กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการใกล้บ้าน ใกล้ใจ แพทย์แผนไทยไม่ทิ้งกัน
รหัสโครงการ 60/L8404/01/03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพสต.น้ำน้อย
วันที่อนุมัติ 7 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 43,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกฤติญาวิชัยดิษฐ์/นางสาวสิรินทิพย์ วิชญวรนันท์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ เขตรับผิดชอบรพส ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.108,100.53place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน พศ.๒๕๕๙ รพสต.น้ำน้อย รับผิดชอบดูแลประชากรรวมทั้งสิ้น ๖๒๔๓ คน มีผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงในพื้นที่รับผิดชอบทั้งสิ้นจำนวน ๓๓ ราย โดยเป็นผู้ป่วยติดเตียงจำนวน ๑๐ ราย ติดบ้าน ๒๓ ราย ซึ่งหากได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพนั้น อาจทำให้เกิดปัยหาต่างๆตามมา อาทิเช่น การเกิดแผลกดทับ การติดขัดตามข้อต่างๆ การแข็งเกร็ง อ่อนแรง หรือฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ การปวดบวม หนัก ชา ตามส่วนต่างๆของร่างกาย เเนื่องจากผู้พิการกลุ่มนี้ไม่สามารถที่จะเคลื่อนไหวตัวเองได้ หรืออาจเคลื่อนไหวได้บ้างแต่เพียงเล็กน้อยสามารถดำเนินกิจวัตรประจำวันได้อย่างจำกัด อีกทั้งส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ทำให้รู้สึกหดหู่ ท้อแท้ สิ้นหวัง หมดกำลังใจ และบางรายอาจถึงขั้นที่คิดว่าไม่อยากจะใช้ชีวิตอยู่บนดลกนี้อีกต่อไป จากการดำเนินโครงการฟื้นฟูสุขภาพในผู้ป่วยติดเตียงและผู้พิการที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ในปี ๒๕๕๘ ถึง ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา โดยนำการเยี่ยมบ้าน การนวดและการประคบตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย เข้ามาเป็นเครื่องมือในการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจให้แก่ผู้ป่วยนั้น ผลการฟื้นฟูช่วยให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมตามแบบประเมิน ๓๐ กิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้น ไม่มีผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหรือพิการซ้ำซ้อนจากการได้รับฟื้นฟูสภาพ ช่วยให้ผู้ป่วยมีความสุขสบายทั้งด้านร่างกายและจิตใจมากขึ้น ผู้ป่วยไม่ถูกทอดทิ้งให้เผชิญกับความเจ็บป่วยอยู่ตามลำพัง และผู้ดูแลมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำน้อยได้ตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการฟื้นฟูสภาพดังกล่าว จึงจัดให้มีการดำเนินโครงการนี้ต่อเนื่องในปี ๒๕๖๐

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจให้แก่ผู้ป่วยติดเตียงและผู้พิการที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้

๑.ร้อยละ 80 ของผู้ที่ได้รับการฟื้นฟูสามารถทำกิจกรรมตามแบบประเมิน 30 กิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้น ๒.ร้อยละ 80 ของผู้ที่ได้รับการฟื้นฟู(หรือผู้ดูแลกรณีผู้ป่วยไม่สามารถตอบแบบประเมินได้)มีความพึงพอใจต่อการให้บริการ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.จัดทำโครงการนำเสนอเพื่อพิจารณา ๒.ลงชุมชนเยี่ยมบ้านผู้ป่วย ประเมินสภาพร่างกาย สภาพจิตใจ และพิจารณาคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้ -เป็นผู้ที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหว -ไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่มีค่า systolic blood pressure สูงกว่า ๑๖๐ mmHgและ-หรือdiastolic blood pressure สูงกว่า ๑๐๐ mmHg ไม่มีภาวะเลือดฝอยออกง่าย ไม่มีจ้ำ/รอยฟกช้ำ/จุดเลือดออกใต้ผิวหนัง -ชีพจร ๖๐-๑๐๐ ครั้ง/นาที -อุณหภูมิน้อยกว่า ๓๘ องศาเซลเซียส -ผู้ป่วยสามารถหายใจได้ด้วยตัวเอง ไม่ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจ หายใจไม่เร็ว ไม่มีลักษณะหายใจหอบหรือหายใจลำบาก -ซักประวัติแล้วไม่พบภาวะเสี่ยง ได้แก่ภาวะติดเชื้อ ไม่มีโรคติดต่อรุนแรง ดรคหัวใจ ภาวะข้อหรือกระดูก/แตก/หัก หรือมะเร็งในตำแหน่งที่จะทำหัตถการ -ตรวจไม่พบภาวะเลือดออกง่าย ไม่มีจ้ำ/รอยฟกช้ำ/จุดเลือดออกใต้ผิวหนัง ๓.จัดทำแผนการลงปฏิบัติงานนวดฟื้นฟูในชุมชน และติดตามผลการรักษา ๔.ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงาน ๕.สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟู สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ดีขึ้น ๒.ผู้ป่วยติดเตียงและผู้พิการที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ มีสภาพจิตใจที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2560 10:17 น.