กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนพ่อแม่ ร้อยดวงใจสานสายใยรักในครอบครัว ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 62-L5313-01-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
วันที่อนุมัติ 29 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 38,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอานีซะห์ ยาหมาย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.842,99.826place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 38,000.00
รวมงบประมาณ 38,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 114 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

รากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศคือทรัพยากรบุคลากรเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพจะต้องได้รับการพัฒนาตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา นอกจากการเกิดรอดและปลอดภัยแล้ว ในระยะ 5 ปีแรกของชีวิตเป็นระยะที่ร่างกายเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ครอบครัวเป็นสถาบันแห่งแรกของสังคมที่เป็นจุดเริ่มต้นของทุกสิ่งทุกอย่าง ความสุข ความรัก ความอบอุ่น เรียกรรม รวมทั้งสร้างเสริมการเจริญเติบโตและพัดมานาการทางด้านต่างๆ ของเด็กและพ่อแม่คือบุคคลสำคัญที่มีมีบทบาทดังกล่าว โครงการโรงเรียนพ่อแม่เป็นบริการของกระทรวงสาธารณสุขทมุ่งหวังจะพัฒนาคุณภาพพ่อแม่รวมถึงบุคคลในครอบครัวที่มีบทบาทในการเลี้ยงดูเด็กให้มีความพร้อมทางด้าน ความรู้ เจตคติ และทักษะ ในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์และพัฒนาความรู้และทักษะอย่างต่อเนื่อง โดยเป้าหมายสําคัญ คือ เด็ก ปฐมวัยทุกคนมีพัฒนาการสมวัยทั้งร่างกายและอารมณ์ นอกจากนี้การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ก็ยังเป็นประเด็นที่มีความสําคัญ และส่งผลกระทบถึงสังคมในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจของแม่และเด็ก โดยพบว่าอัตราการ ตั้งครรภ์ของแม่ที่มีอายุระหว่าง ๑๕-๑๔ ปี จํานวนเพิ่มขึ้นจาก ๑1๒,๕๐๔ คน หรือร้อยละ ๔๙.๗ ต่อหญิงอายุ ๒๕๕๔ ปีพันคน ในปี 2559 เป็นจํานวน 119,828หรือร้อยละ 51.1 ต่อหญิงอายุ 15-19 ปี พันคนในปี 2559 การแก้ไข ปัญหาเรื่องท้องในวัยรุ่นเป็นประเด็นที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคมตั้งแต่การรณรงค์โดยมุ่งไปที่ ตัววัยรุ่นเองให้ตระหนักถึงปัญหาและให้ความสําคัญของการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์โดยปลอดภัยและรับผิดชอบ รวมถึงการเรียนการสอนในการเพิ่มทักษะชีวิตและเพศศึกษาแบบรอบด้าน เพื่อให้วัยรุ่นมีทักษะในการสื่อสาร การรู้จัก ปฏิเสธ ประเด็นเรื่องท้องในวัยรุ่นได้รับความสนใจจากคนในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น เช่น เหตุการณ์ ๒๐๐๒ ศพในปี ๒๕๕๓ ทําให้สังคมให้ความตื่นตัวต่อกรณีนี้อย่างมาก และเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันของ สังคมในวงกว้าง จนนําไปสู่การเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายทําแท้ง อย่างไรก็ตามทางภาครัฐเห็นว่า ยังไม่มีความจําเป็นที่จะแก้กฎหมาย ทั้งนี้เพราะกฎหมายอาญาเปิดโอกาสให้ทําแท้งได้อยู่แล้วใน ๒ กรณี คือถ้าปล่อยให้อายุครรภ์มากขึ้นจะ เป็นอันตรายต่อแม่ที่ตั้งครรภ์ และกรณีถูกข่มขึน รัฐเล็งเห็นว่าทางออกที่ดีที่สุดของปัญหานี้ก็คือทุกหน่วยงานต้องร่วมมือ กันและมาตรการที่ดีที่สุด คือมาตรการป้องกัน เพราะการทําแท้งเป็น การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ที่ดีที่สุดคือการให้ความรู้ เรื่องเพศศึกษา การวางแผนครอบครัว โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นและวัยทํางาน การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและการติดเชื้อ HIV เป็นปัญหาที่พบบ่อยในสังคมไทยปัจจุบัน เนื่องจากพฤติกรรมการเลียนแบบต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสม มาเป็นค่านิยมใน สังคมวัยรุ่น โดยการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร หรือมีความสัมพันธ์แบบชายรักชาย ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมา เช่นปัญหาการตั้งครรภ์ในระหว่างเรียน การทําแท้ง การทะเลาะวิวาท ตลอดจนคิดสั้นทําร้ายตนเอง เป็นต้น ดังนั้น นาน ไม่ ดังนั้น วัยรุ่นเป็นวัยที่อาจถูกชักจูงได้ง่าย ขาดความนับถือตนเอง รวมถึงขาดทักษะชีวิต ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเสียง ในด้านต่าง ๆ เช่น ขับรถประมาท ยกพวกตีกัน ดื่มสุรา และใช้สารเสพติด มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ระวัง ส่งผลให้เกิดการ ตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ทั้งนี้ พฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าวเป็นสาเหตุการตายของวัยรุ่น โดยเฉพาะเพศหญิง ได้แก่ การทํา แท้ง การคลอด การติดเชื้อ HIV ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ กิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการ ตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น จึงมุ่งเน้นที่จะสร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่องบทบาททางเพศที่แตกต่างกันระหว่างหญิงชาย เพื่อให้เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลกันได้อย่างสมดุลสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ เช่น พัฒนาการทางเพศตามวัย การ รักษาสัมพันธภาพกับเพื่อนเพศเดียวกันและต่างเพศ การตัดสินใจและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ จากตัวอย่างปัญหา ดังกล่าว จึงจําเป็นอย่างยิ่งในการกําหนดแนวทางส่งเสริมสุขภาพแก่วัยรุ่นและเยาวชนให้เกิดสุขภาวะที่ปลอดภัยในการ ดําเนินชีวิตในสังคม ป้องกันและลดปัญหาอนามัยการเจริญพันธุ์ของวัยรุ่น นําไปสู่ประโยชน์สูงสุดแก่วัยรุ่นและเยาวชน ของชาติที่จะเติบโตเป็นอนาคตของประเทศชาติต่อไป ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลละงู ตระหนักและเห็นความสําคัญของปัญหาดังกล่าว จึงดําเนิน โครงการ” เพื่อเป็นการเสริมสร้างค่านิยมใหม่กับวัยรุ่นไทยให้รู้จักรักและเห็นคุณค่าของตัวเอง เป็นการป้องกันและแก้ไข ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ให้ลดน้อยลงหรือหมดสิ้นไปในอนาคต และเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ สามี บุคคลใน ครอบครัวและเด็กได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพนอกเหนือจากพันธุกรรมที่ได้รับจากพ่อแม่ จะส่งผลให้เด็กเติบโต ขึ้นเป็นกําลังสําคัญในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเอง

1.หญิงตั้งครรภ์เข้ารับการอบรมโครงการโรงเรียนพ่อแม่มากกว่าร้อยละ 80

0.00
2 2.เพื่อให้สามีและบุคคลในครอบครัว มีเจตคติและทักษะที่ดีในการส่งเสริมดูแลหญิงตั้งครรภ์และการเลี้ยงดูบุตรอย่างมีคุณภาพ

สามี/ผู้ดูแล(บุคคลในครอบครัว) เข้ารับการอบรมโครงการโรงเรียนพ่อแม่ มากกว่าร้อยละ 20
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมมีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษาะในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และการเลี้ยงดูหญิงบุตร มากกว่าร้อยละ 80

0.00
3 3.เพื่อให้ความรู้ในเรื่องเพศศึกษาอย่างถูกต้องและง่ายสำหรับการเข้าใจสำหรับวัยรุ่น

ลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไม่เกินร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเอง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2.เพื่อให้สามีและบุคคลในครอบครัว มีเจตคติและทักษะที่ดีในการส่งเสริมดูแลหญิงตั้งครรภ์และการเลี้ยงดูบุตรอย่างมีคุณภาพ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3.เพื่อให้ความรู้ในเรื่องเพศศึกษาอย่างถูกต้องและง่ายสำหรับการเข้าใจสำหรับวัยรุ่น

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 พ.ย. 61 - 30 ก.ย. 62 อบรมให้ความรู้เรื่องโรงเรียนพ่อแม่ 7,000.00 -
1 พ.ย. 61 - 30 ก.ย. 62 จัดอบรมความรู้ให้แก่นักเรียนโดยจัดฐาน 16,200.00 -
1 พ.ย. 61 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมภาคเวที 14,800.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

1.เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการ 2.จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อหารูปแบบการดำเนินงาน 3.กำหนดกลุ่มเป้าหมายโดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
3.1หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ที่มีความพร้อมและสมัครใจเข้าร่วมโครงการพร้อมสามี/ผู้ดูแล (บุคคลในครอบครัว) 3.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 ในเขตรับผิดชอบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.หญิงตั้งครรภ์และสามี/ผู้ดูแล (บุคคลในครอบครัว)มีความรู้ ความเข้าใจ เจตคติ ที่ดีในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และการเลี้ยงดูบุตรอย่างมีคุณภาพ
2.หญิงตั้งครรภ์และสามี/ผู้ดูแล (บุคคลในครอบครัว)มีทักษะที่ดีในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และการเลี้ยงดูบุตรอย่างมีคุณภาพ
3.นักเรียนมีความตระหนักและองค์ความรู้เรื่องบทบาทและคุณค่าของความเป็นชาย/หญิงในสังคมพัฒนาการเพศ การจัดการอารมณ์ สัมพันธ์ภาาพทางเพศ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น 4.นักเรียนมีความภาคภูมิใจในตนเองของวัยรุ่น และมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต และพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ 5.นักเรียนมีความรู้ในเรื่องเพศศึกษาอย่างถูกต้องและง่ายสำหรับการเข้าใจสำหรับในวัยรุ่น 6.นักเรียนมีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องเพศในวัยรุ่นล 7.นักเรียนมีเครือข่ายการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและการแก้ไข้ปัญหาวัยรุ่นในโรงเรียน ในรูปแบบเพื่อช่วยเพื่อ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2562 10:48 น.