กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมป้องกันโรคมาลาเรียในชุมชน รพ.สต.บ้านควนบ่อทอง ปี2562
รหัสโครงการ 62-L5281-1-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนบ่อทอง
วันที่อนุมัติ 24 มิถุนายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 16,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวีรวัฒน์ ล่าโยค
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.871,100.144place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 85 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้มาลาเรีย เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชน โดยจังหวัดสตูลเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีการระบาดของโรคมาลาเรีย อย่างต่อเนื่องทุกปีจึงได้มีการเน้นให้มีการควบคุมโรคมาลาเรียเป็นนโยบายหลักของงานด้านสาธารณสุข สาเหตุจากยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะนำโรคเมื่อยุงก้นปล่องกัดและดูดเลือดคนที่มีเชื้อมาลาเรียเข้าไป เชื้อจะเพิ่มจำนวนในยุงโดยใช้เวลาประมาณ 10-12 วัน เมื่อยุงก้นปล่องที่มีเชื้อมาลาเรียนี้ไปกัดคนอื่น ก็จะปล่อยเชื้อมาลาเรียจากต่อมน้ำลายเข้าสู่คนอีก จึงทำให้คนที่ถูกยุงกัดเป็นไข้มาลาเรีย ซึ่งอาจเริ่มมีอาการป่วยหลังจากถูกยุงก้นปล่องกัดประมาณ 10-14 วัน อาการที่สำคัญได้แก่ มีอาการไข้หนาวสั่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดท้อง ท้องร่วง ในกรณีที่ทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาให้ถูกต้องช้าเกินไปอาจมีอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้ โรคนี้ทำให้บั่นทอนแรงงานจากการขาดงาน และมีผลต่อการศึกษาจากการขาดเรียนทำให้เด็กมีการเรียนรู้ช้า ในพื้นที่หรือช่วงระยะเวลาที่มีการแพร่ระบาดและมีการเจ็บป่วยจำนวนมากอาจทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล การประกอบอาชีพ และภาระการดูแลผู้เจ็บป่วยของสมาชิกในครอบครัว โรคไข้มาลาเรียสามารถป้องกันได้ และรักษาให้หายขาดได้ ขณะเดียวกันเมื่อเป็นแล้วก็อาจเป็นอีกได้ถ้าถูกยุงที่มีเชื้อมากัดอีกการป้องกันได้แก่ การนอนในมุ้งใส่เสื้อผ้ามิดชิดปกคลุมแขนขา ทาสารป้องกันยุง และการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงก้นปล่องที่อยู่ใกล้ชุมชน ประกอบกับสภาพพื้นที่ของตำบลที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการระบาดของโรค นอกจากนี้พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ทำให้ไม่มีการตื่นตัวร่วมกันป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรีย เช่น การนอนไม่กางมุ้ง เป็นต้นจึงทำให้โรคไข้มาลาเรียจะมีการระบาดตลอดปี และมีการระบาดในทุกกลุ่มอายุ
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนบ่อทอง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการควบคุมปัญหาดังกล่าว จึงมีการจัดทำโครงการ ในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อรณรงค์ป้องกันโรคมาลาเรียขึ้น และเพื่อลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคนำโดยแมลง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อควบคุมจำนวนผู้ป่วยมาลาเรีย ในพื้นที่ให้ลดน้อยลง

ลดอัตราป่วยด้วยโรคมาลาเรียลง

0.00
2 เพื่อให้ประชาชน มีความรู้และมีพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรีย

ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรค โดยชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

0.00
3 เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเพื่อลดระดับการระบาดของโรค

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,700.00 0 0.00
4 ก.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 1. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคมาลาเรียแก่ประชาชน 0 16,700.00 -
  1. ประชุมชี้แจงสมาชิกและผู้เกี่ยวข้องโครงการ
  2. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  3. จัดอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป
  4. รายงานผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้ในการควบคุมป้องกันโรคมาลาเรีย 2. จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคมาลาเรียในพื้นที่มีจำนวนลดลง 3. ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา 4. ประชาชนมีการตื่นตัวและเฝ้าระวังในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคติดต่อที่นำโดยแมลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2562 16:29 น.