กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง คัดกรอง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 62-L5313-01-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละงู
วันที่อนุมัติ 29 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 45,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอังคณา แสงสกล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.842,99.826place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 45,200.00
รวมงบประมาณ 45,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพปัจจุบันปัจจัยสําคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุขส่วนใหญ่มีสาเหตุจากประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ เหมาะสม ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชนซึ่งได้จากสถานการณ์ของปัญหาสาธารณสุขที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่ พบว่ากลุ่มโรค Metabolic โดยเฉพาะโรคอ้วนลงพุง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน กําลังเป็นปัญหาสําคัญในทุกพื้นที่ อีกทั้งยังมีแนวโน้มเป็นปัญหาต่อเนื่องในอนาคต ปัจจัยสําคัญที่ก่อให้เกิดปัญหากลุ่มโรค Metabolic ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มที่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การขาดการออกกําลังกาย การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การรับประทานผักและ ผลไม้ไม่เพียงพอ ตลอดจนสภาพปัญหาทางจิตใจ อารมณ์ และความเครียดการเสริมสร้างให้ประชาชนมีพฤติกรรมที่ดี สามารถจัดการลดความเสี่ยงของตนเองได้จะเป็นกลไกพื้นฐานที่สําคัญของการป้องกันและควบคุมโรคโดยเฉพาะกลุ่มที่ มีความเสี่ยง ซึ่งการสร้างความรู้ ความเข้าใจเพียงอย่างเดียวอาจไม่มีผลเพียงพอที่จะทําให้เกิดความตระหนักในการ เปลี่ยนแปลงสุขภาพได้ การจัดกิจกรรมฝึกทักษะและการเสริมสร้างพลังแก่กลุ่มเป้าหมายจึงจําเป็นต้องควบคู่กับการให้ความรู้ ความเข้าใจนําไปสู่การปฏิบัติ นอกจากนี้การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมทั้งในครอบครัว และชุมชนก็จะส่งผล ให้ประชาชนตระหนักและมีพฤติกรรมที่ดีได้ดังนั้นจึงสมควรอ่างยิ่งที่จะเร่งการทํางานเชิงรุกในชุมชนเพื่อตรวจคัดกรอง โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในกลุ่มผู้ที่มีอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปและให้การวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มต้น รวมทั้งการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ต่อไป ซึ่งทาง โรงพยาบาลส่งเสรมสุขภาพตําบลละงู มีความคาดหวังให้ประชาชนมีสุขภาพดี โดยทั่วหน้า และจากการดําเนินงาน ตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพของประชาชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละงู ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมาจากกลุ่มเป้าหมาย ๒,๕๑1 ราย พบว่า มีผู้เสี่ยง/เสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ๑๐๓ ราย และความดัน โลหิตสูง จํานวน ๖๑๔ ราย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล ได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในชุมชน ดังกล่าว จึงได้จัดทําโครงการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและลดโรค ใน เขตรับผิดชอบของ รพ.สต.ละงู และได้บูรณาการร่วมกับองค์การบริหารส่วนตําบลละงู สนับสนุนให้ชุมชนมีการจัดการ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพด้านต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการให้กลุ่มเสี่ยงสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องเหมาะสม และส่งเสริมการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีแก่กลุ่มประชาชนทั่วไปซึ่งยังไม่มีความเสี่ยง ทั้งนี้การจัดการชุมชน ให้สามารถ ลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพด้านต่าง ๆ ต้องดําเนินการควบคู่ไปด้วยกัน ทั้งการจัดการสภาพแวดล้อมของชุมชนให้เมื่อต่อการ ลดโอกาสเสี่ยง เช่น การกําหนดมาตรการทางสังคมของชุมชน และการให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องรวมถึงมี ความรู้ ความเข้าใจจนเกิดความตระหนักสามารถดูแลสุขภาพและจัดการกับตนเอง และครอบครัวให้สามารถควบคู่ พฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับที่พอเหมาะสมลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ความดัน ทักษะ และแนวทางในการคัดกรองโรคเบาหวาน/ความดัน แก่ อาสาสมัครสาธารณสุข 3.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย/ผู้ที่สนใจ ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

กลุ่มเป้าหมานมีความรูั ร้อยละ 80 หลังการอบรม

0.00
2 2.เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง

กลุ่มเป้าหมาย อายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 500 คนได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดัน

0.00
3 3.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย/ผู้ที่สนใจ ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ 3อ 2ส และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย/ผู้สนใต จำนวน 60 คน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 - 30 มิ.ย. 62 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้โรคเบาหวาน ความดัน และทักษะในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานความดัน 40 7,600.00 7,600.00
1 - 30 มิ.ย. 62 ตรวจคัดกรองความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด 500 12,500.00 12,500.00
13 มิ.ย. 62 จัดซื้อชุดเจาะตรวจน้ำตาลในเลือดปลายนิ้ว 500 12,500.00 12,500.00
1 - 31 ก.ค. 62 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย/ผู้สนใจ 60 9,600.00 9,600.00
1 ส.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 ติดตามผล การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปผล 60 3,000.00 3,000.00
รวม 1,160 45,200.00 5 45,200.00

ขั้นเตรียมการ. 1.ประขุมวางแผนการดำเนินงาน คืนข้อมูลผู้ป่วยความดัน เบาหวานแก่เครือข่าย 2.อบรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ความดัน และทักษะการตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดัน BMI 3.ตรวจคัดกรองความดัน และตรวจระดับน้ำตาบในเลือด 4.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในกลุ่มเสี่ยง 5.ติดตาม สรุปและประเมินผล ขั้นดำเนินการ 1.กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโรคความดันโลหิตสูง/โรคเบาหวาน และฝึกทักษะการตรวจคัดกรองความดัน/เบาหวาน ให้แก่แกนนำอสม.ด้านการเฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 40 คน 2.กิจกรรม การลงพื้นที่ให้บริการตรวจคัดกรอง ความดันโลหิต และเจาะเลือดตรวจคัดกรองระดับน้ำตาลในเลือด (โดยวิธีการเจาะปลายนิ้ว) จำนวน 500 คน 3.กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน โดยการจัดอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ 2ส เป้าหมาย 60 คน 4.กิจกรรมการติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และกลุ่มเสี่ยง 60 คน/2ครั้ง พร้อมสรุปผล การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เครื่อข่ายสุขภาพมีความรู้ถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองสุขภาพ แนวทางการดูแลผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงความดันเบาหวานและทักษะในการตรวจคัดกรอง ความดัน เบาหวาน 2.ประชาชนในเขตรับผิดชอบได้รับการตรวจคัดกรองความดัน เบาหวาน 3.กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย/ผู้ที่สนใจ ได้เข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสามารถควบคุมภาวะสุขภาพได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2562 10:07 น.