กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมปฏิบัติด้านการเฝ้าระวังและคัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงชุมชน ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 62-L5313-01-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละงู
วันที่อนุมัติ 29 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 7,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาทินันทน์ สมุทรสารัญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.842,99.826place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 7,600.00
รวมงบประมาณ 7,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรควัณโรค
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรคเป็นโรคติดต่อสําคัญที่กําลังเป็นปัญหาสาธารณสุข เป็นสาเหตุของการป่วยและการตายใน หลายๆ ประเทศทั่วโลก สาเหตุที่ทําให้วัณโรคกลับมามีปัญหาใหม่ทั่วโลกเนื่องจากการแพร่ระบาดของเอดส์ ความยากจน และการอพยพย้ายถิ่น และแรงงานเคลื่อนย้าย ส่งผลให้การแพร่ระบาดของวัณโรคมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น และตั้งแต่ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๓๖ องค์การอนามัยโลกก็ได้ประกาศให้วัณโรคอยู่ในภาวะฉุกเฉินสากล และต้องการการแก้ไขอย่าง เร่งด่วน สถานการณ์วัณโรคของโลกในปัจจุบัน องค์การอนามัยโลกรายงานว่า ๑ ใน ๓ ของ ประชากรทั่วโลกติดเชื้อวัณโรคแล้ว ความซุก (prevalence) ของผู้ป่วยวัณโรคมีประมาณ ๑๔.๔ ล้านคน (๒19 ต่อแสนประชากร) ประมาณ ครึ่งหนึ่งเป็นกลุ่มที่กําลังแพร่เชื่อ (highly infectious) และแต่ละปีมีผู้ป่วยรายใหม่ (incidence) ประมาณ 9.๑๕ ล้าน คน (๑๓9 ต่อแสนประชากร) โดยร้อยละ ๙๕ อยู่ในประเทศที่กําลังพัฒนา ผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิตปีละประมาณ ๑.๖๕ ล้านคน (๒๕ ต่อแสนประชากร) (ร้อยละ 98 อยู่ในประเทศที่ยากจน) จากรายงานขององค์การอนามัยโลกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕1 ในกลุ่ม ๒๒ ประเทศที่มีปัญหาวัณโรค มีจํานวนผู้ป่วยรวมกันประมาณ ร้อยละ ๘๐ ของผู้ป่วยทั่วโลก และได้มีการจัดอันดับ ประเทศที่มีจํานวนผู้ป่วยมากตามลําดับ พบว่า ๓ ประเทศแรกที่มีผู้ป่วยวัณโรคมากที่สุดในโลกอยู่ในทวีปเอเชีย ซึ่งได้แก่ ประเทศอินเดีย จีน และอินโดนีเซีย สําหรับประเทศไทยนั้นจัดอยู่ในอันดับที่ ๑๘ ซึ่งจากการคํานวณทางระบาดวิทยา ใน รายงานขององค์การอนามัยโลก คาดการณ์ว่า ประเทศไทยน่าจะมีความซุก (prevalence) ของวัณโรค ซึ่งหมายถึง มีผู้ป่วย วัณโรคทั้งสิ้น ประมาณ ๑๒๕,000 ราย (๑๙๗ ต่อแสนประชากร) โดยเป็นผู้ป่วยรายใหม่ ทุกประเภท ปีละ ๙๐,000 ราย (142 ต่อแสนประชากร) และประมาณ ๔๐,000 ราย เป็นผู้ป่วยที่เสมหะบวก (62 ต่อแสนประชากร) เสียชีวิตปี ละ 13,000 ราย (๒๐ ต่อแสนประชากร) จังหวัดสตูลมีผู้ป่วยวัณโรคทุกประเภทได้รับการขึ้นทะเบียน ซึ่งมีแนวโน้มการขึ้นทะเบียนใหม่ลดลง และใน ระหว่างนี้ยังพบผู้ป่วยขาดยาถึงร้อยละ ๒.๔, 3.o, ๕.๐, ๒.๓ และ ๓.๕ ตามลําดับ และในอําเภอละงู พบผู้ป่วยวัณโรคที่ ขึ้นทะเบียนเสมหะเป็นบวก (New m+) จํานวน ๔๑ และ ๒4 ราย และยังพบผู้ป่วยขาดยาที่มีแนวโน้มสูงขึ้น จาก ร้อยละ๒.๔ เป็น ๖.๒ ในช่วงเวลาดังกล่าว และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลละงู ตําบลละงู จังหวัดสตูล พบผู้ป่วยที่ได้ ขึ้นทะเบียนรักษาในรอบ ๓ ปี ๗ ราย จากสถานการณ์ดังกล่าวสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูลได้ออกมาตรการให้มีการ คัดกรองวัณโรค อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ในประชาชน ๔ ประเภท ได้แก่ ผู้ร่วมสัมผัสผู้ป่วยในบ้าน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง แรงงานต่างด้าว ผู้ต้องขังในเรือนจํา และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตามมาตรฐานการดําเนินงานวัณโรค จากสถานการณ์และความสําคัญของปัญหาดังกล่าว เพื่อให้เกิดการค้นหาผู้ป่วยในชุมชน และพัฒนา ระบบบริการ การดําเนินอย่างมีส่วนร่วมของเครือข่าย ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามเป้าหมาย โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตําบลละงู ตําบลละงู จังหวัดสตูล จึงได้จัดทําโครงการอบรมปฏิบัติด้านการเฝ้าระวังและคัดกรองวัณโรค ในกลุ่มเสี่ยงชุมชน ปีงบประมาณ ๒๕๖๒ ขึ้น และมุ่งหวังให้เกิดกลไกในระดับชุมชน ในการเฝ้าระวังโรค สามารถแจ้ง เจ้าหน้าที่และส่งต่อเพื่อทําการรักษาอย่างทันท่วงที ลดอัตราอุบัติการณ์ของโรค สู่ชุมชนสุขภาวะต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ความรู้และแนวทางในการป้องกันโรควัณโรคแก่กลุ่มเสี่ยง

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้หลังการอบรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ80

0.00
2 2.กลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองที่ถูกต้อง

ได้รับการคัดกรองทุกคน หลังอบรม ร้อยละ 100

0.00
3 3.เพื่อหามาตรการควบคุมป้องกันวัณโรคแก่กลุ่มเสี่ยง

ข้อตกลงการป้องกันโรควัณโรค

1.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 7,600.00 1 7,600.00
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 อบรมให้ความรู้เรื่องโรควัณโรค 0 7,600.00 7,600.00

1.รวบรวมข้อมูลสถานะสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ เพื่อนำเสนอให้กลุ่มเป้าหมายรับทราบ 2.ประชุมเตรียมการและขี้แจงกิจกรรม 3.ดำเนินการอบรม 4.ฝึกและคัดกรองในเขตรับผิดชอบ 5.สรุปผลการคัดกรอง 6.เจ้าหน้าที่คัดกรองซ้ำ กรณีเข้าข่าย 7.จัดระบบส่งต่อ และติดตามกลุ่มเป้าหมายวัณโรคอย่างต่อเนื่อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ความเข้าใจที่ถูกต้องสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรค 2.เครือข่ายสามารถควบคุมโรคได้ 3.ประชาชนผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค ผู้ป่วยโรคเรื้องรัง และแรงงานต่างด้าวในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการคัดกรองและเฝ้าระวังวัณโรค สามารถค้นพบผู้ป่วยสงสัยในชุมชนได้ และสามารถส่งต่อเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านรักษาได้ทัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2562 09:37 น.