กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการ ส่งเสริมความรู้เพื่อนำไปสู่การป้องการ การเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กต่ำกว่า 15 ปีระยะที่ 2 ทักษะการเอาตัวรอดจากการจมน้ำ

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ส่งเสริมความรู้เพื่อนำไปสู่การป้องการ การเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กต่ำกว่า 15 ปีระยะที่ 2 ทักษะการเอาตัวรอดจากการจมน้ำ
รหัสโครงการ 62-L5281-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนบ่อทอง
วันที่อนุมัติ 24 มิถุนายน 2019
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2019 - 30 กันยายน 2019
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2019
งบประมาณ 22,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุภาภรณ์ พรหมแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.871,100.144place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มีรายงานการจมน้ำว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตสูงเป็นอันดับหนึ่งของทุกสาเหตุทั้งโรคติดเชื้อและโรคไม่ติดเชื้อ จากข้อมูลเบื้องต้นในช่วง 10 ปี(ปีพ.ศ.2552-2561)พบว่ามีเด็กจมน้ำเสียชีวิตเฉลี่ยสูงถึง904 คน/ปี หรือวันละ 2.5 คน ช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม เป็นเดือนที่เด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุดเพราะตรงกับช่วงปิดภาคการศึกษาและช่วงฤดูร้อน กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดให้วันเสาร์แรกของเดือนมีนาคมของทุกปีเป็นวันรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ โดยปี 2562 ตรงกับวันที่ 2 มีนาคม โดยพบว่าการจมน้ำเสียชีวิตของเด็กในช่วงปิดเทอมจะเป็นเด็กในกลุ่มวัยเรียนมากที่สุด และส่วนใหญ่จะเสียชีวิตเป็นกลุ่ม ในแหล่งน้ำธรรมชาติโดยเด็กจะชวนกันไปเล่นน้ำกันเองตามลำพัง และขาดทักษะการเอาชีวิตรอดและวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง จากข้อมูลในช่วงปิดภาคเรียนภาคฤดูร้อน(มี.ค.-พ.ค.)ปีพ.ศ.2561 มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตถึง 231 คน(ร้อยละ33.9)ของเด็กที่จมน้ำเสียชีวิตทั้งปีโดยเป็นเด็กอายุ 5-9 ปีมากที่สุด(ร้อยละ 37.2) รองลงมา อายุน้อยกว่า5ปี(ร้อยละ 35.1)(1) เหตุการณ์เฝ้าระวังเด็กจมน้ำช่วงปิดเทอมพบว่า ร้อยละ 80.4 ของเด็กที่จมน้ำจะเสียชีวิต(2)เกือบครึ่งหนึ่งเป็นเหตุการณ์ณืที่เฝ้าระวังเด็กจมน้ำช่วงปิดเทอม (35 เหตุการณ์)พบว่าเป็นการชวนกันไปเล่นเป็นกลุ่มตั้งแต่ 2คน ขึ้นไปสูงถึง 20 เหตุการณ์ (ร้อยละ57.1)(2) ในจำนวนเหตุการณ์ที่เด็กชวนกันไปเล่นน้ำตั้งแต่ 2คนขึ้นไป พบว่าครึ่งหนึ่งเสียชีวิตพร้อมกันตั้งแต่ 2คนขึ้นไป โดยพบว่าส่วนใหญ่ขาดทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำและไม่รู้วิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง(2)ในปีที่ผ่านมา(ปีพ.ศ. 2561)มีเด็กอายุต่ำกว่า15 ปี จมน้ำเสียชีวิต 681 คน (0-4ปี=266คน ,  5-9 ปี=251 คน ,10-14 ปี = 164 คน)(1) และแหล่งน้ำที่เด็กจมน้ำมากที่สุดคือ แหล่งน้ำตามธรรมชาติ (ร้อยละ 31.6)(3) ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข)ได้กำหนดให้การลดอัตราเสียชีวิตจากการจมนำของเด็ก เป้าหมายหนึ่งที่สำคัญที่จะส่งผลให้อายุค่าเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด(Life Expectancy:LE) ไม่น้อยกว่า 85 ปี และอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดีไม่น้อยกว่า 75 ปี โดยในระที่1 (ปี2560-2564 ) ได้กำหนดเป้าหมายลดอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า15ปีให้ลดลงเหลือ 3.0ต่อประชากรเด็กแสนคน(360คน)ภายในปี 2564 ซึ่งปัจจุบัน(ปี พ.ศ.2560) อัตราการเสียชีวิตของเด็กอยู่ที่ 6.3 (717 คน) สำหรับสถานการณ์การเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ของจังหวัดสตูลในปี 2561นี้ มีเด็กต่ำกว่า 15 ปีเสียชีวิตแล้ว จำนวน 5 คน จาก 4 อำเภอคือ อำเภอควนโดน, เมือง, ท่าแพ, ละงู(จำนวนเด็กที่เสียชีวิต 2,1,1,1เรียงลำดับอำเภอ) ทำให้อัตราการเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำ กว่า 15 ปีของสตูลเมื่อปี 2561คือ7.42ต่อแสนประชากรเป้าหมายซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กระทรวงกำหนด คือ ≤ 4.5 ต่อแสนประชากร  (ที่มาHDC-Report ณ.วันที่ 30 พ.ย.61 สสจ.สตูล) และในปีงบประมาณ 2562 ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีรายงานการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ทั้งนี้ถึงแม้อำเภอควนกาหลง หรือในเขตพื้นที่หมู่บ้านของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนบ่อทอง 5 หมู่บ้าน แม้จะยังไม่มีเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำแต่เนื่องจากในพื้นมีแหล่งน้ำธรรมชาติ และแหล่งน้ำที่สร้างขึ้นมีเกือบทุกหมู่บ้าน ยิ่งกว่านั้น ในบริเวณของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนบ่อทองเองก็จะมีสระน้ำอยู่ด้านข้าง ซึ่งในช่วงวันหยุดหรือช่วงปิดภาคการศึกษาจะมีเด็กในพื้นที่ของหมู่ที่ตั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จะมาแอบลงไปเล่นน้ำอยู่บ่อยครั้ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนบ่อทอง จึงเล็งเห็นความสำคัญของการที่ต้องมีมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์จมน้ำของเด็กในพื้นที่ขึ้นในอนาคต และได้จัดทำโครงการส่งเสริมความรู้เพื่อนำไปสู่การป้องการ การเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กต่ำกว่า ๑๕ ปีในหมู่บ้านนำร่อง หมู่ 1 บ้านควนบ่อทอง เมื่อปีงบประมาณ 2561 ซึ่งเป็นการอบรมภาคทฤษฎี และฝึกปฏิบัติจากสถานการณ์จำลองบนบก จากการได้ประเมินโครงการฯโดยการสอบถามจากผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการฯและกลุ่มเป้าหมายเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่เข้าร่วมโครงการฯอบรมความรู้ต้องการอบรมโดยการฝึกปฏิบัติในแหล่งน้ำจริงๆ ดังนั้น รพ.สต.บ้านควนบ่อทองจึงได้มีแผนที่จะจัดอบรมในระยะที่2 เป็นการฝึกทักษะการเอาตัวรอดจากการจมน้ำ ชื่อโครงการ “โครงการ ส่งเสริมความรู้เพื่อนำไปสู่การป้องการ การเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กต่ำกว่า ๑๕ ปีระยะที่ 2 ทักษะการเอาตัวรอดจากการจมน้ำ”

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านการป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีนพื้นที่ จำนวน 30 คน

เด็กกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ที่ถูกต้องด้านการป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำ(ภาคทฤษฎี) ในเกณฑ์คะแนน 60 % ขึ้นไป ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70

0.00
2 เพื่อฝึกทักษะการเอาตัวรอดจากการจมน้ำแก่เด็กกลุ่มเสี่ยงอายุ 6 ปีขึ้นไปจำนวน 30 คน

2.ไม่เกิดเหตุการณ์เสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุที่ต่ำกว่า 15เกิดขึ้นภายในบริเวณบ้านของผู้ปกครองเด็กกลุ่มเสี่ยง 3.อัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เท่ากับ 0

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 22,700.00 0 0.00
4 ก.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายในห้องประชุม 0 22,700.00 -

1.สำรวจกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่เป้าหมาย(กลุ่มเป้าหมายเดิมที่อบรมระยะที่1 เมื่อปี2561) 2.ติดต่อวิทยากรที่มีความรู้และความชำนาญเฉพาะด้านการฝึกทักษะการเอาตัวรอดและการช่วยเหลือชีวิตจากการจมน้ำ) 3.จัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ที่จะใช้ในการจัดกิจกรรม มี 2 แบบ คือ 1. ทบทวนความรู้ภาคทฤษฏีในห้องประชุมโดยวิทยากรผู้มีความรู้เฉพาะ 1.1 การทดสอบก่อนการอบรม 1.2 การทดสอบหลังการอบรม 2. ฝึกปฏิบัติในสระน้ำ โดยทีมวิทยากรที่ผ่านการอบรม โดยให้สถานที่สระน้ำของ นริศภูวิวรีสอร์ท อำเภอควนโดน (อาจเปลี่ยนแปลงสถานที่ได้)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็กกลุ่มเสี่ยงของชุมชนบ้านควนบ่อทองทั้ง 30 คน มีทักษะการเอาตัวรอดจากการจมน้ำที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2019 16:13 น.