กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
นวดฟื้นฟูผู้ป่วยในชุมชน1 ธันวาคม 2559
1
ธันวาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลน้ำน้อย
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการดำเนินงานการฟื้นฟูด้วยการนวดพร้อมประคบสมุนไพร ผู้ป่วยที่ได้รับบริการทั้งหมดจำนวน ๒๑ รายมีอายุอยู่ในช่วง ๓๖ ปี มีปัญหาการเคลื่อนไหวเนื่องมาจากโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต จำนวน ๑๕ ราย จากโรคเข่าเสื่อมจำนวน ๑ ราย จากโรคลมปลายปัตฆาตสัญญาณ ๓ ครั้ง จำนวน ๓ ราย จากมะเร็งระยะสุดท้ายจำนวน ๑ ราย และจากโรคชรา จำนวน ๑ ราย โดยมีระยะเวลาการเ๗็บป่วยไม่เกิน ๑ ปี จำนวน ๔ ราย มากกว่า ๑ ปี แต่ไม่เกิน ๑๐ ปี จำนวน ๑๔ รายมากกว่า ๑๐ ปีขึ้นไป จำนวน ๓ ราย ทั้งหมดมีผู้ดูแลทั่วไป ได้รับการดูแลตามอัตภาพ ผลการประเมินตามแบบประเมินกิจวัตรประจำวัน โดยสรุปเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับบริการครบทั้ง ๑๐ ครั้ง พบว่าผู้ัป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูครบ ๑๐อครั้ง มีจำนวนทั้งสิ้น ๑๙ ราย โดยพบว่าหลังจากการฟื้นฟูครบทั้ง ๕ วัน ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมตามแบบประเมิน ๓๐ กิจวัตรประจำวันได้เพิ่มขึ้น จำนวน ๑๗ ราย คงที่จำนวน ๒ ราย และหลังจากฟื้นฟูครบ ๑๐ ครั้ง ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมได้เพิ่มขึ้น จำนวน ๑๕ ราย คงที่ ๓ รายน้อยลงจำนวน ๑ ราย และหลังจากหยุดการฟื้นฟูไปเป็นระยะเวลา ๑ เดือน พบว่าผุ้ป่วยยังสามารถทำกิจกรรมได้เพิ่มขึ้นจำนวน ๒ รายน้อยลง จำนวน ๓ ราย และคงที่ ๑๔ ราย การนวดร่วมกับการประคบสมุนไพรช่วยให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถทำกิจกรรมตามแบบประเมิน ๓๐ กิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้น และไม่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความพิการซ้ำซ้อน แต่เมื่อหยุดการฟื้นฟูผู้ป่วยมีโอกาสที่จะทำกิจกรรมตามแบบประเมินได้มากขึ้น คงที่ หรือน้อยลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการฝึกปฏิบัติของตัวผู้ัป่วยเอง สรุปผลการประเมินความพึงพอใจของญาติหรือผู้ดูแลจำนวน ๒๑ ราย มีรายละเอียดดังนี้ ญาติหรือผู้ดูแลมีความพึงพอใจร้อยละ ๑๐๐ จำนวน ๘ ราย คิดเป็นร้อยละ ๓๘.๑๐ มีความพึงพอใจร้อยละ ๙๐ ขึ้นไป จำนวน ๘ ราย คิดเป็นร้อยละ ๓๘.๑๐  และมีความพึงพอใจร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป จำนวน ๕ ราย คิดเป็นร้อยละ ๒๓.๘๐

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 21 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย