กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลูกรักฟันดี เริ่มที่ผู้ปกครอง ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 62-L5313-01-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละงู
วันที่อนุมัติ 29 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 25,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกูวรรณ์นิสา สตอหลง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.842,99.826place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 25,300.00
รวมงบประมาณ 25,300.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนที่มีปัญหาช่องปาก
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคและความผิดปกติในช่องปากของเด็กเล็กมีหลายประการ แต่ปัญหาที่ชัดเจนที่สุดคือโรคฟันผุ ซึ่งโรคฟันผุเกิด จากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในช่องปากร่วมกับเศษอาหารและน้ำลาย สะสมเป็นคราบขี้ฟันหรือคราบแบคทีเรีย ซึ่งมีลักษณะ เหนียวเกาะติดแน่นอยู่ตามผิวฟัน ไม่สามารถหลุดออกจากการบ้วนน้ำหรือการเช็ดเพียงอย่างเดียว จําเป็นต้องแปรงฟัน และใช้ไหมขัดฟันเพื่อกําจัดเชื้อโรคเหล่านี้ แบคทีเรียเหล่านี้สามารถเปลี่ยนน้ำตาลและแป้งให้เป็นกรดที่มีฤทธิ์ทําลายผิว ฟันจนเกิดเป็นรูเล็กๆ เมื่อรูเล็กๆ ขยายใหญ่ขึ้น เด็กจะเริ่มมีอาการเสียวฟัน และปวดฟันได้ ประเทศไทยพบว่าโรคฟันผุ ในเด็กเล็กยังคงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเด็กในเขตชนบท ซึ่งเริ่มมีฟันผุตั้งแต่อายุ ๔ เดือน และปัจจุบันพบว่าเด็กอายุ ๒ ปีฟันผุ มากถึงร้อยละ ๕๒ เฉลี่ย ๓ ซี่ต่อคน เด็กเป็นโรคฟันผุตั้งแต่ก่อนอายุ 5 ขวบ และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากในช่วงเด็ก อายุ 6-7 ขวบ และการที่เด็กมีฟันพุผู้ใหญ่กลับคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่จริงแล้วฟันผุเป็นเรื่องอันตราย เพราะเด็กมีภูมิต้านทานน้อย แม้จะไม่อันตรายถึงแก่ชีวิตแต่ก็ทําให้เด็กเจ็บปวดทรมานและเสียสุขภาพ
จากการสํารวจของสํานักทันตสาธารณสุข ในปี พ.ศ. ๒๕61 พบว่าเด็กอายุ 1 ขวบครึ่งถึง 7 ขวบ มีผู้ปกครอง แปรงฟันให้เพียงร้อยละ ๒๓ นอกจากนี้มีการศึกษาที่รายงานว่า พ่อแม่ถึงร้อยละ ๕๔ ยอมรับว่าตนเองมีปัญหาไม่ สามารถแปรงฟันให้เด็กได้ไม่ดีหรือไม่ได้แปรงเลย สาเหตุมีทั้งเด็กไม่ยอม แปรงไม่เป็นเพราะไม่เคยแปรง หรือไม่กล้า แปรงฟันให้เพราะกลัวเด็กเจ็บ การแปรงฟันแม้จะเป็นเรื่องชีวิตประจําวันพื้นๆ แต่มีความสําคัญมาก เพราะการแปรงฟัน เป็นการรักษาสุขอนามัยช่องปากและป้องกันโรคในช่องปากได้อย่างง่าย และได้ผลดีที่สุด ผู้ปกครองควรแปรงฟันให้เด็ก ตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกเริ่มขึ้นและต่อเนื่องจนกว่าเด็กจะแปรงฟันได้เอง วันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น โดยใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ บีบเล็กน้อยพอชื้นที่ปลายขนแปรง จะช่วยลดโอกาสฟันผุได้ถึงร้อยละ 1๕-๓๐ เพราะการแปรงฟันด้วยยาสีพื้นผสมฟลูออไรด์เป็นกลวิธีการส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่สําคัญที่สุด จากการปฏิบัติงานทางด้านทันตสาธารณสุขที่ผ่านมา พบว่าในเขต รพ.สต.ละงู เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีมีฟันผุ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปี ๒๕๖๐ ถึง ๒๕61 พบว่าเด็กในเขต รพ.สต.ละงูมีอัตราโรคฟันผุ ร้อยละ ๕๖.๒๕ และร้อยละ 8๒.61 ตามลําดับ และมีผู้ปกครองบางส่วนยังใช้ผ้าเช็ดทําความสะอาดฟันให้ลูก ซึ่งการใช้วิธีดังกล่าวจะทําให้เด็กฟันผุ ได้ง่าย เพราะฟันไม่ได้รับฟลูออไรด์ และมีเชื้อแบคทีเรียอยู่ในช่องปาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลละงู ได้เห็น ความสําคัญของปัญหาดังกล่าวจึงจัดทําโครงการลูกรักฟันดี เริ่มที่ผู้ปกครอง ปีงบประมาณ ๒๕๖๒ ขึ้น โดยมีเป้าหมาย หลักคือเพื่อให้ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก สามารถแปรงฟันอย่างถูกวิธีให้เด็กได้ มี ทัศนคติที่ดีทางด้านทันตกรรม ตลอดจนเด็กในเขตตําบลละงูมีอัตราฟันผุลดลง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ผู้ปกครองมีความรู้และทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับทันตสุขภาพในเด็ก 5.เพื่อให้อสม.เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนปฐมวัย

ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในช่องปาก และสามารถนำความรู้ที่ได้ปรับใช้ในการดูแลสุขภาพของเด็กและคนรอบข้างได้อย่างมีคุณภาพ

0.00
2 2.ผุ้ปกครองสามารถทำความสะอาดช่องปากของเด็กได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 60 เด็ก 0-2 ปี ผุ้ปกครองได้รับการฝึกแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติและ plaque control

0.00
3 3.เพื่อลดอัตราฟันผุในเด็กก่อนปฐมวัย

ร้อยละ 60 ของเด็กต่ำกว่า 3 ปีได้รับบริการป้องกันฟันผุด้วยการทาฟลูออไรด์วานิช ร้อยละ 40 ตวามครอบคลุมของเด็กอายุ 18 เดือน-2ปี 11 เดืนอ29วันได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช อย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี

0.00
4 4.เพื่อให้เด็กได้รับบริการทางทันตกรรม และได้เคลือบฟลูออไรด์วานิชทุกคน

ร้อยละ 60 ของเด็กต่ำกว่า 3 ปี ได้รับบริการป้องกันฟันผุด้วยการทาฟลูออไรด์วานิช ร้อยละ 60 เด็ก 0-2 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

0.00
5 5.เพื่อให้อสม.เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนปฐมวัย

แกนนำอสม.มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนปฐมวัย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 25,300.00 3 25,300.00
1 - 30 มิ.ย. 62 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโรคในช่องปาก การดูแลช่องปากและภาวะแทรกซ้อนให้แก่ผู้ปกครองเด็ก อายุ 0-2 ปี 0 21,000.00 21,000.00
13 มิ.ย. 62 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโรคฟันในช่องปาก การดูแลช่องปากและภาวะแทรกซ้อนให้แกแกนนำอสม.ด้านทันตสาธารณสุข 0 3,800.00 3,800.00
30 ก.ย. 62 กิจกรรมเจ้าหน้าที่ออกตรวจฟันเด็กได้รับการฝึกแปรงฟัน ทุก3เดือน เพื่อติดตามและเฝ้าระวังการเกิดโรคฟันผุในเด็ก 0 500.00 500.00

ขั้รเตรียมการ 1.ขออนุมัติโครงการ จัดทำแผนงาน ดำเนินงานตามแผน 2.ประสานงานกับพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมานในการเข้าร่วมโครงการ 3.ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงานตามโครงการแก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบและผู้ที่เกี่ยวข้อง 4.จัดเตรียมเอกสารที่จะใช้ในการดำเนินโครงการฯแก่กลุ่มเป้าหมาย 5.ประสานงาน/ติดต่อวิทยากร ขั้นดำเนินการ 1.กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโรคฟันในช่องปาก การดูแลช่องปาก และภาวะแทรกซ้อนให้แก่แกนนำอสม.ด้านทันตสาธารณสุข จำนวน 20 2.กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโรคในช่องปาก การดูแลช่องปาก และภาวะแทรกซ้อนให้แก่ผู้ปกครองเด็ก อายุ 0-2 ปี รวมทั้งฝึกแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติ และplaque control จำนวน 120 คน 3.กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปากและเคลือบฟลูออไรด์วานิชให้แก่เด็กอายุ 0-2 ปี จำนวน 120คน 3.กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปากและเคลือบฟลุออไรด์วานิชให้แก่เด็ก 0-2 ปี จำนวน 120 คน 4.กิจกรมมบันทึกการแปรงฟันของลูกโดยผู้ปกครอง ด้วยหลักการแปรงฟัน 2-2-2 5.กิจกรรมเจ้าหน้าที่ออกตรวจฟันเด็กที่ได้รับการฝึกแปรงฟัน ทุก 3 เดือน เพื่อติดตามและเฝ้าระวังการเกิดโรคฟันผุในเด็ก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในช่องปาก และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการดูแลสุขภาพของเด็กและรอบข้างได้อย่างมีคุณภาพ ตลอดจนให้ความสำคัญและมีทัศนิที่ดีในด้านทันตกรรม 2.แกนนำอสม.มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนปฐมวัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2562 10:45 น.