กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริม ป้องกันทันตสุขภาพตามกลุ่มวัย รพ.สต.โคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L2492-1-27
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเคียน
วันที่อนุมัติ 28 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 52,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพิรัช ตั้งผดุงวงค์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.482,101.763place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากเป็นส่วนหนึ่งของการมีสุขภาพดี ช่วยเสริมคุณภาพชีวิต เพราะปัญหาสุขภาพช่องปาก  จะส่งผลต่อระบบอื่นๆของร่างกาย ดังนั้นจำเป็นที่ต้องดูแลสุขภาพในช่องปากประชาชนให้ปราศจากโรคฟันผุและเหงือกอักเสบ ซึ่งในปัจจุบันแนวคิดการดูแลช่องปาก มิใช่การกำจัดโรคอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะต้องดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีตั้งแต่แรกเริ่มและคงสภาพที่ดีไว้ ปัญหาทันตสาธารณสุขที่สำคัญของจังหวัดนราธิวาส คือ โรคฟันผุ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกกลุ่มอายุของประชาชนชาวจังหวัดนราธิวาส โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กปฐมวัยและในกลุ่มเด็กวัยเรียน จากผลการสำรวจสถานการณ์ทันตสุขภาพในเด็กกลุ่มอายุ ๓ ปีและ ๑๒ ปี ของจังหวัดนราธิวาส ปี ๒๕๖๑ พบว่าเด็กอายุ ๓ ปี    มีอัตราการเกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนม ร้อยละ ๖๙.๑๘ และในเด็กอายุ ๑๒ ปี มีอัตราการเกิดโรคฟันผุในฟันแท้ ร้อยละ ๖๔.๕๐ สำหรับในกลุ่มผู้สูงอายุ มีฟัน ๔ คู่สบ ร้อยละ ๖๑.๕๗ผลจากการสำรวจสถานการณ์ทันตสุขภาพในเด็กกลุ่มอายุ ๓ ปีและ ๑๒ ปี ของ รพ.สต. โคกเคียน  ปี ๒๕๖๑ พบว่าเด็กอายุ ๓ ปี มีอัตราการเกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนม ร้อยละ ๕๓.๓๓ และในเด็กอายุ ๑๒ ปี มีอัตราการเกิดโรคฟันผุในฟันแท้ ร้อยละ ๕๓.๓๒ ปี สำหรับในกลุ่มผู้สูงอายุ มีฟัน ๔ คู่สบ ร้อยละ ๖๘.๓๓ การแก้ไขปัญหาทันตสาธารณสุขจึงต้องกำหนดพัฒนางานทันตสาธารณสุขโดยให้กิจกรรมที่ดำเนินการสอดคล้องกับสาเหตุ ครอบคลุม กลุ่มเป้าหมายด้วยการผสมผสานทั้งการสร้างเสริมป้องกันทันตสุขภาพและรักษาทางทันตกรรม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ข้อที่ ๑. หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษา ข้อที่ 2. หญิงตั้งครรภ์ทีมีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับบริการทันตกรรมตามความจำเป็น ข้อที่ 3. หญิงหลังคลอดได้รับการเยี่ยมหลังคลอดและได้ฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปากเด็กแรกเกิด

1……ร้อยละ ๙๘………… 2……ร้อยละ ๔๕……….. 3………ร้อยละ ๗๐……..

1.00
2 กลุ่มเด็กอายุ ๐-๕ ปี (กลุ่มผู้ปกครอง) เด็กอายุ ๓ ปี มีฟันน้ำนมผุลดลง

เด็ก ๓ ปี มีฟันผุ ไม่เกินร้อยละ๖๖

66.00
3 กลุ่มเด็กวัยเรียน เด็กอายุ ๑๒ ปี มีฟันแท้ผุลดลง

เด็กอายุ ๑๒ ปี ไม่เกินร้อยละ๖๒

62.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 250 0.00 0 0.00
21 พ.ค. 64 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในการดูแลทันตสุขภาพช่องปากให้กับหญิงตั้งครรภ์ ๕๐ คน 50 0.00 -
24 พ.ค. 64 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในการดูแลทันตสุขภาพช่องปากเด็ก ๐ - ๕ ปี แก่ผู้ปกครอง( ๑๐๐ คน) 100 0.00 -
25 พ.ค. 64 กิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการแกนนำสุขภาพนักเรียน ( ๒ วัน )(รวม ๑๐๐ คน) 100 0.00 -

๑. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ - อบรมเชิงปฏิบัติการด้านทันตสุขภาพแก่หญิงตั้งครรภ์ - ตรวจสุขภาพช่องปากในหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ทุกราย - ย้อมสีฟันและสาธิตการแปรงฟันจริงแก่หญิงตั้งครรภ์ - ให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากในหญิงหลังคลอดและบุตร - บริการทันตกรรม อุดฟันและขูดหินปูน - เยี่ยมหลังคลอดและได้ฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปากเด็กแรกเกิด ๒. กลุ่มเด็กอายุ ๐-๕ ปี - อบรมเชิงปฏิบัติการด้านทันตสุขภาพพ่อแม่ผู้ปกครองเด็กอายุ ๐–๕ ปี - ตรวจสุขภาพช่องปากในเด็กกลุ่มอายุ ๐-๕ ปี - บริการทาฟลูออไรด์และบริการทันตกรรมในกรณีที่มีฟันผุ ๓. กลุ่มเด็กวัยเรียน -อบรมเชิงปฏิบัติการแกนนำสุขภาพนักเรียน - กิจกรรมการแปรงฟันคุณภาพในเด็กนักเรียน - ตรวจสุขภาพช่องปากและสาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธี - บริการทันตกรรม อุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูนและเคลือบหลุมร่องฟัน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติที่ดีและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและบุตร

๒. เด็กปฐมวัยที่มีฟันผุระยะเริ่มแรกลดลงหลังได้รับการทาฟลูออไรด์วานิชและผู้ปกครองมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของบุตรมากขึ้น

๓. เด็กนักเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้นและปราศจากโรคฟันผุเพิ่มมากขึ้น

๔. กลุ่มวัยทำงานได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและได้รับบริการทันตกรรมเพิ่มมากขึ้น

๕. ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและเข้าถึงบริการมากขึ้น

๖. เกิดการพัฒนาและมีการจัดบริการส่งเสริม ป้องกันในระบบบริการปฐมภูมิ ในภาคีเครือข่าย    เด็กปฐมวัยและวัยเรียนโรคฟันผุลดลง ประชาชนทุกกลุ่มวัยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2562 09:24 น.