กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการเต้นลีลาศ
รหัสโครงการ 62-L1504-2-23
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมไทเก๊กทุ่งกระบือ
วันที่อนุมัติ 11 มิถุนายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 14 มิถุนายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 41,340.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรัชนีพร เหมมาชูเกียรติกุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งกระบือ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.404,99.626place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 18 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มผู้สูงอายุ 12 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

NCDs (Non-Communicable diseases) คือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนลงพุง ซึ่งโรคเหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนอาจอันตรายถึงชีวิต ในปัจจุบัน กลุ่มโรค NCDs จัดเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญของคนทั่วโลก และจากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า ตลอดช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา กลุ่มโรค NCDs เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย โดยมีคนไทยป่วยด้วยโรค NCDs ถึง 14 ล้านคน เสียชีวิตกว่า 300,000 คนต่อปี และคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อนวัยอันควรคือก่อนอายุ 60 ปี ทั้งนี้ปัจจัยที่เป็นสาเหตุหลักสำคัญของกลุ่มโรค NCDs คือพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารรสจัด เช่น หวานจัด เค็มจัด อาหารที่มีไขมันสูง อาหารปิ้งย่าง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก การมีความเครียดสูง การรับประทานยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เป็นต้น ดังนั้นคนที่มีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเช่นนี้จึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค NCDs ได้มากกว่าคนอื่นๆ   ชมรมไทเก๊กทุ่งกระบือ มีการรวมตัวกันออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน เป็นการดูแลสุขภาพด้วยตนเองป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมเสี่ยงด้านการขาดการออกกำลังกาย และการมีความเครียด ทั้งนี้ยังสอดคล้องตามนโยบาย 3 อ. 2 ส. ของกระทรวงสาธารณสุข ในกิจกรรม อ. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วันๆละ ไม่น้อยกว่า 30 นาที และ อ. อารมณ์ เพื่อลดความเครียด อีกทั้งเพื่อสร้างกระแสให้เกิดแรงจูงใจมีความสนุกเพลิดเพลินและได้ประโยชน์ต่อสุขภาพป้องกันโรคด้วยการปรับพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค ชมรมไทเก๊กทุ่งกระบือ จึงได้จัดโครงการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการเต้นลีลาศขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายด้วยการเต้นลีลาศได้ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมสามารถปฏิบัติการออกกำลังกายด้วยการเต้นลีลาศได้ถูกต้อง

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้ออกกำลังกายด้วยการเต้นลีลาศอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย สัปดาห์ละ 5 วันๆ ละ 30 นาที

ร้อยละ 70 ของผู้เข้ารับการอบรมสามารถเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายด้วยการเต้นลีลาศอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย สัปดาห์ละ 5 วันๆละ 30 นาที

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายด้วยการเต้นลีลาศได้ถูกต้อง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้ออกกำลังกายด้วยการเต้นลีลาศอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย สัปดาห์ละ 5 วันๆ ละ 30 นาที

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. จัดทำโครงการ/เสนอขออนุมัติงบประมาณ   2. รับสมัครกลุ่มเป้าหมายจากผู้สนใจ   3. ประสานวิทยากร เตรียมหลักสูตร
      4. ประเมินสุขภาพเบื้องต้นแก่กลุ่มเป้าหมาย (ภาวะน้ำหนักเกิน/อ้วน) ก่อนอบรม     -ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เพื่อหาค่าดัชนีมวลกาย     -วัดรอบเอว เพื่อดูภาวะอ้วน   5. จัดอบรมให้ความรู้และสาธิตการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 3 ชั่วโมง   6. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ (ให้ความรู้และฝึกปฏิบัติ) จำนวน 15 วันๆละ 3 ชม. รวม 45 ชั่วโมง   7. จัดกิจกรรมออกกำลังกายด้วยการเต้นลีลาศ สัปดาห์ละ 5 วัน (วันจันทร์ถึงวันศุกร์) วันละ 2 ชั่วโมง
      8. ประเมินสุขภาพเบื้องต้นแก่กลุ่มเป้าหมาย (ภาวะน้ำหนักเกิน/อ้วน) ทุก 3 เดือน เพื่อเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการออกกำลังกาย   9. สรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง   2. กลุ่มเป้าหมายสามารถออกกำลังกายด้วยการเต้นลีลาศได้ถูกต้อง   3. กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมออกกำลังกายด้วยการเต้นลีลาศอย่างสม่ำเสมอและมีสุขภาพแข็งแรง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2562 14:59 น.