อเทียบรายเดือนกับปี พ.ศ.2561

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 - 30 มิ.ย. 62 อบรมให้ความรู้และแนวทางในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกแก่เครือข่าย 32 6,800.00 6,800.00
1 มิ.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 อบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนที่ทางระบาด 32 22,800.00 22,800.00
1 มิ.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 อบรมเชิงปฏิบัติการควบคุมโรคด้วยการใช้เครื่องพ่นละอองฝอยแบบไฟฟ้า 32 6,800.00 6,800.00
1 มิ.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 สุ่มประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI CI จำนวน 5 ครั้ง 35 17,500.00 17,500.00
รวม 131 53,900.00 4 53,900.00

1.ประชุมวางแผนการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่รับผิดชอบ 2.อบรมให้ความรู้ การป้องกันควบคุมโรค วัดความรู้ 3.อบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนที่ทางระบาด 4.อบรมเชิงปฏิบัติการควบคุมโรคด้วยการใช้เครื่องพ่นละอองฝอยไฟฟ้า (Electric ULV) 5.สุ่มประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HI,CI)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.จำนวนผู้ป่วยปี 2562 ไม่เกินเกณฑ์ อัตราป่วย 50 ต่อประชากรแสนคน 2.เครือข่ายสามารถจัดการควบคุมโรคด้วยการใช้เครื่องพ่นละอองฝอยแบบไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.มีแผนที่ทางระบาดที่ระบุพิกัดหลังคาเรือนและข้อมูลการควบคุมโรค 4.ประชาชนตระหนักและมีพฤติกรรมป้องกันตนเองส่งผลให้ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2562 10:32 น.